Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

ประวัติเมืองน่าน

เมืองปัวหรือวรนคร

พญาภูคาได้ครองเมืองย่าง ทรงเป็นปฐมของราชวงศ์ภูคา พระองค์ได้ขยายอาณาเขตโดยให้ โอรสบุญธรรม คือขุนฟองไปครองเมืองวนนคร เหนือเมืองปัว และอีกองค์ คือ ขุนนุ่น โปรดให้ไปครองเมืองหลวงพระบาง ต่อมาบุตรขุนฟอง ชื่อ เจ้าเก้าเกื่อน ได้ครองเมืองย่าง และพญางำ

ภูเพียงแช่แห้ง

สมัยพญาการเมืองบุตรผานองเมืองวรนครมีการพัฒนาและขยายตัวจึงทำให้เมืองเกิดความคับแคบประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งเป็นประจำ พระองค์จึงได้อพยพและย้ายเมือง มาอยู่เวียงภูเพียงแช่แห้งมีวัดพยง4ปี ถูกลอบปลงพระชนม์พญาผากอง ผู้เป็นบุตรได้ครองเมืองต่อมา

เวียงใต้

พญาผากองย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าน่านที่บ้านห้วยไคร้ เป็นที่ตั้งของเมืองน่านปัจจุบันเรียกว่า “เวียงน่าน” เมื่อมีการอพยพไปเวียงเหนือ เนื่องจากหนีน้ำาท่วมจึงเรียกอีกชื่อว่า“เวียงใต้”มีหลักฐานปรากฎบางส่วนที่แนวคันดินใกล้วัดพญาวัด

เวียงเหนือ

การย้ายเมืองน่านจากเวียงภูเพียงไปอยู่ที่ดงพระเนตรช้างหลังจากน้ำท่วมในพ.ศ.2360ที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่2ของพญาสมุนเทวราชเจ้าเมืองน่านการย้ายเมืองน่านนั้นใช้เวลาสร้างเมืองหกเดือนและเมืองใหม่ที่สร้างขึ้นถูกเรียกว่า"เวียงเหนือ"ซึ่งตั้งอยู่ในเขตบ้านโพธิ์และบ้านหวเวียงเหนือนอกจากนี้ยังมีการสันนิษฐานว่าการย้ายเมืองน่านนั้นมีวัดสถารศเป็นวัดหลวง

เมืองน่านปัจจุบัน

แม่นํ้าน่านเปลี่ยนเส้นทางการไหล ใน ปี พ.ศ.2367 สมัยเจ้าอนัตวรฤทธิเดชย้ายเมืองน่านจากเมือง จากเวียงเหนือ (ดงพระเนตรช้าง) กลับมายังเวียงใต้ และได้เริ่มบูรณะกำแพงเมือง วัดวาอารามให้งดงามดังเดิม (พ.ศ.2397)

ผังกำแพงเมืองน่าน

กำแพงเมืองทิศตะวันออกมี2ประตูคือประตูไชยสำหรับเจ้านายชั้นสูงเสด็จทางชลมารคและประตูน้ำเข้มใช้ติดต่อค้าขายทางน้ำของชาวเมืองทั่วไป กำแพงเมืองทิศเหนือ มี 2 ประตู คือ ประตูริม ใช้สำหรับเดินทางไปสู่ตอนเหนือของเมืองน่านและประตูอมร ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2450 เพื่อสร้างถนนมหายศไปวัดสวนตาล กำแพงเมืองทิศตะวันตกมี 2 ประตู คือ ประตูปล่องน้ำ ใช้ระบายน้ำ จากตัวเมืองออกนอกเมือง และประตูหนองห้า สำหรับชาวเมืองเดินออกไปทำไร่นานำผลิตเข้าเมือง กำแพงเมืองทิศใต้มี 2 ประตู คือ ประตูเชียงใหม่ เป็นทางออกไปต่างเมือง เช่น แพร่ เชียงใหม่และประตูท่าลี่ ซึ่งเป็นประตูที่นำศพออกไปเผานอกเมือง คูเมือง อยู่ด้านนอกกำแพงเมืองสามด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีแม่น้ำน่านเป็นปราการธรรมชาติ ภายนอกกำแพงเมืองเป็นเรือกสวนไร่นาของชาวเมือง

ภาพกำแพงเมืองน่านสมัยรัชกาลที่ 5

ที่ตั้ง : ตำบลใน เวียง สิ่งสำคัญที่ขึ้น ทะเบียน : กำแพงเมืองก่อ อิฐและคูเมือง
อายุสมัย ของการก่อสร้าง : กำแพงเมืองก่ออิฐ ที่เหลืออยู่ใน ปัจจุบันสร้างขึ้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์
ความสำคัญ : เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มีความสำคัญต่อเรื่องราวเมืองน่าน
การประกาศขึ้นทะเบียน : ประกาศขึ้ทะเบียนในราช กิจจานุเบกษา เล่ม ที่ 61 ตอนที่ 65ลงวันที่ 24

รูป ปัจจุบัน

โบราณสถานประเภทศาสนสถาน

วัดพระธาตุเขาน้อย

ที่ตั้ง : ตำบลเวียงใต้
อายุสมัย ของการก่อสร้าง : พระเจ้าภูเข็งกับพระนางประทุมวดี พระมเหสีโปรดให้สร้างขึ้นลักษณะที่ตั้งมีความสำคญเพราะเล็งกับพระธาตุ แช่แห้ง
ความสำคัญ : เจดีย์บรรจุพระพุทธเกศาและพระบรมสารีริกธาตุผสมลักษณะเด่นของเจดีย์วัดช้างค้ำกับมาลัยเถาแปดเหลี่ยมล้านนา องค์ระฆังแบบพม่า- อุโบสถ สร้างโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริต เดชฯนำไม้จากหอคำหลังเดิม มาสร้างในปี พ.ศ.2449

เจดีย์วัดหัวข่วง

ที่ตั้ง : ตำบลใน เวียง
สิ่งสำคัญที่ขึ้น ทะเบียน : เจดีย์วัดหัวข่วง
อายุสมัย ของการก่อสร้าง : ไม่ปรากฏประวัติการสร้างที่แน่นอนได้รับการบูรณะราว พ.ศ.2425 - 2472
ความสำคัญ : เป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนาเป็นองค์ประกอบ โครงสร้างสำคัญของเมืองน่าน โบราณ โบราณสถานและ โบราณวัตถุอื่นๆได้แก่ หอไตรและอุโบสถ
การประกาศขึ้นทะเบียน : ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขต ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 97 ตอนที่10 ลงวันที่ 24 มกราคมพ.ศ. 2523

หอคำ(คุ้มหลวง)

ที่ตั้ง : มุมถนนผา กองกับถนน สุริยพงษ์
สิ่งสำคัญที่ขึ้น ทะเบียน : ตัวอาคาร
อายุสมัย ของการก่อสร้าง : พุทธศตวรรษที่ 25
ความสำคัญ : เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้นแบบตรีมุขรูปแบบผสมผสานศิลปะไทยและตะวันตก โครง สร้างภายในเป็นไม้ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณคุ้มเดิมที่เป็นเรือนไม้สักผสมไม้ตะเคียน 7 หลังเมื่อปีพ.ศ.2446

- ตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดน่าน

- ปี พ.ศ.2517 เป็นพิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเปิดบริการ ปี พ.ศ. 2530

- เป็นอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสาธารณะ

ผังเสนอแนะเส้นทางท่องเที่ยวเมืองเก่าน่าน

เส้นทางที่ 1

เส้นทางไหว้พระ 9 วัด เส้นทางเดิมที่มีปัจจุบัน
เริ่มต้นที่ ศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว

- วัดภูมินทร์

- วัดมิ่งเมือง

- วัดศรีพันต้น

- วัดไผ่เหลือง

- วัดหัวข่วง

- วัดพระธาตุช้างคําวรวิหาร

- วัดกู่คํา

- วัดพญาภ

- วัดน้อย

เส้นทางที่ 2

เส้นทางตักบาตรยามเช้า ไหว้พระ ชมเมืองเก่าน่าน
เริ่มต้นที่ย่าน ตลาดตั้งจิตนุสรณ์
(บริเวณถนนสุมนเทสราช)

- วัดหัวเวียงใต้

- วัดสวนตาล กำแพงเมืองเก่า (ตอนเหนือ:ประตูปล่องน้ำ)

- วัดมงคล

- ประตูเมืองเก่า

- วัดมณเฑียร

- วัดศรีพัน ต้น

- วัดมิ่งเมือง

- หอคำ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน)

- คุ้มเจ้าราชบุตร

- วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

- วัดภูมินทร์ และสิ้นสุดที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

เส้นทางที่ 3

เส้นทางไหว้องค์พระธาตุแช่แห้ง เริ่มต้นที่ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว

- วัดพระธาตุแช่แห้ง

เส้นทางที่ 4

เส้นทางไหว้องค์พระธาตุแช่แห้งเริ่มต้นที่ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว

- วัดพระธาตุแช่แห้ง

เส้นทางที่ 5

เส้นทางไหว้พระธาตุในเขตเมืองน่านเริ่มต้นที่ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว

- วัดพระธาตุแช่แห้ง

- วัดท่าล้อ

- วัดสวนตาล

- วัดพญาวัด

- วัดพระธาตุเขาน้อย

- วัดพญาภู

- วัดกู่คำ

- วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

- ชมเอกลักษณ์เมืองน่าน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
“ปู่ม่านและย่าม่าน” ที่วัดภูมินทร์

Nanecotourism