Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

กรณีศึกษาเรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองและเขตชนบท

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 1

26 ถนนอริยะวงษ์ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ลักษณะกลุ่มเรือน

มีบ่อน้ำกลางที่ใช้ร่วมกันของพื้นที่ในบริเวณนี้อยู่ทางด้านทิศตะวันตก พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกของเรือนเป็นลานดินโล่งติดถนน ถัดไปเป็น เรือนไม้ยกใต้ถุนสูงที่เปิดด้านหน้าและทางสัญจร มีรั้วไม้ไผ่เตี้ย ๆ และ ไม้ พุ่มแบ่งพื้นที่บางส่วนพื้นถนนระหว่างเรือนมีทั้ง ที่เป็นหญ้าขึ้น และที่เป็น ดินที่เกิดขึ้นจากการสัญจรของรถและการเดินของคนและจะมาเป็นบ่อน้ำด้านทิศตะวันตกที่เป็นเรือนยกใต้ถุนสูงที่สร้างพร้อมกับเรือนลุงทัดมีทางเดินเล็กที่สามารถอ้อมไปข้างเรือนของลุงทัดด้านทิศใต้ได้

เรือนนายทัด อินทะวงษ์

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลในเมือง บริเวณนี้เรียกว่า บ้านพวงพยอมตั้งอยู่ที่ 26 ถนนอริยะวงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองอยู่เหนือแม่น้ำน่าน ทางตอนใต้ของตัวเมืองน่าน

สภาพแวดล้อม

บ้านทุกหลังลักษณะที่สำคัญของชุมชนนี้ คือ จะมีพื้นที่ว่างระหว่างบ้านเป็นภูมิประเทศเป็นแถวยาวขนานไปกับลำห้วย เหตุการณ์ที่สำคัญของ พื้นที่บริเวณนี้ คือ ได้เกิดมีน้ำ ท่วม ใหญ่ตอนปี 49 สูง ประมาณ 1.70 เมตร น้ำท่วมสามวันนับเป็นเหตุการณ์ที่ชาวบ้านพบและได้รับรู้ถึงน้ำที่ ท่วมสูงขึ้นเรื่อย ๆ

ลักษณะโครงสร้างเรือนและวัสดุ

ก.) เรือนนอน

โครงสร้างในส่วนเสาใต้ถุนเรือนเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ระบบโครงสร้าง พื้นเป็นระบบคาน ตงและพื้นตีชิด โดยใช้พื้นไม้หนา 6 นิ้ว ตีชิดวางบนตง ไม้ หน้า 6 นิ้ว ผนังมีสองระบบเป็นผนังตีตามนอนสูง จากพื้นเรือน 80 เซนติเมตร

ข.) เรือนครัว

โครงสร้างในส่วนเสาใต้ถุนเรือนครัวนี้พิเศษกว่าเรือนนอน คือ ในส่วน ของใต้ถุน เป็นเสาไม้เนื้อแข็งกลมขนาดใหญ่โดยมีการต่อเสาขึ้นไปยังบน เรือนครัว เหลือเป็นเสาไม้เนื้อแข็งกลมขนาดใหญ่ใช้ระบบโครงสร้างพื้น เป็นระบบคาน ตง

ค.) หลังคา

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปของเรือนลุงทัด คือ การกระเบื้องมุงหลังคา จาก เดิมเป็น กระเบื้องปูนซีเมนต์เป็นลอนคล้ายซีแพคโมเนีย ได้ปรับเปลี่ยน เป็นแผ่นสังกะสี แทนโดยยังคงสัดส่วนของทรงหลังคาเดิมไม่ได้เปลี่ยน แปลง สาเหตุที่เปลี่ยน เพราะอายุที่เก่าของปูนซีเมนต์ จึงทำให้เกิดการ เปื่อยยุ่ย

ง.) ชานใน

เป็นโครงสร้างเสาใช้เสาเรือนนอนกับเรือนครัวเป็นหลักแล้วเชื่อมด้วยคาน ไม้ ที่กดให้ระดับต่ำกว่าเรือนแต่ให้ได้ระยะเท่ากับชานแดดไม้คานจึง หน้าเล็กกว่า เพียงหน้า 4 นิ้ว

จ.) ชานแดด

เป็นโครงสร้างเสาไม้เนื้อแข็งที่ไม่ได้แต่งรูปจึงมีลักษณะที่คดโค้งไปตาม ธรรมชาติเสาสูง 1.90 เมตร ระบบโครงสร้างพื้นใช้เพียงคานกับพื้นไม้ เท่านั้น ไม่มีตงไม้ เนื่องจากระยะพาดไม่มาก

เรือนนางบัวจันทร์ มงคลวิสุทธ

ที่ตั้ง

เลขที่ 79 ถนน เทศบาลดำริห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อายุเรือน 49 ปี  จำนวนผู้อยู่อาศัยปัจจุบัน 1 คน สร้างเมื่อ พ.ศ.2506 โดย นายสม มงคลวิสุทธ์เป็นผู้ออกแบบ เดิมมีผู้อยู่อาศัย 4 คน คือ พ่อ แม่และลูก 2 คน

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่ภายในบริเวณที่ดินที่มีถนนซอยขนาบอยู่ 2 ด้าน ล้อมรอบ ด้วยรั้วอิฐบล็อกโดยรอบทั้ง 4 ด้านในรั้วเดียวกันนี้มี เรือนของญาติ พี่ น้องอยู่ถัดไป ทางด้านหลัง ประตูรั้วมีทางเข้าออก 2 ด้าน ด้านหน้าเป็น ประตูรั้ว ที่รถยนต์ สามารถเข้า-ออก ได้

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 2

เลขที่ 79 ถนน เทศบาลดำริห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูงประมาณ 1.80 เมตร ลักษณะเสาเป้นอิฐก่อไม่ ฉาบปูนหลังคาทรงจั่วมีบันไดทางขึ้น2ทางคือทางด้านหน้าแลtหลังเรือนส่วนที่ติดกับครัวจากบันไดทางขึ้นเรือนด้านขวามือมียุ้งข้าว (เล้าข้าว) สร้างไว้ติดอยู่กับเรือนบริเวณชานทำหลังคาคลุมทั้งหมด ซึ่งหลังคานี้ เป็นส่วนที่ต่อเติมจากของเดิม ถัดจากนอกชานเป็นพื้นยกระดับหรือที่ เรียกว่า “เติ๋น”

วัสดุและโครงสร้าง

ส่วนประกอบและโครงสร้างเรือนเป็นไม้เกือบทั้งหลัง ยกเว้นห้องน้ำและ เสาใต้ถุนเรือนซึ่งมีลักษณะเป็นอิฐก่อไม่ฉาบปูนวางตีแนวตั้งและแนวนอน พื้นไม้กระดานตีชน หน้าต่างบานเปิดคู่ ช่องแสงกระจกฝ้าผนังส่วน บนสุดมีช่องลมตีเป็นไม้ระแนง ทำเป็นซี่ๆเพื่อระบายอากาศประตูมีทั้ง ประตูบานเปิดและประตูบานเฟี้ยม

พื้นที่ใช้สอย

เรือนหลังนี้มีห้องนอน ห้องพระ ห้องเก็บของ ห้องครัวห้องน้ำและส่วนที่ เคยเป็นยุ้งข้าว ปัจจุบันใช้เป็นที่เก็บของและเมื่อมีการทำบุญจะเปิดประตู เพื่อให้พื้นที่ใช้สอยเชื่อมต่อกับชานแขกที่มาร่วมสามารถฟังธรรมและมี ส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 3

เลขที่ 127 ถนนเทศบาลดำริห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

เรือนนายเมือง เมืองเล็น

ที่ตั้ง

เลขที่ 127 ถนนเทศบาลดำริห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อายุเรือน 49 ปี จำนวนผู้อยู่อาศัยปัจจุบัน 2 คน เรือนหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2506 โดยคุณตาเมือง เจ้าของเรือนได้ออกแบบ เดิมเมื่อสร้าง เรือนเสร็จมีผู้อยู่อาศัย 7 คน

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนหันหน้าเข้าหาถนน ตั้งอยู่ภายในบริเวณบ้านที่ล้อมรอบไปด้วย ต้นไม้ ปลูกดอกไม้ ไม้ผลและทำสวนครัวเล็ก ๆ ไว้หลังบ้าน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนยกใต้ถุนสูง หันหน้าไปทางทิศเหนือเสาด้านล่างเป็นเสาอิฐก่อ โชว์แนว ไม่ฉาบปูน หลังคามีลักษณะเป็นจั่วแฝด มุงด้วยกระเบื้องดินขอ ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสังกะสี บันไดทางขึ้นมี 2 ทางทางด้านซ้ายและ ด้านขวาของตัวเรือนบันไดมีหลังคาคลุมตลอดช่วงบันได

วัสดุและโครงสร้าง

เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง สร้างจากไม้เนื้อแข็ง มีทั้งไม้เต็งรัง ไม้ตะเคียน ไม้แดง ผนังภายนอกและภายในเป็นแผ่นไม้ตีซ้อนเกล็ด (ท่อนล่าง) ท่อนบนตีบัง ใบแนวตั้ง ผนังส่วนโถงที่เชื่อมไปยังครัวทำเป็นฝาไหล ทำให้ได้รับแสง และอากาศถ่ายเทได้ดี ฝ้าเพดานตีปิดทับด้วยแผ่นไม้กระดานตีชน

พื้นที่ใช้สอย

เมื่อขึ้นบนเรือนจะมีระเบียงเพื่อใช้นั่งเล่นก่อนที่จะเข้าสู่ภายในเรือน ซึ่งมี ลักษณะเป็นโถงขนาดใหญ่มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยส่วนหนึ่งเป็นที่รับแขก และอีกส่วนหนึ่งใช้พักผ่อนของคนในครอบครัว มีห้องนอน 3 ห้องนอน ด้านหลังเป็นพื้นที่ส่วนครัว และห้องน้ำ 1 ห้อง ภายหลังได้ทำห้องน้ำชั้น ล่าง เพิ่มขึ้นอีก 1 ห้อง

เรือนนายปลั่ง นุสา

ที่ตั้ง

เลขที่ 133 ซอย 3 เทศบาลดำริห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อายุเรือน 48 ปี จำนวนผู้อยู่อาศัยปัจจุบัน 2 คน เรือนหลังนี้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2506 เดิมมีผู้อยู่อาศัย 3 คน

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่ภายในบริเวณที่มีรั้วล้อมรอบ เป็นรั้วอิฐบล็อกทึบทั้ง 4 ด้าน ยกเว้นประตูรั้วซึ่งเป็นเหล็กโปร่ง เรือนหันหน้าไปทางทิศเหนือออก ถนน พื้นที่โดยรอบปลูกต้นไม้

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 4

เลขที่ 133 ซอย 3 เทศบาลดำริห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง หลังคาจั่วคู่ ตั้งเหลื่อมกันเล็กน้อยเชื่อมต่อกัน ด้วยชายคาที่ทำขึ้นมาเพื่อคลุมส่วนที่เป็นก่ออิฐไม่ฉาบปูน บันไดทางขึ้น ด้านหน้าอยู่ทางทิศเหนือ เป็นบันไดไม้ มีเสา 2 ต้นรับปีกกันสาด บันได ลักษณะโดยทั่วไปเป็นเรือนที่มีรูปทรงแข็งแรง คล้ายเรือนของ คุณเมือง เมืองเล็น

วัสดุและโครงสร้าง

หลังคาเดิมมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ ซึ่งยังเหลือให้เห็นในบางส่วน เช่น ส่วนที่ใช้นั่ง นอกนั้นเปลี่ยนเป็นหลังคาสังกะสี ผนังภายนอกตีเกล็ดตาม แนวตั้งและแนวนอน ผนังส่วนที่ติดกับบันไดทางขึ้นด้านขวามือ เป็นฝา ไหล ผนังกั้นภายในเป็นไม้อัดทาสี ส่วนชานเอนกประสงค์ซึ่งยกพื้นสูง เป็นพื้นไม้ ปูทับด้วยเสื่อน้ำมัน

พื้นที่ใช้สอย

บนเรือนประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง มีส่วนชานที่ยกพื้น สำหรับเป็น ส่วนพักผ่อน รับแขกและทำกิจกรรมต่างๆหิ้งพระตั้งอยู่ที่เสาเป็นหิ้งลอย หันหน้าไปทางทิศเหนือสำหรับครัวตั้งอยู่ติดกับ ชานเอนกประสงค์โดย เป็นครัวที่ใช้เตาแก๊สและมีพื้นที่ไม่มากนัก ผนังครัวส่วนล่างทึบมีลักษณะ เป็นไม้ตีแนวตั้งส่วนบนทำเป็นไม้ระแนงตีเว้นช่องช่วยระบายอากาศ

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 5

เลขที่ 7/1 ซอย 1 ถนนสมุนเทวราช ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

เรือนนางจันทร์สี ภักดี

ที่ตั้ง

เลขที่ 7/1 ซอย 1 ถนนสมุนเทวราช ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อายุเรือน 47 ปี เรือนหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2508

สภาพแวดล้อม

เรือนตั้งอยู่บริเวณด้านหลังวัดพระเนตร ภายในบริเวณชุมชน ซึ่งเริ่มจะมี การเปลี่ยนแปลงเห็นได้จากมีการสร้างหอพัก โดยตัวเรือนตั้งอยู่ในอาณา เขตของบ้านที่มีรั้วรอบ หันหน้าไปทางทิศใต้ โดยรอบปลูกต้นไม้ร่มรื่นส่วน ใหญ่เป็นไม้ผล เช่น ลำไย เกาลัด ลิ้นจี่จากประตูทางเข้าซึ่งเป็นรั้วระแนงไม้ โปร่ง ๆ

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนยกใต้ถุนสูงประมาณ 2 เมตร จากลักษณะที่เห็นเป็นการใช้เสาไม้ ต่อจากเสาปูนเพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือนค่อนข้างยาวหลังคา ทรงจั่วต่อ กัน 3 ช่วงทำให้มีรางน้ำภายในเรือนถึง 2 ราง ภายในเรือนมีการจัดวาง เฟอร์นิเจอร์ปรับเปลี่ยนไปตามผู้อยู่อาศัยมีบันได ทางขึ้น 2 ทางอยู่ทาง ด้านเดียวกัน การประดับตกแต่งช่องระบายอากาศด้วยการใช้ลูกเล่นของ ระแนงไม้เป็นจังหวะเป็นการตกแต่งผนังไปในตัว

วัสดุและโครงสร้าง

เรือนทำด้วยไม้เนื้อแข็งเกือบทั้งหลัง ยกเว้นส่วนบริเวณห้องน้ำโครงสร้าง หลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงด้วยสังกะสีผนังกั้นห้องเป็นแผ่นไม้กระ ดานตีแนวนอน

พื้นที่ใช้สอย

เมื่อขึ้นเรือนจากบันไดทางด้านขวามือจะมีโถงรับแขก ซึ่งลดระดับต่ำกว่า ตัวเรือน โถงนี้จะติดอยู่กับห้องนั่งเล่นและสามารถเดินเข้าสู่ตัวเรือนด้วย โถงทางเดินเชื่อมไปยังส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ห้องนอน ส่วนครัว บริเวณรับ ประทานอาหารและห้องน้ำ

เรือนนายสนิท หิรัญวิทย์

ที่ตั้ง

เลขที่ 62 ถนนใจผาสุก ตำบลในเวียง อำเภอเมอง จังหวัดน่าน อายุเรือน 42 ปี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2508

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนตั้งอยู่ในชุมชนวัดพระเกิด โดยมีบ้านข้างเคียงอยู่ในอาณาเขต บริเวณใกล้กัน ตัวเรือนสภาพค่อนข้างทรุดโทรม เพราะขาดการซ่อมบำรุง

วัสดุและโครงสร้าง

เป็นไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง หลังคามุงสังกะสี

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 6

เลขที่ 62 ถนนใจผาสุก ตำบลในเวียง อำเภอเมอง จังหวัดน่าน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว บันไดทางขึ้นเรือนเหลือเพียง บันไดทางด้านหน้า ลักษณะเป็นบันไดไม้แบบง่าย ๆ มีหลังคาคลุมยาว ตลอดบันได สำหรับบันไดทางขึ้นอีกทางหนึ่ง อยู่ทางด้านหลังเรือนใกล้ กับครัว ปัจจุบันผุพังจนไม่ได้ใช้งานแล้ว

พื้นที่ใช้สอย

ประกอบด้วยห้องนอน 1 ห้อง ห้องพระ ส่วนเก็บของห้องครัวและห้องน้ำ เมื่อ ก้าวขึ้น เรือนทางด้านขวามือเป็นระเบียงมีหลังคาคลุม (เติ๋น) ใช้ สำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ ถัดไปซ้ายมือเป็น ชานแดด และ ร้านน้ำ โดยมีชานเชื่อมไปยังครัวและห้องน้ำด้านหลัง นอกจากนี้เรือนยัง มีส่วนฝาไหลที่ทำผนังห้องเก็บของ

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 7

เลขที่ 50 ถนนมณเฑียร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

เรือนนางวิภาภรณ์ อินแปง

ที่ตั้ง

เลขที่ 50 ถนนมณเฑียร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อายุเรือน 58 ปี เดิมเป็นเรือนของคุณตามั่นกับคุณยายตุ้ม อินแปง

สภาพแวดล้อม

เรือนหันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเรือนนายสมาน อินแปง ทางด้านทิศตะวันออกของเรือน ต่อเติมเป็นร้านอาหารจนถึงริมรั้วติดกับ ถนนซอยทิศตะวันตกปลูกต้นไม้และพืชผักสวนครัว

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา เสาเรือนด้านล่างเป็นอิฐก่อโชว์ แนวไม่ฉาบปูนเสาด้านบนเป็นเสาสี่เหลี่ยมไม้เนื้อแข็งพื้นไม้กระดานแผ่น ใหญ่กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ผนังไม้ตีซ้อนเกล็ดแนวนอนเพดาน เปิดโชว์โครงสร้างหลังคาทั้งภายในและภายนอกเรือน บันได ทางขึ้นมี 2 ส่วน ด้านหน้าเป็นบันไดปูน ต่อมาได้เปลี่ยนมาปูกระเบื้อง ราวบันได ตกแต่งด้วยปล่องไข่ถัดไปเป็นบันไดไม้ซึ่งเป็นทางขึ้นห้องครัว

วัสดุและโครงสร้าง

โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ผนังไม้ตีเกล็ดในแนวนอน ส่วนผนัง เป็นช่องลมทำด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องในแนวตั้ง การกั้นห้องมีลักษณะ โปร่ง ไม่ทึบมากส่วนชานแดดเป็นไม้กระดานภายหลังผุพังจึงได้ดัดแปลง เปลี่ยนเป็นเทปูนปูกระเบื้องตามสมัยนิยมรวมทั้งบันไดปูนด้านหน้าก็เช่นกัน มีการนำกระเบื้องมาประดับตกแต่งส่วนบันไดหลังคามุงด้วยกระ เบื้องดินขอ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหลังคาคอนกรีตและหลังคา ส่วนที่เป็น สังกะสีนั้น เดิมมุงด้วยหญ้าคา

พื้นที่ใช้สอย

ประกอบไปด้วยห้องนอน 2 ห้อง ส่วนโถงที่เชื่อมไปยังด้านหลังซึ่งเป็น ส่วนครัว บริเวณต่อจากโถง มียกพื้นซึ่งใช้เป็นพื้นที่นอนในบางครั้ง นอก จากนี้ยังมีห้องน้ำซึ่งสร้างขึ้นด้านหลังของเรือนติดกับบริเวณครัวใต้ถุน ปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากถมดินบริเวณโดยรอบเรือนสูงขึ้น ทำให้ การเข้าไปใช้งานทำได้ไม่สะดวกปัจจุบันใช้เก็บของที่ไม่ได้ใช้แล้ว

เรือนนายสมาน อินแปง

ที่ตั้ง

เลขที่ 50 ถนนมณเฑียร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อายุเรือน 55 ปี เจ้าของเรือนเดิม คือ นายมั่น อินแปง

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนหันหน้าไปทางทิศใต้ ตั้งอยู่ภายในอาณาเขต ที่มีเรือนของญาติ พี่น้องอยู่อีก 2-3 หลัง บริเวณโดยรอบปลูกต้นไม้และพืชผักสวนครัว กลางลานบ้านมีบ่อน้ำเป็นบ่อเก่าแต่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีปัจจุบันยัง ใช้ประโยชน์อยู่โดยบ้านทุกหลังใช้ร่วมกัน

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 8

เลขที่ 50 ถนนมณเฑียร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

วัสดุและโครงสร้าง

หลังคาตัวเรือนมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ตัวเรือนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เพดาน เปิดโล่งเห็นโครงสร้างหลังคาผนังไม้ฝากระดานตีแนวนอน หน้า ต่างลูกฟักไม้ หลังคามุงด้วยหญ้าคามีเพียงห้องน้ำที่ผนังเป็นผนังก่ออิฐมอญ

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนหลังคาทรงมนิลา มีครัวและห้องน้ำแยกออกต่างหาก ยกใต้ถุน สูงไม่มากนักเสาเรือนอิฐก่อไม่ฉาบปูนเสาบนเรือนไม้เนื้อแข็งขนาดประ มาณ 0.15X0.15 เมตร บันไดทางขึ้นเป็นบันไดไม้แบบง่าย ๆ มีการต่อ เติมหลังคาอลูมิเนียมด้านที่ติดกับรั้วด้านหน้าเพื่อใช้เก็บของต่าง ๆ

พื้นที่ใช้สอย

ประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง ส่วนเก็บของ ห้องครัวและห้องน้ำ ส่วน นอกชานซึ่งมีหลังคาคลุมยกพื้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นพื้นที่ เอนกประสงค์ สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนชานด้านหลังเป็นชานโล่ง เป็นทางเดินไปสู่ห้องน้ำ ใช้ประโยชน์สำหรับเป็นที่ซักล้าง ใต้ถุนเรือนไม่ได้ ใช้ประโยชน์มากนัก เนื่องจากมีความเตี้ยจึงเพียงใช้สำหรับจอดรถ จักรยานยนต์ เก็บของและเก็บฟืน

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 9

เลขที่ 175 หมู่ที่ 1 บ้านน้ำลัด ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

เรือนนางจำเนียร สิริปัญญาพงศ์

ที่ตั้ง

เลขที่ 175 หมู่ที่ 1 บ้านน้ำลัด ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อายุเรือน 54 ปี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 โดยนายใจ จันต๊ะยศ ผู้เป็นพ่อ และนายเอริน จันต๊ะยศ

สภาพแวดล้อม

เป็นเรือนที่ตั้งอยู่ห่างไกลไปจากชุมชน ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป จึง ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญโดยมีบ้านเรือนอยู่อย่างกระจาย ตัว ภายในบริเวณบ้านปลูกพืชผักสวนครัว ต้นกล้วยและเลี้ยงไก่ชน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนยกใต้ถุนสูงประมาณ 2 เมตร จากลักษณะที่เห็นเป็นการใช้เสาไม้ ต่อจากเสาปูนเพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือนค่อนข้างยาวหลังคา ทรงจั่วต่อ กัน 3 ช่วงทำให้มีรางน้ำภายในเรือนถึง 2 ราง ภายในเรือนมีการจัดวาง เฟอร์นิเจอร์ปรับเปลี่ยนไปตามผู้อยู่อาศัยมีบันได ทางขึ้น 2 ทางอยู่ทาง ด้านเดียวกัน การประดับตกแต่งช่องระบายอากาศด้วยการใช้ลูกเล่นของ ระแนงไม้เป็นจังหวะเป็นการตกแต่งผนังไปในตัว

วัสดุและโครงสร้าง

เรือนด้านหน้า หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอ โครงหลังคาไม้เนื้อแข็ง ฝ้าเพดานบริเวณตัวเรือนตีทับด้วยไม้ทับเกล็ด ส่วนชายคาเปิดโล่งเห็น โครงสร้างหลังคาผนังไม้ตีในแนวนอนประตูส่วนทีติดกับชานด้านหน้าเป็น ประตูบานเฟี้ยมทำด้วยไม้กระดานแผ่นใหญ่ ส่วนเรือนด้านหลังหลังคามุง กระเบื้องซีเมนต์ฝ้าเพดานกรุด้วยไม้ไผ่ขัดลายผนังตีซ้อนเกล็ดแนวตั้ง หน้าต่างไม้ตีขนสิ่งที่น่าสนใจของเรือนหลังนี้ คือ โครงหลังคามีการใช้ เดือยไม้แทนการตอกตะปู

พื้นที่ใช้สอย

เรือนประกอบด้วยส่วนชานโถงโล่ง ไม่มีหลังคาคลุม หรือเรียกว่า ชานแดด ส่วนยกพื้น (เติ๋น) ใช้รับแขกและนั่งเล่น ส่วนครัวและห้องนอนมีชาน สำหรับซักล้างและห้องน้ำ โดยมีทางขึ้น 2 ทาง คือ บันไดทางด้านหน้า เรือนและบันไดด้านหลังซึ่งอยู่ติดกับครัว

เรือนนางชื่น วรรณภพ

ที่ตั้ง

เลขที่ 38 หมู่ 3 ตำบลชัยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497 โดยสล่าพื้นเมือง

สภาพแวดล้อม

ตัวเรือนพักอาศัยตั้งอยู่พื้นที่เนิน ด้านทิศตะวันออกมีป่าไผ่และไม้พันธุ์ ต่าง ๆ ถัดมาเป็นพื้นที่โล่งก่อนเข้าสู่อาณาเขตบ้าน ซึ่งมีรั้วไม้ไผ่ เป็นแบบ รั้วตาแสงกั้นด้านทิศเหนือติดกับที่ดินของเพื่อนบ้านด้านทิศตะวันตก เป็น ทุ่งนาภายในเขตรั้วด้านทิศตะวันตกปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆไว้ใช้งานและบริโภค เช่น ขนุน ลำไย มะปราง หมากพลู ค้อ มะพร้าว เป็นต้น มีบ่อน้ำเดิมบ่อน้ำใหม่ ด้านทิศใต้เป็นที่นาของนางชื่น วรรณภพจึงหันเรือนไปทางทิศ ใต้ สามารถมองเห็นทุ่งนาของ ตนเองได้บริเวณด้านหน้าเรือนเป็นลานโล่ง เป็นลานเอนกประสงค์ ด้านทิศตะวันออกปลูกต้นลิ้นจี่มีคอกวัว โรงจอดรถ โรงเก็บฟืน และ อุปกรณ์ทำนาต่าง ๆ เช่น บันได ปลูกไม้ดอก

เรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองลำดับที่ 10

เลขที่ 38 หมู่ 3 ตำบลชัยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ลักษณะเรือน

เป็นเรือนแฝด ยกพื้นสูง ฐานเป็นก่ออิฐฉาบปูนตำเอง (ดินจี่) รองรับ โครงสร้างเรือน บันไดขึ้นเรือนเป็นปูนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเรือน ผนังเรือนเป็นแผ่นไม้จริงตีซ้อนเกล็ด มีส่วนระเบียงและราวกั้นโปร่งๆ ทำด้วยไม้ หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยแป้นเกล็ดไม้ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสังกะสี มียุ้งข้าว(หลองข้าว) สร้างแยกจากตัวเรือน มีแผ่นไม้พาดเชื่อมต่อกับตัวเรือนมีชานแดดด้านหน้าเรือนหันไปสู่ทุ่งนาของเจ้าของเรือน เรือนแบ่งเป็นเรือนนอนและเรือนครัวมีเจ๊าะ (เติ๋น) อยู่ด้านหน้าส่วนนอน และครัว

วัสดุและโครงสร้าง

โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ผนังตีไม้เกล็ดในแนวนอนส่วนบน ผนัง เป็นช่องลมทำด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องในแนวตั้ง การกั้นห้องมี ลักษณะโปร่งไม่ทึบมากส่วนชานแดดเป็นไม้กระดาน บันไดปูน

พื้นที่ใช้สอย

ภายในเรือนมีการกั้นห้องเป็นส่วน ๆ ประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง ส่วน ชานเรือน ซึ่งเป็นส่วนต่อจากเติ๋นและเชื่อมเข้าสู่ภายในบ้าน ครัวอยู่ด้าน หลัง มีชานเชื่อมระหว่างเล้าข้าว

Nanecotourism