Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคุ้มในเขตเมืองเก่า

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คุ้มในเขตเมืองเก่า

จังหวัดน่าน

อาคารหอคำ(คุ้มหลวงเมืองน่าน)

คุ้มหลวง

หมายถึง
ที่ประทับของผู้ปกครองนคร
ทางเหนือ

หมายถึงจวนของเจ้านายในเมือง
ขนาดเล็ก เช่น ลำพูน แพร่ น่าน

แผนที่แสดงคุ้มต่างๆในเมืองน่าน

หอคำ

อาคารหอคำในปัจจุบันเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปแบบผสม
ผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมตะวันตก

แบบตรีมุข 2 ชั้น โครงสร้างภายในเป็นไม้
หันหน้าไปทางทิศตะวันออกพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ
โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2446

คุ้มเจ้าราชบุตร(หมอกฟ้า ณ น่าน)

ในปัจจุบันและเปิดบ้านในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและ
มีการบรรยายให้ทราบถึงประวัติคุ้มและสายตระกูลเจ้าผู้ครองนครน่านรวมถึงประวัติศาสตร์นครน่านและวิถีชีวิตน่านในอดีต

คุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

พระเจ้าสุริยพงษ์ริตเดชฯ โปรดให้สร้างคุ้มหลังนี้ขึ้นเมือปี
พ.ศ. 2459 เพื่อเป็นที่พำนักของเจ้าจันทร์ทองดี ผู้เป็นธิดา
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมที่ดิน จังหวัดน่าน และเป็นอาคาร
อนุรักษ์ของ จังหวัด โดยกรมที่ดินได้ซื้ออาคารหลังนี้ต่อจาก
คุณสมสมัย วุฒิสอน

คุ้มเจ้าเทพมาลา

คุ้มเจ้าเทพมาลา เมื่อแรกสร้างเป็นที่พำนักของเจ้าเทพมาลา
ธิดาคนแรกของพระเจ้า-สุริยพงษ์พริตเดชฯ กับเจ้าแม่ยอดหล้า
(เชียงคำ) ภรรยาลำดับที่ 5 มีบุตรธิดารวมกันทั้งหมด 7 คน

คุ้มเจ้าทองย่น

เดิมเป็นบ้านของรองอำมาตย์ตรีเคี่ยน รัตนวงศ์ไชย
และเจ้าแม่บุญสม(สารรัตนะ) รัตนวงศ์ชัย บุตรีเจ้าบุรีรัตน์
(เจ้าเมืองแก้ว) สร้างในปี พ.ศ. 2452ปัจจุบันถมดินปิดไปแล้ว
และใช้พื้นที่เป็นโรงรถ เป็นที่เก็บอุปกรณ์ และเลี้ยงไก่ชน

คุ้มเจ้าเมฆวดี

อายุเรือนประมาณ 90 -100 ปี เจ้าราชวงศ์สิทธิสาร
(โอรสของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ) สร้างให้บุตรสาว
คือเจ้าเมยวดีเป็นเรื่อนหอ สมรสกับเจ้าหล มิธิดา
คือเจ้ามอญแก้ว ซึ่งสมรสกับเจ้าอินทร ณ น่าน มีบุตร-ธิดา 4
คน คือ เจ้าชุติมา หุ่นนวล (ณ น่าน) เจ้าวีรพล ณ น่านเจ้าวัฒนา
บุราณรัตน์ (ณ น่าน) เจ้าวราภรณ์ ณ น่าน ปัจจุบันเจ้าชุติมา
หุ่นวล (ณ น่าน) และครอบครัว เจ้าวราภรณ์ ณ น่าน ดูแลอยู่

รั้วและกำแพงคุ้มเมืองน่านในปัจจุบัน

คุ้มในเมืองน่านแต่เดิมมีการกั้นเขตอย่างชัดเจน แต่ปัจจุบันหลงเหลือให้ศึกษาน้อยมากแบ่งออกเป็น รั้วทีบและรั้วโปร่งรั้วทีบจะก่ออิฐฉาบปูนสูงทีบ
ด้านนอก อาจทำเป็นรูปแหลมหรือเรียบอาจมีหัวเสาปูนปั้นบางแห่ง เช่น คุ้มเจ้าจันทร์ทองดี รั้วโปร่งจะก่อกำแพงสูงไม่มากมีช่องโปร่งแนว ตั้งปลาย
โค้งมนเรียกว่ารั้วป่องไข่พบเห็นทั่วไปและมีการประยุกต์ใช้กับราวบันไดคุ้ม ส่วนที่เป็นบันได ปูนดังเช่น ที่คุ้มเจ้าทองย่น, คุ้มเจ้าเมฆวดี

รั้วและกำแพงคุ้มเมืองน่านปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้

กำแพงหอคำ

เดิมเป็นกำแพงทึบสูง จากรูปถ่ายในอดีตมีประตูทางเข้า ด้านหน้าเป็นซุ้มยอด ด้านทิศตะวันออก
ด้านหลังทางทิศตะวันตกยังมีให้เห็น

กำแพงคุ้มเจ้าราชบุตร

เดิมน่าจะมีครบทุกด้าน แต่เมื่อตัดแบ่งขายที่ดินไปบริเวณด้านหลังคุ้มหรือปัจจุบันคือถนนมหาวงศ์ จึงรื้อไป
ปัจจุบันรั้วกำแพงด้านทิศตะวันตกถนนผากอง ทิศตะวันออกและทิศใต้ เป็นรั้วทึบ มีประตูทางเข้าใหญ่
หิดกับถนนมหาพรหม หรือด้านเหนือของวัดพระธาตุข้างค้

กำแพงคุ้มเจ้าเทพมาลา

ปัจจุบันเป็นรั้วโปร่งด้านหน้าติดถนนมหาพรหม

กำแพงคุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

เหลือเพียงด้านหลังและด้านข้าง เป็นรั้วทีบมีหัวเสาที่มีลายปูนปั้นบริเวณติดซอยวัดหัวข่วง

กำแพงคุ้มเจ้าทองย่น

กำแพงด้านหน้าและด้านข้าง เป็นรั้วใหม่ทำด้วยไม้ ราวกันตกขึ้นบันได
ด้านหน้าเรือนเป็นกำแพงช่องป่องไข่

Nanecotourism