Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

กรณีศึกษาเรือนพักอาศัยในเขตตัวเมืองและเขตชนบท

สรุปและอภิปรายผล

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตและวิถีชีวิต

การอยู่อาศัยและวิถีชีวิตของชาวน่านได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติของภูมิศาสตร์ (Geographical Influence) ด้วยส่วนที่ตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและลำน้ำสาขา ระหว่างเทือกเขาสองด้าน ทั้งทางทิศตะวันออกและตะวันตก และได้รับ อิทธิพลจากสภาพแวดล้อม ด้านภูมิอากาศประจำถิ่น (Climatic Influence) ที่มีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว ซึ่งส่งผลต่อรูป แบบเรือนพัก อาศัยที่ต้องคำนึงถึงระดับน้ำในฤดูน้ำหลาก และอากาศหนาวเย็นในฤดู หนาว การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในเรือนและสภาพแวดล้อม โดยรอบเรือน พักอาศัย ต้องตอบสนองความต้องการ ดำรงชีวิตของผู้คนในเรือน ซึ่ง เดิม มีวิถีชีวิตแบบพึ่งตนเอง มีการออกแบบการวางทิศทางของ หลังคา แบบขวางตะวัน เพื่อให้แสงแดดเพิ่มความอบอุ่นให้แก่เรือน พักที่วางใน ทิศทางแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าเรือนไปทางทิศใต้หรือทิศเหนือ เรือนพัก อาศัยในแขตชนบทมีการจัดสภาพแวดล้อมรอบ ๆ เรือนพักโดยการพึ่ง พา สภาพแวดล้อมด้วยการปลูกพืชพันธุ์ไม้ต่างๆ เพื่อประโยชน์ใช้สอย ต่าง ๆ ทั้งให้ร่มเงา ให้ผลผลิตในด้านอาหารและใช้เป็นวัตถุดิบในการทำ หัตถกรรมประเภทต่างๆ มีการแบ่ง พื้นที่รอบเรือนเป็นลานโล่ง มีบ่อน้ำ ไว้ใช้อุปโภคบริโภคในเรือนที่ห่างลำน้ำ มีระบบเหมืองฝาย เพื่อทดน้ำไว้ใช้ ในการเกษตรจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาหล่อเลี้ยงไร่นา แบบชุมชนเกษตร กรรม ปลูกข้าวแบบนาเหมือง แสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้าใจธรรมชาติ โดยลักษณะเฉพาะของภูมิประเทศ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเรือนพักอาศัย

เรือนพักอาศัยพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นมาจากการสั่งสมภูมิปัญญาท้องถิ่น เรือนพักอาศัย พื้นถิ่นของชาวน่าน มีลักษณะเฉพาะตัว เพราะกระบวนการวิวัฒนาการทางสังคมและวิถีชีวิตของชาวน่านมีมานาน เรือนพักอาศัยของชาวน่านส่วนใหญ่ มีรูปร่าง ขนาด วัสดุและระเบียบวิธีการก่อสร้างของท้องถิ่นจังหวัด น่าน สามารถเห็นได้ชัดเจนคือ เป็นเรือนปลูกด้วยไม้จริงหรือไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะสำคัญที่สั่งสมมาจากภูมิ ปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะเรือนในเขตชนบท ที่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวิถีชีวิตยังมีไม่มากเท่าเรือนใน เขตตัวเมือง เรือนพักอาศัยพื้นถิ่นเมืองน่าน โครงสร้างเป็นไม้ ภูมิปัญญาในการวางทิศของเรือนให้สัมพันธ์กับทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ เพื่อให้แสงอาทิตย์ช่วยเพิ่ม ความอบอุ่นให้ผู้พักอาศัยในเรือน ผนังเรือนด้านบนมักมีช่องระบายอากาศ การแบ่งพื้นที่ในเรือนเป็น 2 บริเวณคือส่วนในหรือบริเวณหวงห้ามและเป็นบริเวณส่วนตัว(Private Zone) ของคนในครอบครัวที่เข้าออกได้เฉพาะสมาชิกในเรือน และส่วนนอก ได้แก่บริเวณชานอเนกประสงค์ที่ เป็นห้องโถง ฝาผนังเปิดโล่งอยู่ด้านหน้าของห้องนอนเชื่อมต่อกับชานด้านหน้าเรือน ซึ่งพื้นที่โถงเชื่อมนี้ชาว น่านเรียกว่า “เจ๊าะ”เหมือนส่วน “เติ๋น” ของเรือนล้านนา มีการเปลี่ยนวัสดุสำหรับเรือนพักอาศัยในสมัยหลัง เช่น การเปลี่ยนโครงสร้างเรือนจากเสาไม้จริงปัก ลงดิน เป็นการสร้างฐานเรือนด้วยการก่ออิฐแบบไม่ฉาบปูน(ภายหลังบางเรือนฉาบปูน) เปลี่ยนวัสดุมุงหลังคา จากหญ้าคาในสมัยก่อนเป็นแป้นเกล็ดไม้ และกระเบื้องดินขอ ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องซีเมนต์ จน ปัจจุบันนิยมเปลี่ยนเป็นสังกะสีแทน


เรือนนายทัด อินทะวงษ์

>100 ตร.ม.


เรือนนางบัวจันทร์ มงคลวิสุทธ์

155.83 ตร.ม.


เรือนนายเมือง เมืองเล็น

155.83 ตร.ม.


เรือนนายปลั่ง นุสา

122.33 ตร.ม.


เรือนนางจันทร์สี ภักดี

214.38 ตร.ม.


เรือนนายสนิท หิรัญวิทย์

107.11 ตร.ม.


เรือนนางวิภาภรณ์ อินแปง

119.30 ตร.ม.


เรือนนายสมาน อินแปง

107.18 ตร.ม.


เรือนนางจำเนียร สิริปัญญาพงศ์

132.35 ตร.ม.


เรือนนางชื่น วรรณภพ

119.62 ตร.ม.


ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมรอบเรือนพักอาศัย

ด้วยพื้นฐานสังคมชาวน่านตั้งแอดีตเป็นระบบเศรษฐกิจ
แบบเลี้ยงตนเองหมู่บ้านต่าง ๆ มีการทำการเกษตรกรรมและหัตถกรรม
แบบพึ่งพากัน เมื่อว่างเว้นจากการทำการเกษตรแล้ว
จะมีการทำงานหัตถกรรมต่าง ๆ จึงต้องปลูกพืชที่เป็นวัตถุดิบ
สำหรับงานหัตถกรรมด้วย เช่น ไม้ไผ่ชนิด ต่าง ๆ หวายบางชนิด
เกิดการปลูกพืชที่หลากหลาย เพื่อการดำรงชีวิตที่ สมบูรณ์ทั้งด้านการกิน
การทำเครื่องมือเครื่องใช้ ทำให้นอกจากปลูกข้าว เพื่อบริโภคแล้ว
ยังปลูกพืชต่าง ๆ ไว้รับประทาน ทั้งไม้ยืนต้น พืชสวนครัว ท้องถิ่น
สมุนไพรสำหรับรักษา โรคพืชเหล่านี้อาจปลูกในสวน หรือบริเวณ
ลานบ้านขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดพุ่มของพืช เนื่องจากในบริเวณที่พัก
อาศัยของชาวน่านส่วนใหญ่จะมีบริเวณช่วงบ้านเป็นลานดินอเนกประ สงค์
ใช้สำหรับทำกิจกรรมภายนอกอาคาร เป็นลานสำหรับตากพืชผลทาง
การเกษตร หรือใช้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ บริเวณด้านล่างอาจมี
ต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ให้ผลเพื่อรับประทานและให้ร่มเงา บริเวณรอบรั้ว
บ้านและที่ว่างหลังบ้านนิยมปลูกพืช ชนิดผล เช่น มะม่วง มะปราง มะเฟือง
มะพร้าว หมาก กล้วย ส้มโอ ค้อ ขนุน ลำไย บริเวณรอบ ๆ นิยมปลูก
พืชผักสวนครัว ที่ใช้เป็นอาหารและเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค โดยรอบ ๆ
บริเวณบ้านล้อมด้วยไม้ไผ่ตามสภาพ พื้นที่ว่างต้องการปิดกั้น
อย่างมั่นคงถาวรหรือปล่อยโล่งโปร่ง เพื่อทัศนียภาพที่ดีและเป็นการบอก
อาณาเขตอย่างหลวม ๆ จากการสำรวจเรือนพักอาศัยในจังหวัดน่าน
พบว่ามีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมเรือน
พักอาศัยในชนบท ถึงแม้สภาพแวดล้อม จะเริ่มพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปทั้ง
ด้านวิถีชีวิต การใช้ประโยชน์ที่ดิน สาธารณูปโภคต่าง ๆ แต่สภาพแวด
ล้อมของเรือนยังคงรักษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ ต่อการใช้สอย
ของผู้อยู่อาศัยได้มีการปลูกพืชพันธุ์ ไม้ดอก ไม้ปะดับ ไว้บริเวณริมรั้วและ
เชิงบันไดทางขึ้นเรือน เพื่อความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยในพิธี
กรรมต่าง ๆ

Nanecotourism