Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

บทที่ 4

งานเครื่องจักรสาน

ในการศึกษาศิลปหัตถกรรมเครื่องจักสานของจังหวัดน่านสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

  1. เครื่องจักสานท้องถิ่น
  2. เครื่องจักสานหญ้าสามเหลี่ยม

เครื่องจักสานท้องถิ่น

เครื่องจักสานมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันด้วยภูมิปัญญาในการทาเครื่องใช้สอยที่มีความจาเป็นจนถึงการนามาใช้เพื่อความสะดวกสบายและเพื่อใช้ตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงามในอดีตชาวน่านนิยมทาเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่หงายซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น โดยการนามาทาเป็นอุปกรณ์จับสัตว์น้าภาชนะใส่ของเครื่องใช้ทางพิธีกรรมฯลฯเครื่องจักสานที่ทาส่วนใหญ่นี้เพื่อประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือนซึ่งในปัจจุบันเครื่องจักสานบางชนิดอาจหาดูดได้ยากแต่ยังคงมีบันทึกเรื่องราวและตัวอย่างให้ศึกษาในพิพิธภัณฑ์แต่บางชนิดก็ยังมีบางครัวเรือนทำใช้เองอยู่บ้างนอกจากนี้ทางจังหวัดน่านเองก็ยังมีการส่งเสริมการทาเครื่องจักสานโดยการตั้งกลุ่มผลิตที่มีความสามารถในการถ่ายทอดภูมิปัญญาการจักสานให้กับชุมชนตนเองและผู้ที่สนใจมีการผลิตงานจักสานเพื่อจาหน่ายโดยมีองค์กรที่มีความรู้

ในการพัฒนารูปแบบให้สวยงามช่วยแนะนาและปรับปรุงรูปแบบให้สวยงามทันสมัยมากขึ้นในการศึกษาเครื่องจักสานนี้ได้รวบรวมเครื่องจักสานที่พบเห็นในจังหวัดน่านทั้งในพิพิธภัณฑ์และในพื้นที่อื่นๆ ภายในจังหวัดน่าน

เครื่องจักสานท้องถิ่น

ตัวอย่างเครื่องจักสานหญ้าสามเหลี่ยม

หมู่บ้านบ้านห่างทางหลวงอยู่ที่ตาบลภูฟ้าอาเภอบ่อเกลือซึ่งห่างจากทางหลวงประมาณ500เมตรและห่างจากที่ว่าการอาเภอบ่อเกลือประมาณ18กิโลเมตรพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อนมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ40บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอาเภอบ่อเกลือสูงประมาณ 730 เมตรจากระดับน้าทะเล ปานกลาง มีทิวเขาที่สาคัญคือ ภูคา ภูแว ภูฟ้า ภูผีปันน้า ลาน้าที่สาคัญได้แก่ ลาน้ามาง ลาน้าว้า และลาน้าน่านมีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจะเย็นสบายตลอดทั้งปี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวลัวะ อาชีพหลักคือ ทาไร่ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หาของป่า ส่วนอาชีพรองคือ การจักสานหญ้าสามเหลี่ยม ชาวบ้านนิยมนาหญ้าชนิดนี้มาจักสานเป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เช่นกระบุง กล่องข้าว เสื่อ ข้อง ไซ และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆต่อมาเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จทรงงานพื้นที่อาเภอบ่อเกลือทรงประทับใจในความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ของหญ้าสามเหลี่ยมจึงทรงโปรดให้หน่วยงานกศน.เข้ามาช่วยพัฒนารูปแบบและลวดลายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับงานจักสานนี้อันจะส่งผลให้ราษฎรมีรายได้สูงขึ้น

เครื่องจักสานหญ้าสามเหลี่ยมเป็นอีกหนึ่งศิลปหัตถกรรมที่มีความสวยงามและเป็นหนึ่งในสินค้าสัญลักษณ์ของจังหวัดน่านด้วยเช่นกันจากความสวยงามที่ได้จากเส้นและสีของหญ้าสามเหลี่ยม ทาให้ชิ้นงานที่ได้มีความสวยงามด้วยตัววัสดุเอง และจากภูมิปัญญาของชาวภูฟ้าที่มีการพลิกแพลงประยุกต์ลายสานให้ดูสวยงามแปลกตาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์หญ้าสามเหลี่ยมเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย

1. วัสดุที่ใช้ทาเครื่องจักสานหญ้าสามเหลี่ยมการสานหญ้าสามเหลี่ยมสามารถใช้หญ้าสามเหลี่ยมล้วนๆเพียงอย่างเดียวหรือจะใช้ร่วมกับต้นก้านตองเพื่อให้เกิดลวดลายที่ต่างสีกันก็ได้เนื่องจากหญ้าสามเหลี่ยมมีสีน้าตาลเข้มเกือบดาจะตัดกับสีของก้านตองซึ่งมีสีอ่อนมากแต่ ถ้าต้องการเครื่องจักสานที่ได้ให้มีผืนสานที่แข็งไม่อ่อนตัวง่ายก็จะสานร่วมกับตอกที่ได้จากไม้ไผ่ก็ได้เช่นกัน

2. ลักษณะของหญ้าสามเหลี่ยมหญ้าสามเหลี่ยม ในอดีตเรียกกันว่า “ต้นตอกดา” เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการเผาแผ้วถางป่าใหม่ๆ ลาต้นหญ้าสามเหลี่ยมจะเกิดขึ้นมามีลักษณะลาต้นหน้าตัดเป็นสามเหลี่ยม หากยังโตไม่เต็มที่จะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จัดลาต้นจะเป็นสีน้าตาลเข้มจนถึงสีดา ลักษณะรากเป็นเหง้า

Description of first image
Description of second image

ภาพที่ 5.1 แสดงลักษณ์หญ้าสามเหลี่ยมบริเวณพื้นที่บ้านห่างทางหลวง

หญ้าสามเหลี่ยมบริเวณพื้นที่บ้านห่างทางหลวง

ภาพที่ 5.2 แสดงลำต้มของหญ้าสามเหลี่ยม

ความสูงของต้นหญ้าสามเหลี่ยม เมื่ออยู่บนดอยสูงลาต้นจะสูงใหญ่ประมาณ 2เมตรหากอยู่บนที่ราบลาต้นจะมีขนาดเล็กประมาณ0.70-1.00เมตรกว้างด้านละประมาณครึ่งเซนติเมตรส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่บนภูเขาพื้นที่ตาบลภูฟ้าอาเภอบ่อเกลือจานวนมากฤดูเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคมสามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ส่วนที่นาไปใช้คือส่วนของลาต้น

หญ้าสามเหลี่ยม

ภาพที่ 5.3 แสดงหญ้าสามเหลี่ยมที่นำมาตากแดดให้แห้งสนิทก่อนนำไปใช้

3. ลักษณะของต้นก้านตองต้นก้านตองเป็นพืชลักษณะรากเป็นเหง้าเป็นพืชที่มีอยู่ตามลาห้วยที่มีอากาศเย็นพบเห็นทั่วไปที่อาเภอบ่อเกลือจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับคล้าต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่จะมีความสูงประมาณ2เมตรลักษณะใบยาวเขียวสดมีก้านใบที่แข็งแรงเก็บเกี่ยวโดยตัดใบจากโคนก้านใบและใช้มีดกรีดเอาเฉพาะก้านใบไปทาเครื่องจักสานส่วนใหญ่ชาวบ้านจะปลูกไว้ทั่วไปใกล้บริเวณบ้านสามารถเก็บเกี่ยวใช้งานได้ง่าย

ต้นก้านตองที่บ้านห่างทางหลวง

ภาพที่ 5.4 แสดงลักษณะต้นก้านตอง ที่บ้านห่างทางหลวง

4. ประเภทการจักสานหญ้าสามเหลี่ยมการสานหญ้าสามเหลี่ยมนั้น สามารถทาได้สะดวกมีเพียงมีดบางคมขนาดเล็ก ก็สามารถเริ่มต้นทาเครื่องจักสานได้การสานมีความแตกต่างทางด้านรูปทรง ลวดลาย แต่หลักๆในการพิจารณาจะแบ่งลักษณะการสานออกเป็น 3 ประเภทคือ

4.1) การสานแบบผืนเป็นงานสานที่มีการทามากที่สุดเนื่องจากเป็นงานที่ได้รับสั่งซื้อจากลูกค้าโดยตรงซึ่งสามารถนาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบอื่นๆได้หลากหลาย เช่น ชุดรองภาชนะอาหาร กระเป๋า กล่องใส่ของต่างๆ ฯลฯ

4.2) การสานแบบหุ้มโครงรูปทรงเป็นงานสานโดยมีโครงรูปทรงอยู่ด้านในผู้สานจะต้องสานพร้อมตัวโครงการสานนิยมสานให้ลายมีความละเอียดแน่น ซึ่งต้องใช้ความชานาญและความละเอียดมาก งานลักษณะนี้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มจากรูปทรงโครงเดิมได้เป็นอย่างดีรูปทรงส่วนใหญ่ที่นิยมทาเช่น แจกัน ฐานโคมไฟ ขวดที่มีรูปทรงสวยงาม

4.3) การสานแบบขึ้นรูปเป็นงานสานขึ้นรูปทรงเป็นเครื่องใช้ต่างๆเช่นตะกร้ารูปทรงต่างๆแต่ก็ต้องสานร่วมกับวัสดุอื่นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับรูปทรง เนื่องจากการสานด้วยหญ้าสามเหลี่ยมเพียงอย่างเดียวจะทาให้อ่อนตัวเกินไป จึงต้องเพิ่มตอกจากไผ่เพื่อความคงตัวของรูปทรง

ข้อมูลเพิ่มเติม

แสดงรูปแบบผลิตภัณฑ์จากหญ้าสามเหลี่ยม

การเตรียมวัสดุ

ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ 1
ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ 2
ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ 3
ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ 4

ภาพที่ 5.5 แสดงขั้นตอนการเตรียมวัสดุ

การเตรียมวัสดุเป็นมีขั้นตอนดังนี้

  1. เก็บเกี่ยว หญ้าสามเหลี่ยม จากป่า ตามฤดูกาลเก็บเกี่ยวและต้นก้านตองที่ปลูกไว้ (สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี)
  2. นำมาตัดใบและดอกให้เหลือเฉพาะส่วนก้านโดยตัดให้ให้ความยาวเท่าๆ กัน ส่วนก่านต้องใช้ เฉพาะส่วนแกนในการทำมาตากแห้ง
  3. เมื่อแห้งสนิทดีแล้วนามาผ่าตามแนวยาให้ได้ขนาดความกว้างที่ต้องการใช้สานมีตั้งแต่1.02.0มิลลิเมตรสาหรับลายที่ต้องการความละเอียดมาก3.0มิลลิเมตรใช้กับลายที่ต้องการความละเอียดปานกลาง4.05.0มิลลิเมตรใช้สาหรับลายที่ไม่ต้องการความละเอียดเท่าไรนัก
  4. เวลาจะใช้สานจะต้องใช้มีดคมขนาดเล็ก กรีดปาดเอาส่วนที่เป็นส่วนเนื้อของหญ้าออก จะใช้ผิวหรือเฉพาะเปลือกของหญ้าเท่านั้น
ตัวอย่างขนาดและความละเอียด

ภาพที่ 5.6 แสดงการเปรียบเทียบขนาดและความละเอียดของลายแจกัน ก้อน และเสื้อ

การสานแบบหุ้มโครงรูปทรงต่างๆ

การสานแบบหุ้มโครง 1
การสานแบบหุ้มโครง 2
การสานแบบหุ้มโครง 3
การสานแบบหุ้มโครง 4

ภาพที่ 5.6 แสดงการสานขึ้นรูปแจกับ

การสานแบบการสานแบบหุ้มโครงจะนิยมใช้เส้นหญ้าสามเหลี่ยมขนาดเล็กละเอียดเพื่อให้ได้ลายที่ดูละเอียดแน่นสวยงาม

  1. เตรียมโครงหรือภาชนะที่จะทาเป็นรูปทรงได้ เช่น แจกันเซรามิค ขวดแก้ว หรือโครงรูปทรงที่ทาจากไม้มะม่วง
  2. ตั้งเส้นแนวตั้งแนบโครง โดยเริ่มจากส่วนฐาน อาจยึดด้วยเทปกาวหรือทากาวไว้ในส่วนเริ่มต้นก็ได้
  3. เพิ่มเส้นนอนสานขัดไปตามรูปทรงของโครงเมื่อครบวงรอบสอดเก็บปลายให้แน่นหากต้องการลวดลายสามารถใช้ก้านตองเป็นตัวสลับสีสิ่งที่ขาดไม่ได้คือมีดคมปลายเล็กแหลมเพื่อตัดขลิบเฉพาะเส้นหญ้าที่เป็นส่วนเกิน
  4. เมื่อสานเสร็จจนถึงขอบก็ให้สานย้อนกลับเพื่อเก็บปลายและตัดเศษที่เหลือออก

ข้อมูลเพิ่มเติม

การสานแบบขึ้นรูปทรง

ตัวอย่างลวดลายสานจากหญ้าสามเหลี่ยมและก้านตอง

ตัวอย่างผืนจักสานบจากหญ้าสามเหลี่ยมและก้านตอง

Nanecotourism