Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

บทที่ 3

การศึกษาวิเคราะห์งานศิลปหัตถกรรมเครื่องเงิน

เครื่องเงินเมืองน่านนั้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีและยอมรับทั่วไปว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่สวยงามมักนิยมซื้อเป็นของฝากด้วยถือว่าเป็นของดีของจังหวัดน่านเป็นงานฝีมือและเป็นของมีค่ามีราคาเนื่องจากคุณสมบัติความเป็นเงินแท้บริสุทธิ์ที่เป็นสิ่งยืนยันคุณภาพของเครื่องเงินที่ด

ในอดีตเครื่องเงินนั้นมักมีใช้เป็นเครื่องใช้เช่น สลุงหรือขัน พาน กระบวย ช้อน เชี่ยนหมาก กล่อง ตลับสาหรับชนชั้นสูงทาจากเงินแท้บริสุทธิ์โดยการหลอมตีขึ้นรูปตอกดุนฉลุลวดลายประดับให้วิจิตรงดงามซึ่งต้องใช้ความสามารถและทักษะของช่างผู้เชี่ยวชาญสูงและยังต้องใช้เวลามากอีกด้วย กว่าจะได้ภาชนะเครื่องใช้แต่ละชิ้นงานนอกจากจะทาเป็นเครื่องใช้แล้วยังทาเป็นเครื่องประดับเช่น สร้อย กำไลต่างหูแหวนส่วนใหญ่ช่างที่มีความชานาญจะเป็นกลุ่มชาวเขาเผ่าเมี่ยนและม้งซึ่งก็มาจากวัฒนธรรมการนิยมประดับประดาการแต่งกายด้วยเครื่องเงินที่สวยงามดังจะเห็นได้ในชุดชาวเขาแบบเต็มสมบูรณ์หรือการแต่งชุดแต่งงานของเจ้าสาวที่จะต้องสวมเครื่องเงินอย่างเต็มชุดตั้งแต่ชุดสวมคอกำไลต่างหูและประดับประดาบนผ้าหรือหมวกที่สวมศีรษะด้วย

ภาพที่ 3.1 เครื่องเงินนครน่าน

ภาพที่ 3.2 เครื่องเงินของกลุ่มชาวเขา

ปัจจุบันการทาศิลปหัตถกรรมเครื่องเงินของจังหวัดน่านได้มีการอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาการทาสลุงหรือขันด้วยวิธีแบบดั้งเดิมโบราณที่ทาด้วยมือทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้งานที่วิจิตรงดงามเหมือนในอดีตลวดลายที่ทามีทั้งลายแบบดั้งเดิมโบราณและคิดค้นขึ้นมาใหม่การทาสลุงหรือ ขันนี้มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ส่วนงานเครื่องประดับจะเป็นช่างคนละกลุ่มส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตชาวเขาตั้งแต่กลุ่มขนาดเล็กจนถึงกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งงานเครื่องประดับเงินนั้นมีหลากหลายรูปแบบมากส่วนใหญ่มักจะออกแบบมาใหม่ๆเพื่อดึงดูดความสนใจและเป็นรูปแบบตัวเลือกให้ถูกใจกับลูกค้าเครื่องเงินเหล่านี้มีข้อดีคือหากชารุดเสียหายสามารถที่จะนามาหลอมใหม่ได้เครื่องเงินน่านจัดเป็นเครื่องเงินที่มีคุณภาพสูง มีส่วนผสมของธาตุเงิน 92.5 เปอร์เซ็นต์ และทองแดง ทองเหลือง 7.5 เปอร์เซนต

ในการจัดกลุ่มการทำหัตถกรรมเครื่องเงินในจังหวัดน่านสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่ม 1 กลุ่มผลิตเครื่องเงินดั่งเดิมของน่าน

กลุ่ม 2 กลุ่มผลิตเครื่องเงินชาวเขา

กลุ่มผลิตเครื่องเงินดั่งเดิมขิงน่าน

เป็นช่างเงินที่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันยังคงอนุลักษณ์สืบสานเทคนิคการทาแบบดั้งเดิมรวมทั้งลวดลายที่เป็นแบบดั้งเดิมและลวดลายที่ประดิษฐ์คิดขึ้นใหม่ช่างผลิตเงินกลุ่มนี้จะทางานที่บ้านของตนเองและเมื่อผลิตชิ้นงานได้ก็จะขายเองโดยทาที่บ้านให้เป็นจุดท่องเที่ยวด้วยไปในตัวผู้ที่ต้องการซื้องานหัตถกรรมประเภทนี้สามารถเข้าเยี่ยมชมการทาศิลปหัตถกรรมเครื่องเงินและเลือกซื้อได้ถึงที่บ้านของผู้ผลิตได้เลยซึ่งนับเป็นวิถีการท่องเที่ยวเชิงอนุลักษณ์และสร้างความยั่งยืนให้กับการทาหัตถกรรมเครื่องเงินด้วยนอกจากการทาเองขายเองที่บ้านของตนแล้วก็ยังส่งขายในศูนย์จาหน่ายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวและร้านค้าภายในโรงแรมด้วยเครื่องเงินที่มีความโดดเด่นมีชื่อเสียงเป็นของฝากที่มีคุณค่า เครื่องเงินที่มีการผลิตเป็นส่วนใหญ่คือ “สลุง” ราคาที่จาหน่ายจะขึ้นอยู่กับน้าหนักของชิ้นงานเป็นหลัก

สลุง

อ่านว่า สะหลุง (ขัน) ขัน (พาน )เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวล้านนาหมายถึงภาชนะใส่น้ามีลักษณะคล้ายกับขัรูปทรงกระบอก ส่วนปากและก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน สลุง ทามาจากโลหะเงินและมีการสลักลวดลายลงบนสลุงมีหลายขนาดตามแต่ขนาดที่ใช้หรือสั่งทา

ภาพที่ 3.3 แสดงสลุงที่ทำด้วยมือ

ภาพที่ 3.4 แสดงขนาดของขันเงิน

ภาพที่ 3.4 แสดงขนาดและน้ำหนักของสลุง

ข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบลวดลายสลุงที่นิยม

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตัวอย่างลวดลายฝาตลับเชี่ยนหมาด

ข้อมูลเพิ่มเติม

แสดงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้แกะสลักขันเงิน

ขั้นตอนการหลอมและขึ้นรูปทรง สลุง

1. นำเงินมาหลอมในเบ้า แล้วนำไปเผาในเตาเผาที่มีชื่อเรียกว่าเตาเฝ่า เติมดินประสิวและข้าวสารตอนในขณะที่เม็ดเงินค่อย ๆละลาย เพื่อให้เนื้อเงินมีกลักษณะเนียนเรียบและอ่อน

2. เติมผงถ่านลงไปในเงินที่ละลายเป็นของเหลวเพื่อไม่ให้เนื้อเงินติดกับเบ้าแล้วนาเงินนั้นเทลงในเบิ้งที่ใส่น้ามันก๊าดลงไปในเบิ้งแล้วประมาณ3-4ของเบิ้งจะทาให้เกิดการลุกไหม้เพื่อให้เนื้อเงินจับตัวกันแน่นไม่มีฟองอากาศลักษณะของเบิ้งนั้นเป็นภาชนะที่ทาจากดินเหนียวมีลักษณะเป็นหลุมไม่ลึกใช้อุปกรณ์เกลี่ยหน้าเงินให้เรียบทิ้งไว้5นาทีแล้วขุดนาผงถ่านออกมาคว่าเบิ้งลง เพื่อให้แผ่นเงินหลุดออกมา

3. นาแผ่นเงินที่หลอมเสร็จแล้วไปชุบกามะถันผสมน้าจากนั้นนาไปแช่ในน้ามะขามเปียก เพื่อล้างคราบสกปรกและกรดออกโดยใช้แปรงทองเหลืองขัดจะทาให้เนื้อเงินเป็นประกายเงางามมากขึ้น

4. นาแผ่นเงินที่ได้ไปขึ้นรูปโดยการทุบหรือตีให้ขึ้นขอบคอยเผฟให้ร้อนเพื่อให้เนื้อเงินอ่อนตัวลง ตีขอบไล่รูปทรงจนเป็นสลุง จากนั้นนาเงินไปขัดด้วยแปรงทองเหลือในน้ามะขามเปียกผสมผงหินขัด เนื้อเงินจะได้เป็นเงาขาวมากขึ้น

ภาพที่ 3.16 แสดงภาพเงินที่หลอมแล้วแกะออกจากเบ้าตีขึ้นขอบจบเป็น สลุ่ง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนสลักลวดลายสลุง

ขั้นตอนการตกแต่งผิว

ขั้นตอนที่ 1 ขัดผิว สลุง ส่วนที่ขรุขระด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียดให้ผิวเนื้อเรียน ขั้นตอนที่ 2 นำขั้นเงินที่เสร็จเรียบร้อยแล้วต้มด้วยน้ำกรดผสมกำมะถันให้เดือดที่อุณหภูมิสูงประมาณ30นาทีให้อุณหภูมิไม่สูงมาก ถ้าอุณหภูมิไม่สูงวัตถุที่ต้มจะไม่ขาว ขั้นตอนที่ 3 ทำความสะอาด สลุง โดยน้ำสะอาดด้วยแปลงทองเหลือง ร่วมกับผงซักฟอกและ น้ำมะขามเปียก หรือผงหินขัด สลุงเงินจะขาวขึ้นเงาวาว

ภาพที่ 3.17 แสดงภาพการตอกดุนลายสลุงโดย คุณบุญช่วย หิรัญวิทย์

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผลิตเครื่องเงินชาวเขา

จากอดีตจนปัจจุบันชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าเมี่ยนมีความสามารถทางด้านศิลปะการทาเครื่องเงินซึ่งวัตถุเงินถือเป็นวัตถุมีค่าและราคามากที่สุดของเผ่าม้งและเผ่าเมี่ยนจึงได้มีการนาโลหะเงินมาประดิษฐ์ขึ้นรูปเป็นเครื่องประดับตกแต่งมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยนามาสวมใส่ประดับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายประจาเผ่าใช้ในพิธีกรรม หรือเป็นค่าสินสอด รวมทั้งใช้รักษาโรคและป้องกันภัยต่างๆเครื่องเงินที่ทาขึ้นได้แก่สร้อยคอสร้อยข้อมือกำไลแหวนตุ้มหูเข็มกลัดปิ่นปักผมและเข็มขัดเป็นต้นในอดีตนั้นทาเพื่อใช้เองในกลุ่มหรือครอบครัวปัจจุบันเครื่องเงินทาขึ้นเพื่อจาหน่ายและได้แผ่ขยายไปตามตลาดต่างๆเนื่องจากได้รับความนิยมสูงและทาให้เกิดการผลิตในรูปแบบธุรกิจกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินขนาดเล็กและใหญ่จนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จาหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศในระยะหลังได้มีพัฒนารูปแบบและลวดลายให้มีความสวยงามหลากหลายมากขึ้นอีกทั้งในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยทาให้การทาเครื่องเงินมีความละเอียดประณีตสวยงามตามความต้องการของลูกค้าและนักท่องเที่ยวมากขึ้นทาให้จังหวัดน่านมีชื่อเสียงทางด้านการผลิตเครื่องประดับเงินโดยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

ภาพที่ 3.18 แสดงลักษณะเครื่องแต่งกายชาวเขาในอดีตที่นิยมใส่เครื่องประดับเงินทั้งชายและหญิงที่มา : ภาพลายเส้นจาก สือภาพเคลื่อนไหวประชาสัมพันธ์ประวัติศูนย์เครื่องเงินชมพูภูคา

แสดงตัวอย่างเครื่องเงินชาวเขา

ภาพที่ 3.18 ตัวอย่างเครื่องเงิน ชาวเขา

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการทำเครื่องประดับเงิน

Nanecotourism