Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

บทที่ 2

การศึกษาวิเคราะห์งานศิลปหัตถกรรมเรือแข่งจำลอง

เอกลักษณ์ของเรือเมืองน่านไม่เหมือนจังหวัดใดในประเทศไทยคือเป็นเรือที่ขุดจากไม้ตะเคียนหรือตะเคียนทองทั้งต้นด้วยเชื่อกันว่ามีความทนทานและผีนางไม้แรงตรงหัวเรือหรือโขนเรือเป็นรูปพญานาคมีความสวยงามอย่างยิ่งซึ่งมีความเชื่อว่าพญานาคมีความศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้ฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์

การแข่งเรือยาวนั้นเป็นประเพณีที่สาคัญและมีประวัติอันยาวนานจากตานานการแข่งเรือที่มีมาแต่โบราณซึ่งการทาเรือในอดีตจะต้องมีการตัดต้นตะเคียนจากป่าซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งและมีขนาดใหญ่มาก ต้องใช้สล่านับร้อยคนช่วยกันตกแต่ง ถาก และขุดไม้ตะเคียนให้เป็นรูปเรือและเมื่อจะนาเรือลงสู่แม่นั้นจะจัดให้มีพิธีกรรมบวงสรวงเทพยาดาประจาไม้ตะเคียนและบายศรีสู่ขวัญอัญเชิญเรือลงสู่แม่น้าน่านเรือสองลาแรกมีชื่อว่า“เรือท้ายหล้าและเรือท้ายทอง”โดยภายหลังได้ถูกประกาศจากเจ้าผู้ครองนครน่านให้เรือทั้งสองลาเป็นแม่แบบในการสร้างเรือเพื่อนามาใช้ในการแข่งขันโดยมีกาหนดว่าให้มีการจัดการแข่งขันขึ้นทุกครั้งที่มีงาน“ตานก๋วยสลาก”(ถวายทานสลากภัต)มีการเชื้อเชิญหมู่บ้านและวัดใกล้เคียงให้นาเรือมาแข่งขันกันเพื่อให้เกิดความสนุกสนานและความสามัคคีและสิ่งที่สาคัญและโดดเด่นในการแข่งขันที่ดึงดูดความสนใจต่อผู้ชมคือการตกแต่งรูปโฉมของเรือที่จะลงแข่งให้สวยงามสะดุดตาเรือแต่ละลาจะมีความแตกต่างกันตามแต่ช่างหรือสล่าที่บรรจงแกะสลักให้มีความวิจิตรโดยเฉพาะส่วนหัวเรือที่มีรูปลักษ์เป็นพญานาคและมีการแกะสลักลวดลายลงสีสวยงามตลอดทั้งลาแต่ละลามีการตั้งชื่อเฉพาะแต่ละลาก่อนนาลงแข่งต้องมีการประกอบตัวเรือและมีพิธีอัญเชิญแม่ย่านางในการแข่งขันนั้นไม่ได้เน้นหนักในด้านการแพ้หรือชนะแต่เน้นด้านความสนุกสนานและความสามัคคีเป็นหลักเมื่อมีการแข่งขันกันอย่างกว้างขวางและประพฤติปฏิบัติเป็นประจาทุกปีมาโดยตลอดจึงทาให้เป็นประเพณีการแข่งขันเรือของจังหวัดน่านในปัจจุบันซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและถือเป็นเทศกาลท่องเที่ยวของจังหวัดน่านมีนักท่องเที่ยวมากมายเข้ามาชมการแข่งขันโดยส่วนทางราชการได้ถือเอางานทานสลากภัต ณ วัดช้างค้าวรวิหารเป็นการเปิดสนามการแข่งเรือของจังหวัดน่านราวปลายเดือนกันยายนในแต่ละปีและงานสลากภัตจะไปสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประมาณปลายเดือนตุลาคามถึงต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นการปิดสนามแข่งขันจากความสาคัญหลายประการดังกล่าวจึงเป็นที่มีมาของการแกะสลักเรือแข่งจาลองโดยย่อส่วนจากขนาดเรือจริงให้ได้สัดส่วนที่งดงามและที่สาคัญคือการแกะส่วนประกอบของเรือก็เน้นให้มีลักษณะการถอดประกอบเข้าเดือย ส่วนหัว ส่วนหางลาเรือเหมือนกับเรือของจริงทุกประการซึ่งเป็นลักษณะเด่นของการทาเรือจำลองนอกจากนี้ช่างที่ทาเรือแข่งจำลองจะต้องมีความชานาญอย่างสูงในการถอดแบบและลวดลายที่อ่อนช้อยงดงามการทาเรือแข่งจาลองนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานจังหวัดจัดให้มีการแข่งขันประกวดความสวยงามของเรือแข่งจาลองในทุกปีควบคู่ไปกับการจัดแข่งความเร็วของเรือยาวการประกวดแต่ละครั้งจะมีสล่าหรือช่างที่มีความสามารถในการทาเรือจาลองส่งเข้าประกวดกันอย่างมากมายหลังมีการตัดสินแล้วก็จะนามาจัดตั้งโชว์ ณ จุดแสดงให้กับนักท่องเที่ยวได้ชมผลงานหากผู้ที่ชื่นชอบก็สามารถสั่งทาหรือหาซื้อได้ที่ศูนย์จาหน่ายสินค้าของจังหวัดการสั่งทานั้นต้องใช้เวลาซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายและรายละเอียดต่าง ๆ ด้วย ส่วนการใช้งานนั้น เรือจาลองนี้มักจะใช้ประดับตกแต่ง อาคารบ้านเรือนเพื่อให้สวยงาม และเป็นของฝากที่ระลึก

ภาพที่ 4.1 แสดงการฟ้อนรำและเล่นดนตรีก่อนนำเรือออกจากโรงเก็บเรือ

ที่มา : ภาพลายเส้นจากภาพถ่าย ณัฐวุฒิ ใจทน 2554

ภาพที่ 4.2 แสดงพิธีกรรมบรวงอันเชิญแม่ย่านางเรือก่อนนำเรือลงแข่ง

ที่มา : ภาพลายเส้นจากภาพถ่าย ณัฐวุฒิ ใจทน 2554

ลักษณะโดยทั่วไปของเรือแบ่งเมืองน่าน

ภาพที่ 4.2 แสดงพิธีกรรมบรวงอันเชิญแม่ย่านางเรือก่อนนำเรือลงแข่ง

ที่มา : ภาพลายเส้นจากภาพถ่าย ณัฐวุฒิ ใจทน 2554

ภาพที่ 4.3 แสดงองค์ประกอบหลักของเรือแข่งเมืองน่าน

ที่มา : เขียนจากเรือแข่งจำลองเพชรอรัญชนะเลิศเรือจำลองปี 53 ของคุณ วิโรจน์ พรหมอารีย์

ภาพที่ 4.4 แสดงส่วนขยายรายละเอียดส่วนหัวโอ้เรือหรือหัวโขน

ภาพที่ 4.5 แสดส่วนขยาย ส่วนหงอน

ภาพที่ 4.6 แสดงส่วนขยายรายละเอียดส่วนโงนหัวหรือกัญญาหัว

ภาพที่ 4.7 แสดงส่วนขยายรายละเอียดส่วนโฮงเรือหรือตัวเรือ

ภาพที่ 4.8 แสดงส่วนขยายรายละเอียดส่วนโงนหางหรือกญญาหาง

ภาพที่ 4.9 แสดงส่วนขยายรายละเอียดหางวรรณ

ตัวอย่างหัวเรือแข็งที่ใช้ในปัจจุบัน

ภาพที่ 4.9 หัวเรือเกียรติศักดิ์ ใช้ในชุมชน้านศรีพันต้นอ.ในเวียง อ.เมือง

ภาพที่ 4.10 หัวเรือขุนน่าน ปับจุบันตั้งอยู่พิพิธภัณฑ์เรือแข่งที่ริงน้ำน่าน

ภาพที่ 4.11 หัวเรือคำแดงเทวี บ้านนาเตา หมู่ที่ 3 ต.บลริมอ. ท่าวังผา

ภาพที่ 4.12 หัวเรือคำปิ๋ว ตั้งอยู่ใน พิพิธภัณฑ์วัดน่าปัง

ภาพที่ 4.13 หัวเรือนาปังคว้างน่าน ตั้งอยู่ใน พิพิธภัณฑ์วัดน่าปัง

ภาพที่ 4.14 หัวเรือนาปังกางวิ๊ด ตั้งอยู่ใน พิพิธภัณฑ์วัดน่าปัง

ภาพที่ 4.15 หัวเรือจำลองเพรชอรัญชนะเลิศเรือจำลองปี 53 โดยคุณวิโรจน์ พรหมอารีย์

การแกะสลักเรือแข่งจำลอง

การแกะสลักเรือแข่งจาลองนี้จะต้องใช้ผู้ที่มีความชานาญหรือ“สล่า”โดยจาลองขนาดสัดส่วนเรือนี้จากลาเรือขนาดจริงทุกส่วนซึ่งส่วนใหญ่สล่ามักจะแกะสลักเรือเหล่านี้อยู่ที่บ้านของตนเองโดยทาอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่เร่งรีบเรือจาลองแต่ละลาค่อนข้างใช้เวลาน่านพอสมควรในการทาบางลาอาจใช้เวลาเป็นเดือน ซึ่งแล้วแต่ความยากง่ายและรายละเอียดที่มี

ภาพที่ 4.15 แสดงการเปรียบเทียบขนาดความยาวของลำเรือตั้งแต่ 0.50 เมตร ถึง 1.20 เมตร

ไม้ที่ใช้สำหลับแกะเรือจำลอง

สิ่ว ค้อนขนาดต่างๆใช้ในการแกะสลักชิ้นงาน

โต๊ะยึดปากกาจับชิ้นงาน

พู่กัน สีอะคริค

ข้อมูลเพิ่มเติม

แสดงภาพขั้นตอนการทำเรือจำลอง

Nanecotourism