Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

ลักษณะเด่น วิหารไทลื้อ จังหวัดน่าน ผ่าน วิหารวัดหนองบัว วัดดอนมูล วัดร้องแง วัดต้นแหลง วัดหนองแดง

วัดหนองบัว

วัดหนองบัว

เป็นวัดไทลื้อลักษณะผสมแบบไทลื้อและล้านนาแต่ยังคงลักษณะไทลื้อไว้มากมีอิทธิพลของวิหารล้านนาตั้งแต่ลักษณะผังโถงด้านหน้า และ ประตูด้านหน้า1 บานมีหลังคาคลุมมีแสงจากช่วงลดระดับหลังคา

ส่วนล่าง : ฐานวิหาร ฐานวิหารสร้างบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าลดผังอาคารด้านหน้าเฉพาะ ส่วนที่เป็นมุขโถงคลุมบันไดในแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก ฐานวิหารยกสูงจากพื้นแบบฐานบัวคว ่าก่ออิฐฉาบ ปูนลดสอบเข้าหาผนังวิหาร มีขนาด 7 ห้องเป็นมุขโถงคลุมบันได 2 ห้องรวมเป็น 9 ห้อง ทิศเหนือเป็นมุขบันได ในช่วงห้องเสาที่ 6 ฐานวิหารประกอบด้วยบันไดขึ้นสู่วิหารด้านหน้าในทิศตะวันออกและด้านข้างวิหารในทิศใต้ และทิศเหนือ

ภายในวิหารประกอบด้วยแท่นอาสนะสงฆ์ที่นั่งของพระภิกษุสงฆ์ สร้างให้อยู่สูงกว่าพื้นวิหาร เพื่อแยกพื้นที่ระหว่างสงฆ์และฆราวาส อยู่ทางด้านใต้ชิดผนังในห้องที่ 4-7 และมีธรรมาสน์ทรงปราสาท ใน บริเวณห้องที่ 5 ในห้องที่ 7 เป็นแท่นที่ประดิษฐานพระประธานติดด้านผนังสกัด

ส่วนกลาง : ผนังวิหาร เสาวิหาร แนวผนังวิหารก่ออิฐขนาดใหญ่ฉาบปูนหนาผิวไม่ เรียบสร้างจากฐานบัวคว่ำล้อมพื้นที่ภายในอาคารทำให้เป็นวิหารแบบทึบผนังแต่ละช่วงมีของแต่ละด้านมี ความสูงไม่เท่ากันแต่จะลดระดับตามการลดชั้นของหลังคา ผนังด้านหน้าสูงจรดขื่อหลวงเจาะประตูเข้าหลักประดับซุ้มโขงกลางผนัง มีช่องลมไม้กลึงแบบ ลูกมะหวดอยู ่สองด้านของประตูแต ่อยู ่ด้านนอกมุขหลังคาคลุมด้านหน้า ผนังสกัดหลังก่ออิฐสูงจรดอกไก่ โครงสร้างหลังคาไม่เจาะหน้าต่างประตูที่ผนังดังกล่าว ผนังด้านข้างทิศเหนือเจาะประตูทางเข้าบริเวณช่วงห้อง ที่ 6 โดยมีมุขบันไดหลังคาคลุม มีช่องลมลูกมะหวดไม้ที่ห้องที่ 1 และเจาะช่องหน้าต่าง 5 ช่อง 1 ช่องต่อ 1 ช่วงเสารวมทั้งช่องที่ 1 ซึ่งมีช่องลมอยู่ร่วมกับหน้าต่างผนังด้านข้างทิศใต้เจาะช่องลมลูกมะหวดไม้กลึงและ หน้าต่างช่วงเสาละ 1 ช่อง มีหน้าต่าง 6 ช่อง บานประตูหน้าต่างเป็นแผ่นไม้หนาไม่แกะสลักลวดลาย ภายในวิหารมีเสาหลวงเป็นเสาไม้กลมสองแถวแถวละ 6 ต้นสูงจรดขื่อหลวงและโครง สร้าง หลังคา ทาสีแดงและด ารอบโคนเสาปิดทอง ปลายเสาตกแต่งเป็นกลีบบัวยาวซ้อนชั้น

ส่วนบน : หลังคา โครงสร้างรับน้ำหนัก หลังคาวิหารมุงด้วยกระเบื้องดินเผาตามแบบโบราณ ที่เรียกว่า “กระเบื้องดินขอ” ไม่เคลือบ ผิว เป็นทรงจั่วหันหน้าไปในทิศตะวันออก หลังคาด้านหน้าลดสองชด ด้านหลังลดสองชด หลังคาที่มุขหน้าลด สองชดแต่ละชดแบ่งเป็นสองตับ ช่องว่างระหว่างตับหลังคาที่ลดใช้แผ่นไม้ปิดหลังคาทรงจั่วมีระบบโครงสร้างแบบ “โกม” หรือรูปแบบที่คล้ายกับระบบม้าต่างไหมของ ล้านนา โดยตั้งเสาหลวงจากพื้นขึ้นไปรับขื่อหลวงที่วางพาดบนหัวเสาแล้วตั้งเสาตุ๊กตารับขื่อโทต่อชั้นกันขึ้นไป ตามลำดับ และใช้เสาดั้งรับอกไก่ในจุดที่สูงที่สุดของโครงสร้างหลังคาทรงจั่ว โครงสร้างหลังคาปีกนกใช้ขื่อหลวงเสียบเข้ากับเสาหลวงแล้วใช้เสาสะโก๋นหรือเสาแนบแนบ ติดกับเสาหลวงยึดขื่อหลวงอีกด้านโดยพาดกับผนังวิหาร แล้วตั้งเสาตุ๊กตารับขื่อป๊อกใช้จันทันรับแปวางทอด แนวโดยรอบพื้นที่หลังคา พื้นหลังคาภายในปิดฝ้าเพดาน

วัดดอนมูล

วัดดอนมูล

มีรูปทรง และแผนผัง ลักษณะสถาปัตยกรรมไทลื้อแบบดั้งเดิม ด้วยคติไทลื้อ มีความเรียบง่าย มีเครื่องประดับตกแต่ง การเน้นบริเวณฐานชุกชี และ พระประฐานด้วยการประดับกระจกสี โครงสร้าภายในมีการตกแต่งน้อยเน้นทาสี ปูนปั้นบนหลังคามีคติแบบไทลื้ออย่างชัดเจน

องค์ประกอบทางโครงสร้าง

ส่วนล่าง : ฐานวิหาร

ฐานวิหารสร้างในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐฉาบปูนไม่เรียบเท่าที่ควร ยกสูงจากพื้นตกแต่งเป็นชั้นในรูปแบบของฐานบัวคว่ำลดสอบเข้าหาผนังวิหารประกอบด้วยบันไดนาคปูนปั้น ขึ้นสู่วิหาร ทั้งทางด้านหน้าทิศตะวันออกและด้านข้างทิศใต้ของตัววิหาร ภายในวิหารวัดดอนมูลประกอบด้วยอาสนะสงฆ์ อยู ่ทางด้านซ้ายในห้องที ่ 3 และ 4 ธรรมาสน์ทรงปราสาท ในห้องที่ 5 ของวิหารเป็นห้องที่ตั้งพระประธานบนฐานชุกชีมีพนักหลังสูงคล้ายเป็น บัลลังก

องค์ประกอบเครื่องไม้

หน้าแหนบ หรือหน้าบันหรือหน้าก้อง คือส่วนที่เปิดโครงของหลังคาทรงจั่วด้านหน้าวิหาร ของหลังคาทรงจั ่วชั้นบนท าเลียนแบบส่วนของขิ้อต่างๆ กรุแผ่นไม้ระหว่างช่องว่างของขื่อและเสาป๊อกไว้ เรียกว่า “ดอกคอหน้าแหนบ” หรือ “ขอบแว่นหน้าแหนบ” เป็นการแบ่งหน้าบันด้วยลูกฟักและปกล พร้อมทั้ง บรรจุไม้แกะสลักลายเป็นดอกประจำยามช่องละหนึ่งดอกและประดับแผ่นกระจกหรือ “กระจกจืน” ขนาด ใหญ่ สองแผ่นไว้บริเวณหน้าจั่วชายคา หรือ“แป้นน้ำย้อย” แกะสลักกนกปลายแหลมห้อยลงรอบทั้งสี่ด้านที่วิหารวัดดอนมูล ไม่ปรากฏนาคทัณต์ หูช้างหรือคันทวย

ส่วนกลาง : ผนังวิหาร

เสาวิหารแนวผนังก่ออิฐขนาดใหญ่ฉาบปูนมีความหนาไม่เท่ากันทาสีขาวสูง ไม่เท่ากันทั้งสี่ด้าน สร้างจากฐานสูงระดับเดียวกันจรดชายคาทรงตะคุ่มที่แผ่คลุมทั้งสี่ด้านล้อมพื้นที่ภายใน วิหารไม่ปรากฏแนวเสาในผนัง เจาะช่องหน้าต่างสี่เหลียมผืนผ้าขนาดเล็กเรียกว่า “เบ็งจอน” มีบานหน้าต่างไม้ แบบปิดเปิดไม่แกะสลักลวดลาย ไม่ประดับทั้งซุ้มหน้าต่างและประตูที่เชื่อมสัมพันธ์กับทางขึ้นสู่วิหารบันไดนาค ในทิศตะวันออกและทิศใต้ของตัววิหารภายในวิหารมีเสา 2 แถว ก่อฉาบปูนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 4 คู่ และเสาใหญ่กลม 1 คู่ ที่เหลือ จากการบูรณะ เสาภายในทั้งหมดรับน้ำหนักโครงสร้างส่วนหลังคาและท าหน้าที่ถ่ายน ้าหนักจากหลังคาไปสู่ แนวผนังของวิหาร

องค์ประกอบศิลปกรรมเครื่องปูน

ปูนปั้นรูปสัตว์ที่บริเวณสันหลังคาในต่ำแหน่งของช่อฟ้า หรือตัวโหง่ว (โง่) ประดับปูนปั้นรูป เศียรพญานาคทอดล าตัวยาวตามสันหลังคา ณ ที่กลางสันหลังคาปั้นปูนเป็นหางนาคสองตัวเกี่ยวกวัดกันชูหาง ขึ้นสูงปักครอบด้วยฉัตรโลหะในต าแหน่งหางหงส์คือส่วนที่ปลายแหลมของป้านลมทรงจั่วปั้นปูนเป็นรูปเศียร นาค ในส่วนมุมชายคาปั้นหยา (ปีกนก) ทั้งสี่ทิศประดับด้วยปูนปั้นนกหัสดีลิงค์, นาค, หงส์, เทพพนมราวบันได ปั้นปูนดิบเป็นรูปพญานาคทอดตัวจากผนังวิหารขนาบเป็นราวบันไดทั้งสองข้างลง สู่บันไดขั้นแรก เหมือนกันทั้งทางเข้าสู่วิหารด้านหน้าทิศตะวันออกและด้านข้างวิหารในทิศใต้ องค์ประกอบศิลปกรรมทั้งเครื่องไม้เครื่องปูนมักจะตกแต่งด้วยการระบายสี ลงรักปิดทอง และปิดกระจกสีที่เรียกว่า “กระจกจีน”

ส่วนบน : หลังคา

โครงสร้างรับน้ำหนักส่วนของหลังคารวมถึงเสาวิหาร หลังคาวิหารใช้แป้นเกล็ดเป็นวัสดุ มุงแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นล่างเป็นหลังคาปีกนกแผ่คลุมผนังสี่ด้านและถัดขึ้นไปเป็นทรงจั่ว มีหลังคาปีกนกขนาด เล็กมุงแผ่นดินขอปิดจั่วทั้งสองด้าน ปิดฝ้าเพดานโครงสร้างส่วนหลังคาทรงจั่วของวิหารวัดดอนมูลน่าจะ มี โครงสร้างแบบ “โกม” หรือรูปแบบที่คล้ายกับ ระบบม้าต่างไหม ตามอย่างโครงสร้างหน้าบัน

วัดร้องแง

วัดร้องแง

วัดไทลื้อลักษณะผสล้านนาจนเกือบดูไม่ออกเหลือโครงสร้างภายในและรูปแบบผังพื้นผนังโปร่งแบบไทลื้อไว้และมีโครงสร้างคานไม้ที่ยึดเสาหลวงไว้ด้วยกันเหมือนลักษณะโครงสร้างวิหารไทลื้อ เมืองสิง ผังมีทางเข้าออก 3 ทางเหมือนการวางผังแบบวิหารไทลื้อสิบสองปันนา, เมืองสิง และหลวงพะบางผังพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่ยกเก็จแต่หลังกลับเหมืนหลังคาของวิหารล้านนามากกว่าไทลื้อ ภายในเฉพาะฐานชุกชี และธรรมมาสปูน 8เหลี่ยมที่เป็นเอกลักษณะของวิหารไทลื้อโครงหลังคาเป็นแบบม้าต่างไหมของล้านนาคันทวยค้ำชายคาแบบไทลื้อ

องค์ประกอบทางโครงสร้าง

ส่วนล่าง :

ฐานวิหาร ฐานวิหารสร้างในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐฉาบปูน ยกสูงจากพื้น แบบหน้ากระดานตกแต่งเป็นฐานบัวคว่ำลดสอบเข้าหาแนวผนัง ประกอบด้วยบันไดหลักขึ้นสู่วิหารในทิศ ตะวันออกและที่ช่วงห้องสุดท้ายทั้งด้านใต้และด้านเหนือของวิหารภายในวิหารมีธรรมาสน์ไม้ทรงปราสาทในช่วงห้องที่ 6 ในห้องสุดท้ายของวิหารเป็นห้องที่ตั้ง พระประธานบนฐานชุกชีปูนปั้น อาสนะสงฆ์ ก่อปูนยกพื้นเป็นแท่นอยู่ทางด้านซ้ายชิดผนังของช่วงห้องที่ 4-5

ส่วนกลาง :

ผนังวิหาร เสาวิหาร ผนังวิหารส่วนล่างก่อจากฐานเป็นปูนทึบทาสีขาว ผนังส่วนบนก่ออิฐบล็อกโปร่ง สูงจรดหลังคาล้อมพื้นที่ภายในวิหารไม่มีช่องหน้าต่าง ผนังสกัดด้านหลังพระ ประธานก่อทึบจนถึงอกไก่ ในช่วงห้องที่ 8 ห้องสุดท้ายทั้งทิศใต้และทิศเหนือเจาะช่องผนังเป็นประตู สัมพันธ์ กับบันไดขึ้นวิหารทั้งสองด้าน ปรากฏเสาไม้สี่เหลี่ยมในแนวผนังและเสาหลวงภายในวิหาร(เสาไม้กลม) 2 แถว จ านวน 6 คู่ แบ่งช่วงห้องวิหารออกเป็น 8 ห้องและทำหน้าที่รับน ้าหนักโครงสร้างส่วนหลังคา ส่งถ่ายน ้าหนักจากหลังคาไปสู่แนวเสาในผนังของวิหาร

องค์ประกอบทางศิลปกรรม

แบ่งองค์ประกอบทางศิลปกรรมตามวัสดุการสร้าง คือ วัสดุที่เป็นไม้ และวัสดุที่เป็นปูน

องค์ประกอบเครื่องไม้

หน้าแหนบ ของวิหารวัดร้องแงใช้แผ่นไม้ตีปิดส่วนโครงสร้างหน้าจั่ว ประดับไม้ฉลุแกะสลัก เป็นลวดลายก้านขด มีเทพพนมที่มุมบนสุดของจั่วและในส่วนของหน้าจั่วปีกนกและสาหร่ายรวงผึ้งหรือโก่งกิ้ว โก่งคิ้ว ตกแต่งไม้แกะลายก้านขดร่วมกับลายเสมาธรรมจักรระบายสีบริเวณส่วนกลางที่แบ่งหน้าแหนบกับหน้า แหนบรวงผึ้งหรือที่เรียกว่า “ดอกคอหน้าแหนบ” ติดแผ่นกระจกหรือ “กระจกจีน” ในกรอบไม้คล้ายกระจก ส่องหน้าเรียงเป็นแถวเดียวตามแบบอย่างที่พบเห็นได้เกือบทุกวิหารไทลื้อ

นาคทัณต์หูช้างหรือคันทวย นอกจากทำหน้าที่รับน้ำหนักโครงสร้างส่วนชายคาลงมาที่ผนัง ข้างวิหาร ยังเป็นองค์ประกอบทางศิลปกรรมการตกแต่งที่เป็น จุดเด่นกล่าวคือนาคทัณต์ ดังนั้นแกะสลักรูปยักษ์ ลิง ครุฑ สัตว์หิมพานต์ ระบายสีตามแบบอย่างช่างฝีมือชาวบ้าน ภายในวิหารมีเครื่องสูง ไม้แกะสลัก ระบายสี จัดวางเสียบ กับราวไม้ไว้สองข้างพระประธาน ใน ความสูงระดับเดียวกับคานไม้ขนาดเล็กที่สอดยาวจากผนังสกัดด้านหลังพระประธาน ผ่านเข้ากับแนวเสาหลวง กลางวิหารไปถึงผนังด้านหน้าพระประธานเป็นระดับที่สูงกว่าแท่นพระประธานเล็กน้อย

ส่วนบน :

หลังคาโครงสร้างรับน้ำหนักหลังคาวิหารร้องแงเป็นทรงจั่วแบ่งเป็นสองตับด้านหน้าสองซด ด้านหลังหนึ่งซดมุงด้วยแผ่นไม้ “แป้นเกล็ด” หลังคาทรงจั่วมีระบบโครงสร้างแบบ “โกม” หรือรูปแบบที่คล้ายกับระบบม้าต่างไหมล้านนา

องค์ประกอบศิลปกรรมเครื่องปูน

แท่นพระประธาน ก่ออิฐฉาบปูนแบบฐานบัวคว่ำบัวหงายประดับกระจกสี่เหลี่ยมรอบฐานธรรมาสน์บุษบก ก ่อฐานปูนปั้นลวดลายฉลุสีทอง ตัวเรือนเป็นเครื่องไม้ปิดผนังครึ่งหนึ่ง หลังคาหนึ่งชั้น ซ้อนชั้นยอดแหลมตกแต่งลวดลายปิดทอง

วัดต้นแหลง

วัดต้นแหลง

มีรูปทรงสะดุดตา และ แสดงลักษณะทางสถาปัตยกรรมไทลื้อแบบดั้งเดิมได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะโครงสร้างหลังคาที่ซ้อน 3 ชั้นแห่งเดียว แสดงภูมิปัญญาของชาวไทลื้อได้ดีที่สุดในจำนวนกรณีศึกษาทั้ง 5 หลัง

องค์ประกอบทางโครงสร้าง

ส่วนล่าง :

ฐานวิหาร ฐานวิหารสร้างในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐฉาบปูนขนาด 7 ห้อง ยก สูงจากพื้นประมาณ 120 เซนติเมตรในรูปแบบของฐานบัวคว่ำ บัวหงายตกแต่งเป็นระดับซ้อนชั้นเลื่อมกันแบบ ขั้นบันไดทอดแนวยาวต่อเนื่องระดับเดียวกันโดยรอบลดสอบเข้าหาผนังวิหาร ฐานวิหารประกอบด้วยบันไดขึ้น สู่วิหารด้านหน้าในทิศตะวันออกและด้านข้างวิหารในทิศใต้และทิศเหนือ

ภายในวิหารประกอบด้วยแท่นอาสนะสงฆ์ อยู่ทางด้านใต้ชิดผนังในห้องที่ 5 และมีธรรมาสน์ ทรงปราสาท ในบริเวณห้องที่ 4 ในห้องที่ 6มีแท่นที่ประดิษฐานพระประธานและสามารถเดินอ้อมหลังพระ ประธานได้ในห้องที่ 7

ส่วนกลาง :

ผนังวิหาร เสาวิหาร แนวผนังก่ออิฐขนาดใหญ่ฉาบปูนหนาสร้างจาก ฐาน สูงจรดชายคาทรงตะคุ่มทั้งสีด้าน ล้อมพื้นที่ภายในวิหารไม่ปรากฏเสาในแนวผนังดังกล่าว ซึ่งเจาะเป็นช่อง หน้าต่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก ประตูทางเข้าหลักสู่ตัวอาคารทิศตะวันออก ทิศเหนือในช่วงเสาที่ 4 และทิศ ใต้ใน ช่วงเสาที่ 3 ทั้งหมดไม่มีซุ้ม บานประตูหน้าต่างเป็นแผ่นไม้หนาไม่แกะสลักลวดลาย ผนังทิศตะวันออกไม่มี ช่องหน้าต่าง แต่ผนังทิศตะวันตกด้านหลังพระประธานเจาะหน้าต่างตรงกลางผนัง1 ช่อง ผนังทุกด้านสูงเท่ากัน

เสาไม้กลม สีแดงไม่เขียนลายใน 2 แถว จ านวน 6 ต้นแบ่งช่วงเสาออกเป็น7 ห้อง ทำหน้าที่ รับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาถ่ายน้ำหนักฃไปสู่แนวผนังของวิหารตกแต่งปลายเสาเป็นรูปดอกบัวกลีบยาวคล้าย หอกว้อนกันสองชั้น

ส่วนบน :

หลังคา โครงสร้างรับน้ำหนัก โครงสร้างรับน้ำหนักคือส่วนของหลังคาวิหาร หลังคาปีกนก 2 ตับ คลุมทั้งสี่ด้านหลังคาตับที่ 3 เป็นหลังคาจั่วหันหน้าไปในทิศตะวันออก หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด หรือที่เรียกว่า“แป้นเกล็ด”โครงสร้างหลังคาใช้เสาหลวงตั้งขึ้นมารับอกไก่ อีกสองต้นด้านข้างรับโครงสร้างจั่ว ใช้จันทันไม้รับ แปและแปหัวเสา หลังคาปีกนกตับที่ 2 ถัดจากหลังคาจั่วลงมา ใช้จันทันรับแป ลาดลงมาจนถึง หัวเสาหลวง และผืนหลังคาปีกนกตับที่ 3 ใช้ขื่อเสียบเข้ากับเสาหลวง พาดกับผนังวิหาร และใช้จันทันรับแปวางทอดแนว โดยรอบพื้นที่หลังคา บริเวณช่องว่างระหว่างผืนตับหลังคาเปิดโล่งแทนที่จะเป็นแผงคอสองใช้ชายคาคลุมต่ำป้องกันฝนและแดดไม่ให้สาดเข้ามาภายในวิหาร

องค์ประกอบทางศิลปกรรม

องค์ประกอบเครื่องไม้

หน้าแหนบ หรือหน้าบัน หน้าก้องเป็นส่วนที่เปิดโครงของหลังคาด้านหน้าวิหารของหลังคา ทรงจั่วชั้นบน วิหารวัดต้นแหลงใช้แผ่นไม้ยาวตีแนวเฉียงตกแต่งเลียนแบบรัศมีของดวงตะวัน กรุปิดโครงสร้าง หน้าจั่วทั้งด้านทิศตะวันออกและในทิศตะวันตกแล้วระบายสีในตำแหน่งของคอสองหน้าแหนบตีไม้แบ่งช่อง เลียนแบบช่องลูกฟัก ภายในประดับดอกไม้แกะสลักช่องละหนึ่งดอก

ช่อฟ้า สลักไม้เป็นรูปช่อฟ้าแบบภาคกลาง

หางหงส สลักแผ่นไม้เป็นรูปพญานาคติดประกอบกันสามเศียร ที่ทอดตัวตามป้านลมห้อย เศียรมาที่หางหงส์

ชายคา แกะสลักไม้แผ่นแหลมคล้ายหอกระบายสีติดรอบชายคาชั้นที่ 2 และ 3 ที่วิหารวัดต้นแหลง ไม่พบนาคทัณต์ หูช้างหรือคันทวย รับน้้ำหนักโครงสร้างส่วนชายคาลงมา ที่ผนังข้างวิหาร

องค์ประกอบศิลปกรรมเครื่องปูน

สิงห์ปูนปั้น หนึ่งคู่ตั้งอยู่ในต่ำแหน่งข้างราวบันไดทางขึ้นวิหารในทิศตะวันออก ดวงตากลม อ้าปากกว้างอยู่ในท่านั่ง แผงคอยาวสะบัดไปด้านหลัง

แท่นพระประธาน ก่ออิฐฉาบปูนทรงสี่เหลี่ยมยกพื้นสูงไม่มีการก่อลดขั้นแบบฐานบัวแต่อย่าง ใด ด้านหลังพระประธานมีพนักปูน ฐานแท่นตกแต่งกระจกจีนเฉพาะด้านหน้าเป็นรูปดอกไม้แปดกลีบขนาด ใหญ่

ธรรมาสน์บุษบก ก่อฐานปูนปั้นลวดลาย ประดับกระจกสี่เหลี่ยมบานใหญ่สลับสี และรูปนก ปูนปั้นตัวเล็กๆที่มุมตัวเรือน หลังคาเครื่องไม้ซ้อนชั้นยอดแหลม ตกแต่งปิดทอง

ราวบันได ก่อปูนตกแต่งแบบเม็ดบัวหัวเสาลดปริมาตรแบบขั้นบันไดสัมพันธ์กับรูปแบบฐาน วิหาร

วัดหนองแดง

วัดหนองแดง

มีรูปทรงด้านหน้าเรียบง่าย แสดงลักษณะทางสถาปัตยกรรมไทลื้อแบบด้งเดิมได้ดี มีอิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนา โครงสร้างภายในเป็นแบบไทลื้อแต่มีความคล้ายกับแบบล้านนา ช่อฟ้า และ การประดับตกแต่งหน้าบัน เป็นแบบไทลื้อไม่ใช่ล้านนาผนังทึบสูงด้านทิศตะวันตก หรือด้านหลังวิหารซึ่งเป็นด้านหลังของพระประฐานด้วย

องค์ประกอบทางโครงสร้าง

ส่วนล่าง :

ฐานวิหาร ฐานวิหารมีผังสีเหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐฉาบปูนขนาด 6 ห้อง ยกสูงจาก พื้น แบบฐานเขียงหน้ากระดานชั้นบนเป็นแบบบัวคว่ำลดสอบเข้าหาผนังหนึ่งชั้นทอดแนวยาวต่อเนื่องกันรอบ วิหาร ประกอบด้วยบันไดเตี้ยเข้าสู่วิหารด้านหน้าอันเป็นทางเข้าหลัก ในทิศตะวันออกซึ่งต่อมุข 1 ห้อง และที่ ข้างวิหารในทิศเหนือ ทิศตะวันตกด้านหลังพระประธาน

ภายในวิหารแบ่งเป็น 6 ห้อง ตามการแบ่งของช่องเสา ประกอบด้วยแท่นอาสนะสงฆ์อยู่ ทางด้านใต้ชิดผนังในห้องที่ 2-5 ตั้งธรรมาสน์ทรงปราสาท ในบริเวณห้องที่ 4 ในห้องที่ 5 ประดิษฐานพระ ประธานบนแท่นแก้ว บัลลังก์นาค และห้องที่ 6 เป็นพื้นที่ว่างสามารถเดินอ้อมด้านหลังพระประธานทะลุออก ประตูด้านหลังในทิศตะวันตกได

ส่วนกลาง :

ผนังวิหาร เสาวิหาร แนวผนังที่ล้อมพื้นที่ภายในวิหารก่ออิฐขนาดใหญ่ ฉาบปูนหนาสร้างจากฐานสูงจรดชายคาทรงตะคุ่ม คลุมทั้งสี่ด้านในแนวผนังดังกล่าวทาเสาหลอก กลางผนัง ด้านทิศตะวันออก ด้านทิศตะวันตกและช่วงเสาห้องที่ 3 ด้านทิศเหนือเจาะเป็นช่องประตู มีช่องหน้าต่าง สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กทุกช่วงเสาๆละ 1 ช่องผนังทิศตะวันออกมีช่องหน้าต่างสองช่องขนาบข้างประตู ทางเข้า

ทั้งหมดไม่มีซุ้ม บานประตูหน้าต่างเป็นแผ่นไม้หนาไม่แกะสลักลวดลาย ภายในมีเสาไม้กลม หรือเสาหลวงตกแต่งลวดลายสีทองฉลุ 2 แถวๆละ 5 ต้น ทำหน้าที่รับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาถ่ายน้ำหนักไปสู่ แนวผนังของวิหาร

ส่วนบน :

หลังคา โครงสร้างรับน้ำหนัก คือส่วนของหลังคาวิหาร หลังคาปีกนก คลุมทั้ง สี่ด้านชั้นบนเป็นหลังคาทรงจั่วหันหน้าไปในทิศตะวันออก หลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้ปลายมน หรือที่เรียกว่า “แป้นเกล็ด”

หลังคาทรงจั่วใช้ระบบโครงสร้างแบบ “โกม” หรือรูปแบบที่คล้ายกับ ระบบม้าต่างไหมของ ล้านนา ใช้เสาหลวงตั้งขึ้นมารับขื่อหลวง แล้วตั้งเสาตุ๊กตาขึ้นไปรับขื่อโทตามลำดับ โครงสร้างจันทันใช้ขื่อเสียบ บนเสาหลวงแล้วพาดกับผนังวิหาร และใช้จันทันรับแปที่วางทอดแนวโดยรอบพื้นที่หลังคาปีกนก บริเวณ ช่องว่างระหว่างผืนตับหลังคาปิดเป็นแผงคอสองป้องกันฝนและแดดไม่ให้สาดเข้ามาภายในวิหาร

องค์ประกอบทางศิลปกรรม

แบ่งองค์ประกอบทางศิลปกรรมตามวัสดุการสร้าง คือ วัสดุที่เป็นไม้ และวัสดุที่เป็นปูน

องค์ประกอบเครื่องไม้

หน้าแหนบ ส่วนที่เปิดโครงของหลังคาด้านหน้าวิหาร ของหลังคาทรงจั่วชั้นบนวิหารวัดหนอง แดงใช้แผ่นไม้ตีตามยาวในแนวตั้งกรุปิดโครงสร้างหน้าจั่วทั้งด้านทิศตะวันออกและในทิศตะวันตก หน้าบันทิศ ตะวันออกตกแต่งเลียนแบบช่องลูกฟักแบบ “ขอบแว่นหน้าแหนบ” ประดับดอกลอยช่องละหนึ่งดอก ยกเว้น ช่องกลางประดับกระจกจีนแผ่นเล็กคู่กันสองแผ่นช่อฟ้า แกะสลักไม้เป็นรูปสัตว์ผสมระหว่างหงส์กับช้างที่เรียกว่า “นกหัสดีลิงค์”หางหงส์สลักไม้แผ่นเป็นรูปพญานาคและแป้นน้ำย้อยแกะสลักแผ่นไม้เป็นรูปกนกคล้ายใบหอกห้อยยาวรอบชายคาวิหารตกแต่งด้วยการระบายสีนาคทัณต์อาจเรียกว่าหูช้างหรือคันทวยองค์ประกอบที่ใช้รับน้ำหนักโครงสร้างส่วนชายคา ลงมาที่ผนังข้างวิหาร สลักเป็นรูปสัตว์ หนุมาน ครุฑ นาคทันต์ เทวดา ประกอบลายพรรณพฤกษา

องค์ประกอบศิลปกรรมเครื่องปูน

แท่นพระประธาน ก่ออิฐฉาบปูนมีพนักด้านหลังพระประธาน ปั้นประดับนาคปูนปั้นสองตัว เลื้อยลงมาจากพนักด้านหลังแล้วชูเศียรสูงด้านข้างพระประธาน ด้านหลังพนักสูงดังกล่าวมีภาพวาดจิตรกรรมที่ มีรูปแบบใกล้เคียงกับภาพวาดที่วัดภูมินทร์ในอำเภอเมืองน่านและที่วัดหนองบัว รอบแท่นพระประธานแต่ง กระจกจีนและงานปั้นปูนธรรมาสน์บุษบก ก่อฐานปูนปั้นลวดลาย ประดับกระจกสี่เหลี่ยมบานใหญ่สลับสี และรูปนก ตัวเล็กๆที่มุมตัวเรือนเป็นเครื่องไม้หลังคาซ้อนชั้นยอดแหลม ตกแต่งปิดทองราวบันได ก่อปูนตกแต่งแบบเม็ดบัวหัวเสาข้างวิหารในทิศเหนือ

องค์ประกอบ เรือนไทลื้อ จังหวัดน่าน

เสาแหล่งหมา

เป็นเสาโครงสร้างสูงจากพื้นถึงอะเสของเรือนตำเเหน่งอยู่ตรงบันไดหลัก ของเรือน ซึงของชาวไทลื้อในสิบสองปันนา นิยมผูกสุนัขไว้เฝ้าบ้าน

ชานเเล้ง หรือ จานเเล้ง

เป็นส่วนชาน อยู่ในตำแหน่งเมื่อขึ้นเรือน ในส่วนนี้เเบ่งออกเป็นสองส่วน สังเกตุได้จากการตีเว้นร่องพื้นที่ห่างประมาร2 นิ้ว อยู่ในตำเเหน่งจานเเล้งโดยพื้นที่นี้มีหน้าที่ใช้สอยเเขกผู้มาเยือน และใช้เป็นพื้นที่ในการไปสู้พื้นที่อื่นๆภายในตัวเรือน โดยไม่มีหลังคากั้น

ชาน หรือ จาน

พื้นที่ ที่อยู่ติดกับจานเเล้ง อยู่ตรงตำแหน่งติดกับบันได มาสู่ตัวเรือน จุดสังเกตุคือ ตีพื้นเรือนชิด อยู่ใต้ชายคาเเละมีหลงคาคลุม ใช้เป็นพื้นที่ก่อนเข้าเรือน

หัวเเท่น

พื้นที่ยกระดับจากชานเรือน มักอยู่ตืดกับทางขึ้นเรือนเเละมีบันไดกั้นระหว่างบันไดเรือน เเละผนังภายนอก นิยมใช้เป็นที่พักของเเขกและที่นอนของลูกชายเมื่อกลับบ้านตอนดึก ขนาดของพื้นที่มีเเค่เพียงพอต่อการปูเสื่อนอน

หัวเเท่น

พื้นที่ยกระดับจากชานเรือน มักอยู่ตืดกับทางขึ้นเรือนเเละมีบันไดกั้นระหว่างบันไดเรือน เเละผนังภายนอก นิยมใช้เป็นที่พักของเเขกเเละที่นอนของลูกชายเมื่อกลับบ้านตอนดึกขนาดของพื้นที่มีเเค่เพียงพอต่อ การปูเสื่อนอน

ชานเรือน หรือ จานเรือน หรือ โถงเรือน

งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ล้านนา นิยมเรียกส่วนนี้ว่าเติ่น เป้นส่วนเชื่อมพื้นที่บนเรือน พื้นที่นี้ใช้สัญจรภายในเรือน

ชานน้อย หรือ จานน้อย

เป็นพื้นที่ชานขนาดเล็กอยู่หลังเรือน พื้นที่ส่วนนี้มักมีการบากพื้น เป็นร่องขนาดเล็ก พื้นที่นี้ในอดีตใช้เป้นที่ขับถ่ายของสตรี ใน ตอนกลางคืน เพื่อความสะดวก

บันไดรอง หรือ  คะได หรือ ขั้นได

เป็นบันไดหลังบ้าน อยู่อยู่ติดกับเเม่ดตาไฟ เมื่อขึ้นมาพบชานเรือน ใช้เปนพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร

เล้าข้าว หรือ ยุ้งข้าว

เป็นพื้นที่เก็บข้าว ขนาดสูงกว่าพื้นเรือน มีโครงสร้างพื้นที่หนาเเน่นกว่าพื้นเรือน ใช้เป็นพื้นที่เก็บข้าวของเกษตร เเละงานช่าง มักเป็นพื้นที่เปิดโล่ง

หิ้งบูชาข้าว

ใช้ในการบูชาข้าว หรือ สิ่งของต่างๆ ตามความเชื่อ มักอยู่ในบริเวณ ชาน หรือ หัวเเท่น ของเรือน

ฮ้างน้ำ

ตำแหน่งวาง หม้อน้ำ สำหรับดื่ม วางไว้ที่เดียวกับชานสำหรับต้อนรับเเขก

ส่วนนอน

เป็นพื้นที่บนเรือน มีผนังปิดกั้น มีมุ้ง มุ้งเป็นสีดำ เกิดจากควันของเเม่เตาไฟ ในอดีตทุกคนนอนรวมในห้องเดียว

จากการค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งเอกสารเเละการสำรวจ ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ในบทความนี้ พบการศึกษาทางสถาปัตยกรรมไทลื้อในภาคเหนือ ของไทย

และ ในจังหวัดน่าน จำนวน 14 เรือน โดยแบ่งเป็นเรือนที่ได้จากการค้นคว้าทางเอกสาร จำนวน 7 เรือน ภาพที่ จากการลงพื้นที่สำรวจ จำนวน 7

เรือนโดยเมื่อนำมาศึกษา ถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ และ ขนาดสัดส่วนของพื้นที่ ในแต่ละรือนไทลื้อ โดยสามารถแบ่งการใช้พื้นท

ลักษณะเด่น วิหารไทลื้อ จังหวัดน่าน ผ่าน วิหารวัดหนองบัว วัดดอนมูล วัดร้องแง วัดต้นแหลง วัดหนองแดง

จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและจากการสำรวจศึกษาวิหารไทลื้อ 5 หลัง ได้แก่ วิหารไทลื้อวัดดอนมูล อำเภอท่าวังผา วิหารไทลื้อวัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา

วิหารไทลื้อวัดต้นแหลง อำเภอปัว วิหารไทลื้อวัดร้องแง อำเภอปัว และวิหารวัดหนองแดง อำเภอเชียงกลาง เปรียบเทียบเพื่อหาเอกลักษณ์โดยใช้

กรณีศึกษาวิหารไทลื้อในเมืองสิงแขวงหลวงจำนวน 3 หลัง ได้แก่ วิหารวัดบ้านมอน วิหารวัดน้ำแก้วน้อย วิหารวัดเชียงใจและวิหารไทลื้อวัดปากคาน

วัดทาดหลวง ในเมืองหลวงพะบาง แขวงหลวงพะบางในการเปรียบเทียบรูปแบบวิหารไทลื้อแบบดั้งเดิมและการพัฒนาของวิหารไทลื้อสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังน

ลักษณะที่ตั้งและการจัดวางผังอาคาร

การสร้างวิหารทั้ง 5 หลัง สร้างในแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก โดยหันหน้าทางทิศตะวันออก วิหารตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาส ลักษณะผังวิหารเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าผนังด้านสกัดกว้าง 1 ช่วงเสา และมีปีกนกทั้ง 2 ข้าง ขนาดยาว 7 ห้อง ได้แก่ วิหารวัดต้นแหลง วิหารวัดร้องแง วิหารวัดหนองบัว ผนังอาคารมีการเจาะช่องหน้าต่างขนาดเล็กเปิดประตูหลายด้านวิหารวัดหนองแดงเปิดประตูด้านหลังพระประธานวิหารวัดดอนมูลเคยมีประตูด้านหลังพระประธานแต่ปิดไป

รูปแบบของวิหาร

รูปแบบวิหารไทลื้อทำการศึกษาแบ่งได้ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นวิหารทรงฮ่างหงส์ ลักษณะวิหารมีรูปทรงเตี้ยหลังคาคลุมต่ำคล้ายลักษณะอาการของหงษ์ที่กางปีกปกป้องลูก ผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังคาปีกนกคลุม 4 ด้าน ซ้อนชั้นบนสุดด้วยหลังคาจั่ว ได้แก่ วิหารวัดดอนมูล วิหารวัดต้นแหลง วิหารวัดหนองแดงกลุ่มที่สองเป็นวิหารทรงโรง ลักษณะผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาจั่วเปิดซ้อน 2 ตับ หลังคาคลุมต่ำ มีผนังเตี้ยมีมุขโกงด้านหน้า ตัววิหารยกสูง ลักษณะคล้ายวิหารล้านนา ได้แก่ วิหารวัดหนองบัว วิหารวัดร้องแง

การจัดพื้นที่ในวิหาร

การจัดพื้นที่ภายในวิหารไทลื้อขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ส่วนฐานชุกชี หรือแท่นพระประธาน เป็นแท่นปูนลอยตัวอยู่ในช่วงเสากลางก่อนห้องสุดท้าย บางวิหารมีผนังด้านหลังพระประธาน เช่น ที่วิหารวัดหนองแดง แบบตั้งแท่นแก้วชิดผนังด้านหลังวิหารภายในวิหารวัดร้องแงและวิหารวัดหนองบัวด้านขวาของแท่นพระประธาน หรือฐานชุกชีจะมีธรรมาสน์สำหรับสงฆ์ขึ้นเทศน์ และมีแท่นยาวเป็นอาสนสงฆ์ชิดผนังด้านขวาถัดจากธรรมาสน์ พื้นที่กลางวิหารด้านหน้าพระประธานเป็นพื้นที่ของฆราวาสประกอบศาสนกิจ ประตูทางเข้าวิหารพบมีตั้งแต่ 2 ประตูขึ้นไป ได้แก่ ประตูทางเข้าด้านหน้าสำหรับทางเข้าวิหารหลักด้านทิศตะวันออก วิหารวัดหนองแดงเป็นวิหารที่มีประตูทางเข้า3ด้านคือด้านหน้าทิศตะวันออกด้านหลังพระประธานทิศตะวันตกและด้านทิศเหนือ

ลักษณะโครงสร้างของวิหาร

โครงสร้างวิหารไทลื้อ เป็นแบบเสาและขื่อคานร่วมกับผนังรับน้ำหนัก เนื่องจากวิหารไทลื้อต้องการที่ว่างภายในขนาดใหญ่ เพื่อการใช้พื้นที่ภายในทำให้โครงสร้างหลังคามีขนาดใหญ่ ใช้เทคนิคในการก่อสร้างแบบไทลื้อที่นำภูมิปัญญาในการก่อสร้างมาจากถิ่นฐานเดิมผสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นใหม่ เพื่อต้องการก่อสร้างรูปแบบของหลังคาที่เน้นรูปลักษณ์ภายนอกให้เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาตามคติธรรมความเชื่อที่นิยมวิหารไทลื้อในจังหวัดน่านทุกหลังมีโครงสร้างหลังคาเป็นไม้ โดยใช้เสาหลวงขนาดใหญ่รับน้ำหนักขื่อโครงสร้างหลังคาจั่ว กลางวิหารที่เน้นทรงจั่ว บางแห่งมีเสายกเก็จผนังช่วยรับน้ำหนักหลังคาปีกนกด้านข้าง บางแห่งใช้ผนังทั้งผืนรับน้ำหนักซึ่งเป็นวิธีการแบบล้านนาถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานของตัววิหาร บางแห่งมีการใช้ค้ำยันช่วยในการรับน้ำหนักชายคา เช่น วิหารวัดหนองแดง , วิหารวัดร้องแงวิหารแบบฮ่างหงส์มีลักษณะหลังคาที่ซ้อนจั่วไว้ด้านบนด้านล่างเป็นหลังคาปีกนกคลุมรอบวิหาร ทั้ง 4ด้าน โครงสร้างหน้าจั่วมีระบบโครงสร้างที่ใช้แปรางบนหัวเสาหลวง และตั้งตุ๊กตารับขื่อโท ลักษณะ คล้ายโครงสร้างม้าต่างไหมของล้านนาซึ่งพบในวิหารวัดดอนมูล วิหารวัดหนองแดง ในกรณีวิหารวัดต้นแหลงนั้นเป็นหลังคาซ้อนชั้น 3 ชั้น เป็นโครงสร้างแบบพิเศษโดยชั้นบนสุดเป็นจั่วชั้นล่างเป็นหลังคาปีกนก ซ้อนกัน 2 ชั้น โดยมีคอสองเชื่อมระหว่างหลังคาจั่ว และปีกนกระบบโครงสร้างวิหารแบบทรงโรงหรือวิหารที่มีอิทธิพลวิหารล้านนา หลังคาใช้โครงสร้างระบบโมคือการวางขื่อหลวงพาดหัวเสารับน้ำหนักขื่อ ตามลำดับมีลักษณะคล้ายม้าต่างไหมของล้านนาผนังวิหารก่ออิฐฉาบปูนเปิดช่องหน้าต่างขนาดเล็ก เพราะต้องการใช้ผนังช่วยรับน้ำหนักของ โครงสร้างหลังคาปีกนก ในการศึกษาพบการทำผนังเตี้ยด้านบนโปร่งเป็นไม้ ใช้เสารับโครงสร้างปีกนกแทน ผนังที่วิหารวัดร้องแง ทำให้ผนังวิหารวัดร้องแงโปร่งกว่าวิหารอื่น การระบายอากาศดีกว่า พบขื่อไม้สี่เหลี่ยม ในแนวผนังและเสาหลวงในแนวยาวยึดเสา 6 คู่

องค์ประกอบศิลปกรรมและการตกแต่ง

วิหารไทลื้อทั้ง 2 กลุ่ม มีองค์ประกอบการตกแต่งที่คล้ายคลึงกัน โดยการสื่อความหมายถึงสวรรค์ และเพื่อถ่ายทอดคติความเชื่อคำสอนออกมาเป็นสื่อสัญลักษณ์ บันไดทางขึ้น วิหารทั้งบันไดนาคที่วิหารวัด ดอนมูลและวิหารวัดต้นแหลงพร้อมด้วยสิงห์ปูนปั้นคล้ายแบบพม่า สิงห์หน้าวิหารวัดหนองบัวมีลักษณะ คล้ายแบบภาคกลางบันไดตัวเหงาพบที่วิหาร วัดร้องแงเป็นแบบที่นิยมในล้านนาองค์ประกอบเครื่องบนส่วนประดับหลังคาช่อฟ้าหรือโหง่ว วิหารไทลื้อจังหวัดน่านใช้เป็นนาคเป็น ปูนปั้นและไม้แกะสลักสันหลังคาวิหารวัดดอนมูล เป็นลำตัวพญานาคทอดยาวตามสันหลังคา ปลายหาง เกี่ยวพันกลางหลังคาวิหารมีฉัตรปักด้านบน หางหงส์ที่พบเป็นรูปนาคส่วนมุมสันหลังคาวิหารวัดดอนมูลมี การประดับเป็น ปูนปั้นรูปนาค นกหัสดีลิงค์ หงส์ และเขาพนม วิหารวัดต้นแหลง มีการประดับด้วยนาคสาม เศียร หน้าจั่วมีทั้งแบบที่รับอิทธิพลล้านนาที่วิหารวัดต้นแหลงพบได้ที่วิหารในสปป.ลาวภายในวิหารมีการประดับหัวเสาด้วยบัวสีทองมีการทำลวดลายปิดทองประดับกระจกสีแท่นพระ หรือฐานชุกชี มีการตกแต่งดาวเพดาน ตกแต่งคอสอง มีการเขียนภาพจิตรกรรมพบ ที่วิหารวัดหนองบัว ธรรมาสน์ปูนปั้นพบการปั้นปูนประดับกระจกสีวิหารไทลื้อทรงฮ่างหงส์ เช่น วิหารวัดดอนมูล วิหารวัดหนองแดง วิหารวัดต้นแหลง ชั้นหลังคาประดับสัตว์ใน สวรรค์หรือหิมพานต์ตั้งแต่ช่อฟ้า สันหลังคา หางหงส์เป็นเครื่องหมายแสดงเครื่องหมายของ จักรวาลตามคติของชาวไทลื้อ การซ้อนหลังคาปีกนกและทรงจั่วไม่โค้งเหมือนไทลื้อในหลวงพะบาง และ หลวงน้ำทา วิหารกลุ่มนี้ยกฐานอาคารสูง ผนังก่ออิฐรอบอาคารจรดขื่อโทหรือก่อสูงเต็มผนัง ใช้ผนังรับ น้ำหนักชายคาปีกนก ซ้อนหลังคาปีกนกและหลังคาทรง จั่วที่มีโครงสร้างแบบโกม หลังคาไม่ซ้อนชั้นมากเหมือนในเขตสิบสองปันนา ไม่มีเสาโตนอย่างวิหารไทลื้อสิบสองปันนาแต่เหมือนวิหารไทลื้อในหลวงพะบาง แสดงแรงบันดาลใจจาก รูปแบบและคติความเชื่อเดิมจากรูปแบบวิหารไทลื้อสิบสองปันนา แต่พัฒนาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นรูปแบบวิหารไทลื้อจังหวัดน่าน

ส่วนวิหารไทลื้อทรงโรงเช่น วิหารวัดหนองบัว วิหารวัดร้องแงเป็นวิหารไทลื้อทรงโรงที่พบในชุมชน ชาวไทลื้อเฉพาะจังหวัดน่านเท่านั้น ไม่นิยมสร้างวิหารทรงนี้ในสิบสองปันนาและหลวงพะบางด้วยรูปแบบการก่อฐานสูงในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าผนังวิหารทึบหลังคาปีกนกคลุมต่ำ ซ้อนหลังคาลดหน้า-หลัง 1 ซด ซ้อน กัน 2 ตับใช้ระบบโครงสร้างโกมคล้ายวิหารล้านนาที่ใช้โครงสร้างม้าต่างไหม สะท้อนให้เห็นแรงบันดาลใจ และอิทธิพลทางรูปแบบวิหารล้านนาบางส่วนรูปแบบและคติความเชื่อของชาวไทลื้อในสถาปัตยกรรมวิหารไทลื้อจังหวัดน่านแสดงเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นแบบเดียวกับวิหารในเมืองน่าน

ดาวน์โหลดแบบ วิหารไทลื้อ



Nanecotourism