Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

กรณีศึกษาเรือนพักอาศัยในเขตเมืองเก่า จังหวัดเมืองน่าน

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 175 หมู่ที่1 บ้านน้ำลัด ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
อายุเรือน 54 ปี เจ้าของเรือน คุณจำเนียร สิริปัญญาพงศ์
จำนวนผู้อาสัย 1 คน

เรือนคุณจำเนียร สิริปัญญาพงศ์

ประวัติ

เรือนสร้างประมาณปี พ.ศ.2500 ผู้สร้างคือ นายใจ จันต๊ะยศ
ผู้เป็นพ่อและนายเอริน จันต๊ะยศ พี่ชาย

สภาพแวดล้อม

บ้านทุกหลังลักษณะที่สำคัญของชุมชนนี้ คือ จะมีพื้นที่ว่างระหว่างบ้าน
เป็นภูมิประเทศเป็นแถวยาวขนานไปกับลำห้วย เหตุการณ์ที่สำคัญของ
พื้นที่บริเวณนี้ คือ ได้เกิดมีน้ำ ท่วม ใหญ่ตอนปี 49 สูง ประมาณ 1.70 เมตร
น้ำท่วมสามวันนับเป็นเหตุการณ์ที่ชาวบ้านพบและได้รับรู้ถึงน้ำที่
ท่วมสูงขึ้นเรื่อย ๆ

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

ฟังก์ชั่น

มีส่วนยกพื้น (เติ๋น) ใช้รับเเขกและนั่งเล่น
ส่วนครัวและห้องนอนมีชานสำหรับซักล้างและห้องน้ำ โดยมีทางขึ้น 2
ทางคือบันได ทางด้านหน้าเรือนและบันไดด้านหลังซึ่งอยู่ติดกับครัว

พื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ทั้งหมด 132.35 ตารางเมตร ชานแดด 19.40 ตารางเมตร
เติ๋น41.96 ตารางเมตร ห้องนอน22.18 ตารางเมตร ห้องครัว 7.8
ตารางเมตร ห้องน้ำ 3.87 ตารางเมตร ชานเชื่อม 14.67 ตารางเมตร
และอื่นๆ คิดเป็นพื้นที่ 22.47 ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

เรือนด้านหน้าหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินของโครงหลังคา
ไม้เนื้อเเข็ง ฝ้าเพดานบริเวณตัวเรือนตีด้วยไม้ทับเกล็ด
ส่วนชายคาเปิดโล่งเห็นโครงสร้างหลังคา
ประตูส่วนที่ติดกับชานหน้าเป็นประตูบานเฟี้ยม
ทำด้วยไม้กระดานแผ่นใหญ่ หน้าต่างลูกฟักบานเปิดคู่ เรือนด้านหลัง
หลังคามุงกระเบื้อง สิ่งที่น่าสนใจของเรือนหลังนี้
คือ โครงหลังคามีการใช้เดือยไม้แทนการตอกตะปู
ซึ่งพบได้ในหลายๆส่วนของเรือน

ลักษณะเรือน

เรือนมีลักษณะเป็นเรือนหลังคาทรงปั้นหยา 2
หลังเชื่อมต่อกันด้วยชานส่วนชายคาด้านที่ชิดติดกันมีรางน้ำ
(รางริน) ยาวตลอดแนว

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 93 ถนนมหาวงค์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
อายุเรือน 75 ปี เจ้าของเรือนอาจารย์บุญงำ สงวนศรี จำนวนผู้พักอาศัย 4 คน

เรือนอาจารย์บุญงำ สงวนศรี

ประวัติ

เดิมเป็นเรือนของรองอำมาตย์ตรีสังข์เยียม สงวนศรีและเจ้าบัวเขียว
สงวนศรี ( มหายศนันท์ ) ผู้เป็นบิดา-มารดาของอาจารย์บุญจำนงค์
เป็นเรือนที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 ออกแบบและสร้างโดยชาวจีน
ชื่อนายนึกเทพณิชย์ ผู้เป็นเพื่อนกับอำมาตย์ตรีสังข์เยียม
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลังจากของเดิมบูด้วย แป้นเกล็ดไม้สัก
เปลี่ยนเป็นหลังคาสีแดง เมื่อ พ.ศ. 2513
และส่วนยั่งขาวได้ปรับเปลี่ยนเป็นห้องนอน โดยยังคง
โครงสร้างสภาพเดิมของยั่งขาวไว้

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่ในบริเวณบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิด

  • ด้านตะวันตกติดกับบ้านข้างเคียง 2 หลัง
  • ด้านตะวันออกติดทางหลวง
  • ด้านเหนือเป็นถนนจอดรถยนต์
  • ด้านใต้ติดทางสัญจรเข้าออกหน้าบ้านและหมู่บ้าน

ระแนงไม้แนวตั้งด้านหน้าเรือน (ซ้าย)
การตกแต่งด้วนไม้เหมือทางขึ้นบันได (กลาง) และการตกแต่งเสา (ขวา)

แสดงส่วนชานแดด (ซ้าย) ส่วนโถงทางเดิน (ขวา) เรือนอาจารย์บุญง้า

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

ฟังก์ชั่น

ตัวเรือนถูกแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกจากส่วนหน้าบ้านและส่วน
หลังบ้านอย่างชัดเจน (กึ่งกลาง) ใต้ถุนชั้นล่างใช้เป็นโรงซ่อมเรือ
หรือห้องเก็บของ พื้นที่ถูกแบ่งให้กว้างสำหรับจัดกิจกรรมในบ้าน
มีห้องเชื่อมกันที่ถูกดัดแปลงไว้สำหรับการพักผ่อน

พื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ทั้งหมด 224.74 ตารางเมตร
เฉพาะตัวเรือน 54.17 ตารางเมตร เป็น 50.04 ตารางเมตร
โถงบนมีขนาด 54.91 ตารางเมตร ห้องพระ 5.69 ตารางเมตร
ห้องนั่งเล่น ขนาดยั่งยาว 16.97 ตารางเมตร ห้องน้ำ 15.96 ตารางเมตร
ห้องครัว 4.5 ตารางเมตร และมีเสาไม้สูง 12.5 ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

เรือนสร้างด้วยไม้ทั้งโครงหลังคา ผนังและพื้น
ส่วนหนึ่งต่อขยายมาประกอบกับปูนในระยะหลังเทียบข้าง
ชิดกับ เสาโครงปิดรั้วหลังบ้านต่อมาจนถึงปูน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนใช้สอยที่อยู่อาศัย หลักการก่อขึ้นอยู่ที่แบ่งส่วนระหว่างส่วนต่างๆ
มีรูปทรงแบบเรือน 2 ชั้น ตัวเรือนถูกยกพื้นสูง
ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่งสำหรับเป็นโรงซ่อมเรือและร้านค้าขายของชำ (เดิม)
ส่วนหน้าของชั้นล่างและส่วนหนึ่งของชั้นบนเป็นโถงไม่ใหญ่เชื่อมกับบันไดตรง
กลางที่ขึ้นสู่ชั้น 2 ด้านข้างเป็นห้องเชื่อมกันแต่แยกพื้นที่

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้งเลขที่ 50 ถนนมณเฑียร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
อายุเรือน 58 ปี เจ้าของเรือน คุณวิภาภรณ์ อินแปง
จำนวนผู้อยู่อาศัย1 คน

เรือนคุณวิภาภรณ์ อินแปง

ประวัติ

เป็นเรือนของคุณตามั่นกับคุณยายตุ้ม อินแปง ปัจจุบันเป็นของคุณวิภาภรณ์
อินแปง เดิมบันไดทาง ขึ้นเป็นบันไดปูนฉาบเรียบ
ต่อมาจึงเปลี่ยนมาปูกระเบื้องในภายหลัง ราวบันไดตกแต่งด้วยปล่องไข่ หลังคา
ส่วนที่เป็นสังกะสีนั้นเดิมมุงด้วยหญ้าคา
ส้าหรับห้องน้ำได้มีการสร้างขึ้นในภายหลัง

สภาพแวดล้อม

เรือนหันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเรือนคุณสมาน อินแปง
ทางด้านทิศตะวันออกของเรือนต่อเติมเป็นร้านอาหารจนถึงริมรั้วซึ่งติดกับถนน
ซอย ทิศตะวันตกปลูกต้นไม้และพืชผักสวนครัว นอกจากนี
ยังมีเรือนของญาติๆตั้งอยู่ภายในอาณาเขตเดียวกันอีก2-3 หลัง

การใช้ผนังฝาไหลส่วนที่ติดกับเติ๋น (ซ้าย) และส่วนร้านน้ำ (ขวา)

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

ฟังก์ชั่น

ภายในเรือนมีการกั้นห้องเป็นส่วนๆ ประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง
ส่วนโถงที่เชื่อมไปยังด้านหลัง ซึ่งเป็นส่วนครัว บริเวณต่อจากโถง
มียกพื้นซึ่งใช้เป็นพื้นที่นอนในบางครั้ง นอกจากนี้ ยังมีห้องน้ำซึ่งสร้างขึ้น
ด้านหลังของเรือนติดกับบริเวณครัว
ใต้ถุนปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากถมดินบริเวณโดยรอบเรือน
ถุนปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากถมดินบริเวณโดยรอบเรือน
สูงขึ้นท้าให้การเข้าไปใช้งานทำได้ไม่สะดวก
ปัจจุบันใช้เก็บของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

พื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ทั้งหมด 119.30 ตารางเมตร ชานแดด 13 ตารางเมตร เติ๋น 15.45
ตารางเมตร ห้องนอน 31.49 ตารางเมตร ครัว 17.81 ตารางเมตร ห้องน้ำ
2.72 ตารางเมตร โถง 15.63 ตารางเมตร และชานเชื่อม 23.20
ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ผนังไม้ตีเกล็ดในแนวนอน
ส่วนบนผนังเป็นช่องลมท้าด้วยไม้ ระแนงตีเว้นช่องในแนวตั้ง
การกั้นห้องมีลักษณะโปร่งไม่ทึบมาก
ส่วนชานแดดเป็นไม้กระดานภายหลังผุพัง
จึงได้ดัดแปลงเปลี่ยนเป็นเทปูน ปูกระเบื้องตามสมัยนิยม
รวมทั้งบันไดปูน ด้านหน้าก็เช่นกัน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนยกใต้ถุนสูงหลังคาทรงปั้นหยา มุงด้วยกระเบื้องดินขอ
ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหลังคาคอนกรีต เสาเรือนด้านล่างเป็นอิฐก่อโชว์แนว
ไม่ฉาบปูน เพดานเปิดโชว์โครงสร้างหลังคาทั้งภายในและภายนอกเรือน บันได
ทางขึ้นมี2ส่วน ด้านหน้าเป็น บันไดปูน
ถัดไปด้านหลังเป็นบันไดไม้ซึ่งเป็นทางขึ้นส่วนครัว

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

แปลนหลังคาและสภาพแวดล้อมเรือนคุณวิภาภรณ์

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 20 ถนนสุมนเทวราช ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
อายุเรือน 100 กว่าปี เจ้าของเรือน พ.ต.อ อรรถสิทธิ์ กิจจาหาญ
จำนวนผู้อยู่อาศัย ถูกทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

เรือนเจ้าอุตรการโกศล

ประวัติ

เดิมเป็นเรือนของเจ้าอุตรการโกศล ( มหาชัย ) สร้างเมื่อปี พ.ศ.2452
เป็นเรือนขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นเรือนแฝดสองหลังเชื่อมด้วยชาน
แต่ด้วยวัสดุที่เป็นไม้จึงผุพังจึงรื้อและปรับเปลี่ยนจนเป็นดังปัจจุบัน

สภาพแวดล้อม

อยู่ด้านหลังวัดพระเนตร ภายในอาณาเขตกว้างขวาง
บริเวณโดยรอบเป็นพื้นที่โล่งมีต้นไม้ใหญ่ไม่มากนักหน้าเรือนหันหน้าไปทางวัด
และถนนซอย ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ภายในบริเวณเดียวกันมีบ้านไม้ 2 ชั้นปลูกใหม่ 1
หลังอยู่ห่างออกไปเล็กน้อยทางทิศตะวันตกด้านข้างของตัวเรือนมีบ่อน้ำเก่า
อยู่ไม่ไกลตัวเรือนมากนัก

พื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน

ฟังก์ชั่น

เนื่องจากตัวเรือนถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช้งานมานานจึงมีสภาพทรุดโทรม
ภายในมีการแบ่งกั้นห้องเป็นส่วนต่างๆคือ ห้องรับแขก ห้องโถงและห้องนอน
สำหรับห้องน้ำได้ต่อเติมขึ้นในภายหลังโดยแยกออกไปต่างหาก
มีชานเป็นตัวเชื่อม

พื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ใช้สอยประกอบด้วย ชาน 22.77 ตารางเมตร เติ๋น 16.4 ตารางเมตร
ห้องนอน 42.09 ตารางเมตร ห้องน้ำ 5.1 ตารางเมตร ส่วนโถง 40.1
ตารางเมตร อื่นๆ 40.95 ตารางเมตร

รวม 167.46 ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

ตัวเรือนทำด้วยไม้เกือบทั้งหลัง พื้นไม้กระดาน
ผนังไม้ตีทับเกล็ดในแนวนอน ประตูไม้จริงมีทั้งบานเฟี้ยม
และบานเรือนหลังนี้เป็นเรือนหลังคาทรงปั้นหยา
เดิมหลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดไม้สัก ฝ้าเพดานเปิดโล่ง
ครงสร้างหลังคาไม้เนื้อแข็ง
ยังอยู่ในสภาพดีเนื่องจากเป็นเรือนที่มีอายุกว่า 100
ปีทำให้มองเห็นเทคนิควิธีการก่อสร้างในสมัยก่อนเปิดธรรมดาหน้าต่าง
ไม้จริงตีชนและบานลูกฟักไม้ช่องลมเป็นไม้ระแนงและมีการออกแบบ
ลบมุมไม้ให้ดูสวยงามช่องแสงกระจกสี โครงหลังคาไม้เนื้อแข็ง

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนไม้ทั้งหลังยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา
มีระเบียงยาวจากด้านหน้าไปจรดด้านหลังราวลูกกรงระเบียงเป็นไม้เนื้อแข็ง
1"2 x 2” ปลายมนตีเป็นราวระเบียงแบบง่ายๆ
ภายในเรือนไม้และเสามีลักษณะแบบหยาบๆอันเกิดจากการใช้เครื่องมือช่าง
อย่างง่ายๆในอดีต บันไดทางขึ้นอยู่ทางด้านหน้าเรือน
จากการบอกเล่าของผู้ดูแล
ทำให้ทราบว่าบันไดของเดิมไม่ได้อยู่ด้านนี้แต่มีการเปลี่ยนแปลงในภายหลังเดิม
นั้นเรือนมีขนาดใหญ่กว่านี้มากคือมีลักษณะเป็นเรือนแฝด 2
หลังคู่กันเชื่อมต่อกันด้วยชาน

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 50 ถนนเทียร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
อายุเรือน ประมาณ 55 ปี
เจ้าของเรือน นายสมาน อินแปง
จำนวนผู้อยู่อาศัย 4 คน

เรือนนายสมาน อินแปง

ประวัติ

เจ้าของเรือนเดิมคือนายมั่น อินแปง
ยกให้ลูกชายคือนายสมาน อินแปง

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนหันหน้าไปทางทิศใต้
ตั้งอยู่ในอาณาเขตที่มีเรือนของญาติพี่น้องอยู่อีก 2-3
หลังบริเวณโดยรอบปลูกต้นไม้อยู่อีก 2-3
หลังบริเวณโดยรอบปลูกต้นไม้และพืชผักสวนครัว
ลานอาบน้ำมีบ่อน้ำเป็นปัจจัยหลัก

ส่วนใต้ถุน

โครงสร้างหลังคา

ชานและโถงรับรอง

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

ส่วนครัว

ส่วนชานซักล้าง

ฟังก์ชั่น

ประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง ส่วนเก็บของ ห้องครัวและห้องน้ำ
ส่วนบอกชานซึ่งมีหลังคาคลุมยกพื้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตรปูพื้นหิน
เอนกประสงค์สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ
ส่วนด้านหลังเป็นชานโล่งเป็นทางเดินไปสู่ห้องน้ำ
ใช้ประโยชน์สำหรับเป็นที่ซักล้าง
ใต้ถุนเรือน ใช้สำหรับจอดรถจักรยานยนต์ เก็บของและเก็บฟืน

พื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ทั้งหมด 107.18 ตารางเมตร
ชานแดด 14.88 ตารางเมตร เติ๋น 25 ตารางเมตร
ห้องนอน 31.2 ตารางเมตร ห้องครัว 15.9 ตารางเมตร
ห้องน้ำ 4.6 ตารางเมตร ห้องเก็บของ 5 ตารางเมตร
ชานเชื่อม 10.6 ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

ตัวเรือนบอกทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เพดานเปิดโล่ง
เห็นโครงสร้างหลังคาซึ่งเป็นไม้ขนาด 2”x6”
ผนังฝาไม้กระดานตีแนวนอนประตูหน้าต่างลูกฟักไม้
พื้นไม้กระดานขนาดหน้ากว้าง 8”
ส่วนครัวเป็นการก่อสร้างแบบง่ายๆ ด้วยไม้
หลังคามุงด้วยหญ้าคา
มีเพียงห้องน้ำที่ฝนังเป็นผนังท่อซีเมนต์

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนหลังคารูปทรงนิลา มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์
มีครัวและห้องน้ำแยกออกต่างหาก ยกใต้ถุนสูงไม่นานนัก
เสาเรือนสูงด้วยไม้ขนาดปานกลาง มีบันไดไม้แบบง่ายๆ
มีการต่อเติมหลังคาอลูมิเนียม

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 14 ซอยมิ่งเมือง ถนนสุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
จังหวัดน่าน อายุเรือน 47 ปี เจ้าของเรือน คุณยายบุญหลาย ณ น่าน
จำนวนผู้อยู่อาศัย 2 คน

เรือนคุณยายบุญหลาย ณ น่าน

ประวัติ

บ้านหลังนี้คุณยายบุญหลายซื้อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2507
แต่สร้างเมื่อไรไม่ปรากฏ

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่ภายในเนื้อที่ค่อนข้างกว้าง บริเวณโดยรอบเป็นลานโล่ง
แต่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ โดยปลูก ไม้ผลและพืชพักสวนครัว

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

ฟังก์ชั่น

ตัวเรือนมีการแบ่งกลุ่มพื้นที่ใช้สอยกันอย่างชัดเจน
โดยภายในเรือนประกอบด้วยส่วนโถง หิ้งพระ ห้องนอน
ชานระเบียงซึ่งติดกับบันไดทางขึ้นด้านหน้าส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งคือห้องครัวและห้องน้ำโดย มีชานเชื่อมระหว่างสองส่วนนี้
มีระเบียงหน้าห้องน้ำ มีชานเชื่อมระหว่างสองส่วนนี้
มีระเบียงหน้าห้องน้ำซึ่งได้ใช้ประโยชน์เป็นที่สำหรับซักล้างต่างๆ ใต้ถุนเรือน
ยกสูงสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ มีการกั้นบางส่วน
โดยตีเป็นไม้ระแนงแบบง่ายๆ ใช้เป็นห้องเก็บของ

พื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ทั้งหมด 99.31 ตารางเมตร ห้องนอน 28.97 ตารางเมตร โถง 6.96
ตารางเมตร ส่วนครัว 15.12 ตารางเมตร ห้องน้ำ 3.8 ตารางเมตร ชานเชื่อม
13.5 ตารางเมตร อื่นๆ 30.96 ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

เรือนโครงสร้างไม้เนื้อแข็ง แบบเสา – คานรับน้ำหนัก
หลังคาจั่วมุงด้วยสังกะสี ฝาผนังเคร่าไม้ตีกรุ ฝาตามแนวตั้งส่วนบน
ส่วนล่างตีตามแนวนอน ประตู หน้าต่างเป็นบานเปิดไม้
เสาเรือนไม้ทรงสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่บนตอม่อปูน พื้นไม้กระดาน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนหลังคาทรงจั่ว ยกใต้ถุนสูง มีบันไดทางขึ้น 2
ทางคือบันไดหน้าบ้านซึ่งหันหน้าไปทาง ทิศเหนือ และบันไดทางขึ้นส่วนครัว
บันไดส่วนหน้าบ้านมีหลังคาคลุมตลอด

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 8 ซอย 2 ถนนสุมนเทวราช ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
จังหวัดน่าน อายุเรือน 100 กว่าปี เจ้าของเรือน อาจารย์ภัทราภรณ์ ปราบริปู
จำนวนผู้อยู่อาศัย ปัจจุบันปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวจัดแสดง
เรือนพักอาศัยแบบล้านนา แสดงเครื่องเงิน และงานทอผ้าของชาวเมืองน่าน

เรือนอาจารย์ภัทราภรณ์ ปราบริปู
(โฮงเจ้าฟองคำ)

ประวัติ

โฮงหมายถึงคุ้มหรือที่อยู่อาศัยของเจ้านายในอดีตนั้นโฮงตั้งอยู่คุ้มแก้ว
ที่สำนักของเจ้าผู้ครองนครน่าน ในเวียงเหนือ เดิมเป็นของเจ้าศรีตุมมา
หลานเจ้ามหาวงศ์เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่61เมื่อเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ
ย้ายเมืองกลับมายังเมืองน่านในปัจจุบันและคุ้มแก้วได้ถูกทิ้งร้างไว้ มีการเวนคืน
ที่ราชพัสดุ เจ้าบุญยืนธิดาคนสุดท้องของเจ้าศรีตุมมา กับเจ้ามโน
จึงได้ย้ายตัวโฮงลงมาสร้างยังที่ปัจจุบัน และตกทอดมายังเจ้าฟองคำ
ธิดาของเจ้าบุญยืนกับเจ้าอินต๊ะ ปัจจุบันโฮงแห่งนี้อยู่ในความดูแลของทายาท
ทั้ง 3 คนของเจ้าฟองคำ
ซึ่งได้ดูแลและบำรุงรักษาไว้เป็นอย่างดีตามเจตนารมย์ของเจ้าฟองคำที่ต้องการ
ให้เก็บรักษาโฮงไว้เพื่อลูกหลานสืบไป

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่บริเวณหลังวัดพระเกิด มีรั้วล้อมรอบทั้ง 4
ด้านบริเวณโดยรอบปลูกต้นไม้ร่มรื่น
หน้าเรือนหันหน้าไปทางทิศเหนือติดถนนซอย บริเวณข้างเคียงเป็นที่อยู่อาศัย
ซึ่งมีการกั้นรั้วแบ่งอาณาเขต อย่างชัดเจน

ส่วนใต้ถุน

โครงสร้างหลังคา

ชานและโถงรับรอง

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

ฟังก์ชั่น

บนเรือนจึงได้จัดแสดงเป็นห้องต่างๆ
ตามประโยชน์การใช้สอยของการอยู่อาศัยของชาวล้านนา เช่นบริเวณ เติ๋น
ห้องนอน ครัวไฟ นอกจากนี้ ยังมี ส่วนจัดแสดงเครื่องเงิน
และผ้าทอที่หาดูได้ยาก ส่วนใต้ถุนเรือน จัดแสดงเครื่องมือทอผ้า
และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของน่าน พื้นที่ใช้สอยเฉพาะชั้นบน

พื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ทั้งหมด 246.30 ตารางเมตร ชานแดด 53.90 ตารางเมตร เติ๋น16
ตารางเมตร ห้องนอน 77.40 ตารางเมตร ห้องพระ 20 ตารางเมตร ครัว
20 ตารางเมตร ห้องน้ำ 9 ตารางเมตร และอื่นๆ 50 ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

ตัวเรือนสร้างด้วยไม้สัก และไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง
ประกอบตัวเรือนโดยไม่ใช้ตะปู ใช้วิธีการเจาะ และเข้าไม้โดยใช้สลัก
ฝาผนังตีบังใบแนวตั้ง

ลักษณะเรือน

เรือนมีลักษณะเรือนเป็นเรือนกาแล (เรือนของชนชั้นสูง)
หลังคาทรงจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินขอ เดิมเป็นแป้นเกล็ดไม้สัก
ต่อมาได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน ยุ้งข้าวและเรือนขวาง
ถูกเปลี่ยนเป็นที่พักอาศัยของครอบครัว
บริเวณชั้นล่างมีการกั้นห้องและต่อเติมเป็นที่พักแขก ผู้มาเยี่ยมเยียน

แปลนพื้น

รูปแบบเรือน

พื้นที่ใช้สอย

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 53/1 ถนน สุมนเทวราช ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
อายุเรือน 51 ปี เจ้าของเรือน นางสมศรี จีนเพชร จำนวนผู้อยู่อาศัย 1 คน

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

เรือนนางสมศรี จีนเพชร

ประวัติ

นายบุญต้น จีนเพชรเจ้าของเรืองเป็นผู้ออกแบบและจ้าง
สล่าพื้นถิ่นมาก่อสร้าง แรกเริ่มนั้นอยู่กัน 3 คนคือนายบุญต้น
ภรรยาและบุตรบุญธรรม ต่อมาเสียชีวิตหมดมีเพียงนางสมศรี
จีนเพชรลูกสะใภ้เป็นผู้อยู่อาศัย

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่ภายในบริเวณที่มีรั้วล้อมรอบบรรยากาศร่มรื่น
ด้วยต้นไม้ให้ร่มเงา ทั้งไม้ดอกและไม้ผลเช่น ลำไย มะไฟจีน ฯลฯ
รั้วเป็นไม้ระแนงโปร่งๆ ติดถนนสองด้านคือถนนซอยและถนนสุมนเทวราช
ประตูรั้วอยู่ด้านถนนสุมนเทวราช ตัวเรือนจะหันหน้าเข้าหาถนนซอย

ช่องแสงเหนือประตูสามารถผลักเปิด-
ปิดได้

แสดงยอดผนังภายในซึ่งใช้ไม้ระแนงตี
เว้นช่องเพื่อให้อากาศถ่ายเท

ฟังก์ชั่น

ช่องแสงเหนือประตูมีการออกแบบให้พลิกเปิด -
ปิดได้เพื่อการระบายอากาศห้องทุกห้องยอดผนังจะมีช่องระบายอากาศ
โดยการตีไม้เป็นซี่ๆ ขนาด 1×1 นิ้ว ทำให้ถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่ทึบตัน

พื้นที่ใช้สอย

ชานแดด (นอกชาน) 35.85 ตารางเมตร เติ๋น 23.62
ตารางเมตรห้องนอน 3 ห้อง 71.75 ตารางเมตร ห้องพระ 16.69
ตารางเมตร โถง 29.16 ตารางเมตร ส่วนครัว 14.15 ตารางเมตรละห้องน้ำ
6.4 ตารางเมตร รวมพื้นที่ใช้สอย 197.62 ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

ตัวเรือนทำด้วยไม้เกือบทั้งหลัง พื้นไม้กระดาน
ผนังไม้ตีทับเกล็ดในแนวนอน ประตูไม้จริงมีทั้งบานเฟี้ยม
และบานเปิดธรรมดาหน้าต่างไม้จริงตีชนและบานลูกฟักไม้ช่องลมเป็น
ไม้ระแนงและมีการออกแบบลบมุมไม้ให้ดูสวยงามช่องแสงกระจกสี
โครงหลังคาไม้เนื้อแข็ง

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง ลักษณะคล้ายเป็นเรือน 2
หลังเชื่อมต่อกันโดยมีส่วนโถงเป็นตัวเชื่อมหลังคาทรงจั่วปั้นหยามุงด้วยสังกะสี
ตัวเรือนด้านหน้าหันบันไดไปทางทิศใต้ มีบันไดทางขึ้น 2
ทางด้านหน้าเป็นบันไดปูน
เมื่อเดินขึ้นเรือนจะพบชานโล่งก่อนที่จะเข้าไปภายในเรือน
ส่วนบันไดทางขึ้นส่วนครัว เป็นบันไดไม้มีหลังคาคลุมบันไดลักษณะประตูมีทั้ง
ประตูบานเฟี้ยมและประตูบานเปิดประดับลูกฟัก
ช่องแสงเหนือประตูมีการออกแบบให้พลิกเปิด - ปิดได้
เพื่อการระบายอากาศห้องทุกห้องยอดผนังจะมีช่องระบายอากาศ
โดยการตีไม้เป็นซี่ๆ ขนาด 1×1 นิ้ว ทำให้ถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่ทึบตัน

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 62 ถนนสุขใจ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
อายุเรือน 42 ปี เจ้าของเรือน นายสนิท หิรัญวิทย์
จำนวนผู้อยู่อาศัยปัจจุบัน 1 คน

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

เรือนนายสนิท หิรัญวิทย์

ประวัติ

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 เดิมมีผู้อยู่อาศัย 3 คน

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่บริเวณหลังวัดพระเกิด มีรั้วล้อมรอบทั้ง 4
ด้านบริเวณโดยรอบปลูกต้นไม้ร่มรื่น
หน้าเรือนหันหน้าไปทางทิศเหนือติดถนนซอย บริเวณข้างเคียงเป็นที่อยู่อาศัย
ซึ่งมีการกั้นรั้วแบ่งอาณาเขต อย่างชัดเจน

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

ฟังก์ชั่น

ระเบียงมีหลังคาคลุม (เติ๋น) ใช้สำหรับนั่งพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ
มีส่วนฝาไหลที่ทำเป็นผนังห้องเก็บของ

พื้นที่ใช้สอย

ชาน 15.84 ตารางเมตรเติ๋น 15.8 ตารางเมตร ห้องพระ 16.81
ตารางเมตร ห้องนอน 18.54 ตารางเมตร ครัว 12.18 ตารางเมตร
ห้องเก็บของ 12.18 ตารางเมตร ห้องน้ำ 2.76 ตารางเมตร

รวมพื้นที่ทั้งหมด 107.11 ตารางเมตร 

วัสดุและโครงสร้าง

ตัวโครงสร้างเรือนเป็นไม้เนื้อแข็งทั้งหลังหลังคามุงสังกะสี

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูงหลังคาทรงจั่ว
บันไดทางขึ้นเรือนเหลือเพียงบันไดทางขึ้นเดียวคือบันไดด้านหน้า
ลักษณะเป็นบันไดไม้แบบง่ายๆ มีหลังคาคลุมยาวตลอดบันได
สำหรับบันไดทางขึ้นอีกทางหนึ่งจะอยู่ด้านหลังเรือนใกล้กับครัว
ปัจจุบันไม้ผุพังจนไม่ได้ใช้งานแล้ว

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 7/1 ซอย 1 ถนน สมุนเทวราช ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
จังหวัดน่าน อายุเรือน 47 ปี เจ้าของเรือน นางจันทร์สี ภักดี

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

เรือนนางจันทร์ ภักดี

ประวัติ

บ้านหลังสร้างเมื่อ พ.ศ. 2508

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่บริเวณด้านหลังวัดพระเนตร ภายในบริเวณชุมชน
ซึ่งเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงเห็นได้จากมีการสร้าง หอพัก
ซึ่งเป็นอาคารตึกขึ้นในบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม
ตัวเรือนหลังนี้ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักโดยตัวเรือนตั้งอยู่ในอาณาเขต
ของบ้านที่มีรั้วรอบ หันหน้าไปทางทิศใต้โดยรอบปลูกต้นไม้ร่มรื่น ส่วนใหญ่เป็นไม้ผล เช่น ลำไย เกาลัด ลิ้นจี่
จากประตูทางเข้าซึ่งเป็นรั้วระแนงไม้โปร่งๆ ด้านซ้ายมือริมรั้ว หอผีปู่ย่าตั้งอยู่
ทางด้านขวามือจะมองเห็นบ่อน้ำอยู่ริมรั้ว

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

ฟังก์ชั่น

เมื่อขึ้นเรือน จากบันไดทางด้านขวามือจะมีโถงรับแขก
ซึ่งลดระดับต่ำกว่าตัวเรือนประมาณ 20
เซนติเมตรโถงนี้จะติดอยู่กับห้องนั่งเล่นและสามารถเดินเข้าสู่ตัวเรือนด้วยโถง
ทางเดินเชื่อมไปยังส่วนต่างๆ ได้แก่ ห้องนอน ส่วนครัว
บริเวณรับประทานอาหาร และห้องน้ำ

พื้นที่ใช้สอย

เติ๋น 42.31 ตารางเมตร ห้องนอน 68.34 ตารางเมตร ส่วนครัว 5
ตารางเมตร ห้องน้ำ 9.36 ตารางเมตร โถง 70.67 ตารางเมตร  อื่นๆ18.7
ตารางเมตร

รวมพื้นที่ใช้สอย 214.38ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

เรือนทำด้วยไม้เนื้อแข็งเกือบทั้งหลัง ยกเว้นส่วนบริเวณห้องน้ำ
โครงสร้างหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็งขนาด 2” x 6” หลังคามุงด้วยสังกะสี
ผนังกั้นห้องเป็นแผ่นไม้กระดานตีแนวนอน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนยกใต้ถุนสูง ประมาณ 2 เมตร จากลักษณะที่เห็น
เป็นการใช้เสาไม้ต่อจากเสาปูนเพื่อป้องกันน้ำท่วม ตัวเรือนค่อนข้างยาว
หลังคาทรงจั่ว ต่อกัน 3 ช่วง ทำให้มีรางน้ำภายในเรือน ถึง 2
รางภายในเรือนมีการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ปรับเปลี่ยนไปตามผู้อยู่อาศัยมีบันได
ทางขึ้น 2 ทางอยู่ทางด้านเดียวกันภายในเรือนมีส่วนที่ตีฝ้าปิด
บางส่วนโชว์โครงสร้างความสูงถึงเพดานแต่ที่น่าสนใจคือการประดับตกแต่ง
ช่องระบายอากาศ ด้วยการใช้ลูกเล่นของระแนงไม้เป็นจังหวะเป็นการตกแต่ง
ผนังไปในตัว

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 133 ซอย 3 ถนนเทศบาลดำริห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
จังหวัดน่าน อายุเรือน 48 ปี เจ้าของเรือน นายปลั่ง นุสา
จำนวนผู้อยู่อาศัยปัจจุบัน 2 คน

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

เรือนนายปลั่ง นุสา

ประวัติ

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 เดิมมีผู้อยู่อาศัย 3 คน

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่ภายในบริเวณที่มีรั้วล้อมรอบ เป็นรั้วอิฐบล็อกทึบทั้ง 4 ด้าน
ยกเว้นประตูรั้ว ซึ่งเป็นเหล็กโปร่งเรือนหันหน้าไปทางทิศเหนือออกถนน
พื้นที่โดยรอบปลูกต้นไม้

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

ฟังก์ชั่น

บนเรือนประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง
มีส่วนชานที่ยกพื้นสำหรับเป็นส่วนพักผ่อน รับแขก และทำกิจกรรมต่างๆ
หิ้งพระตั้งอยู่ที่เสาเป็นหิ้งลอย สำหรับครัวตั้งอยู่ติดกับชานอเนกประสงค์
โดยเป็นครัวที่ใช้เตาแก๊สและมีพื้นที่ไม่มากนักผนังครัวส่วนล่างทึบมีลักษณะ
เป็นไม้ตีแนวตั้งส่วนบนทำเป็นไม้ระแนงตีเว้นช่องช่วยระบายอากาศห้องน้ำจะ
อยู่ถัดจากส่วนครัวไปเล็กน้อยส่วนบริเวณใต้ถุนเรือนใช้เป็นที่นั่งเล่นและจอด
รถยนต์

พื้นที่ใช้สอย

พิ้นที่ใช้สอยมีดังนี้ห้องนอน19 ตารางเมตร ห้องน้ำ 3.15 ตารางเมตร โถง
24 ตารางเมตร ครัว
14.06 ตารางเมตร ชานเชื่อม 19 ตารางเมตร อื่นๆ 43.12 ตารางเมตร

รวม 122.33 ตารางเมตร 

วัสดุและโครงสร้าง

ตัวหลังคาเดิมมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์
ซึ่งยังเหลือให้เห็นในบางส่วน
เช่นส่วนที่ใช้นั่งเล่นพักผ่อนนอกนั้นเปลี่ยนเป็นหลังคาสังกะสี
ผนังภายนอกตีเกล็ดตามแนวตั้งและแนวนอนผนังส่วนที่ติดกับบันได
ทางขึ้น ด้านขวามือเป็นฝาไหลผนังกั้นภายในเป็นไม้อัดทาสี
พื้นส่วนห้องนอนและโถงภายในเรือนเป็นแผ่นไม้ตีชิดส่วนชานเอนกประสงค์
ซึ่งยกพื้นสูงประมาณ 0.20 เมตร
เป็นพื้นไม้ปูทับด้วยเสื่อน้ำมัน

ลักษณะเรือน

ตัวเรือนตั้งอยู่ภายในบริเวณที่มีรั้วล้อมรอบ เป็นรั้วอิฐบล็อกทึบทั้ง 4 ด้าน
ยกเว้นประตูรั้ว ซึ่งเป็นเหล็กโปร่งเรือนหันหน้าไปทางทิศเหนือออกถนน
พื้นที่โดยรอบปลูกต้นไม้

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

ที่ตั้ง เลขที่ 79 ถนนเทศบาลดำริห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
อายุเรือน 49 ปี เจ้าของเรือน นางบัวจันทร์ มลคงวิสุทธ์
จำนวนผู้อยู่อาศัยปัจจุบัน 1 คน

ลักษณะตัวเรือนและสภาพแวดล้อม

เรือนนายเมือง เมืองเล็น

ประวัติ

เรือนหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 โดยคุณตาเมือง
เจ้าของเรือนได้ออกแบบและจ้างสล่ามาสร้างให้
เดิมเมื่อสร้างเรือนเสร็จมีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 7 คน คือพ่อ แม่ และลูกๆอีก 5
คนปัจจุบันลูกโตหมดแล้ว และไปทำงานที่อื่นนานๆครั้งจึงกลับมาเยี่ยมบ้าน

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนหันหน้าเข้าหาถนนซอยตั้งอยู่ภายในบริเวณบ้านที่ล้อมรอบ
ไปด้วยต้นไม้ปลูกไม้ดอก ไม้ผลและทำสวนครัวเล็กๆไว้หลังบ้าน

หน้าต่างบานเปิดและผนังฝาไหลเรือน

ฟังก์ชั่น

เมื่อขึ้นบนเรือนจะมีระเบียงเพื่อใช้นั่งเล่นก่อนที่จะเข้าสู่ภายในเรือนซึ่ง
มีลักษณะเป็นโถงขนาดใหญ่ มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยส่วนหนึ่งเป็นที่รับแขก
และอีกส่วนหนึ่งใช้พักผ่อนของคนในครอบครัวมีห้องนอนด้านหลังเป็นพื้นที่
ส่วนครัว และห้องน้ำ 1 ห้องภายหลังได้ทำห้องน้ำชั้นล่างเพิ่มขึ้นบริเวณใต้ถุน
เรือน ซึ่งนอกจากจะกั้นเป็นห้องน้ำแล้วยังมีส่วนเก็บฟืน เก็บเครื่องมือทำสวน
และยังใช้ประโยชน์สำหรับนั่งเล่นพักผ่อนของคนในครอบครัว

พื้นที่ใช้สอย

ประกอบด้วยระเบียง 7.5 ตารางเมตร โถงต้อนรับและส่วนนั่งเล่น 30
ตารางเมตรห้องนอน 29.69 ตารางเมตร ส่วนเก็บของ 9.9 ตารางเมตร
ห้องน้ำ 8.74 ตารางเมตร ส่วนครัว 14.98 ตารางเมตรชานเชื่อม 34.5
ตารางเมตร

รวมพื้นที่ 135.39 ตารางเมตร

วัสดุและโครงสร้าง

เป็นเรือนไม้ทั้งหลังสร้างจากไม้เนื้อแข็ง มีทั้งไม้เต็งรัง ไม้ตะเคียน
ไม้แดง ผนังภายนอกและภายในเป็นแผ่นไม้ตีซ้อนเกล็ด (ท่อนล่าง)
ท่อนบนตีบังใบแนวตั้ง
ผนังส่วนโถงที่เชื่อมไปยังครัวทำเป็นฝาไหลทำให้ได้รับแสงและอากาศ
ถ่ายเทได้ดี
ฝ้าเพดานตีปิดทับด้วยแผ่นไม้กระดานตีชนหน้าต่างบานเปิดคู่เหนือบาน
หน้าต่างมีช่องแสงกระจก

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนยกใต้ถุนสูง หันหน้าไปทางทิศเหนือเสาด้านล่างเป็นเสาอิฐ
ก่อโชว์แนวไม่ฉาบปูนขนาด 0.40 X 0.40 เมตร
หลังคามีลักษณะเป็นจั่วแฝด มุงด้วยด้วยกระเบื้องดินขอ
ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสังกะสี บันไดทางขึ้นมี 2 ทาง
ทางด้านซ้ายและด้านขวาของตัวเรือนบันไดมีหลังคาคลุมตลอดช่วงบันได

พื้นที่ใช้สอย

รูปแบบเรือน

แปลนพื้น

Nanecotourism