Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

ประวัติความเป็นมา ชุมชนไทลื้อ จังหวัดน่าน

ประวัติความเป็นมา ชุมชนไทลื้อ จังหวัดน่าน

จากการศึกษาวรรณกรรม การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ผลจากการท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน และ การเปลี่ยนแปลงทางด้าน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น’’ทำให้ พบว่า การท่องเที่ยวส่งผลต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่ดีขึ้น มีการยกระดับคุณภาพชีวิต ในแง่ ระบบสาธารณูปโภค ที่ครบครั้นและเมื่อมีการท่องเที่ยวที่มากขึ้น กลับส่งผลให้ อัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเปลี่ยนแปลงไป จนมองไม่พบ อัตลักษณ์เดิมทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเดิม

โดยจากการศึกษาทางเอกสารพบว่า องค์ประกอบต่างๆที่มีเปลี่ยนแปลง คือ รูปทรงของหลังคา , พื้นที่ใช้สอยภายในและภายนอกตัว, วัสดุในการก่อสร้าง เปลี่ยนแปลงเกิดจาก การพัฒนาด้านจิตใจของชุมชน ซึ่งเป็นนามธรรมตามไม่ทัน

จากที่ศึกษาวรรณกรรมต่างๆ พบว่า การสวนทางกันระหว่าง การพัฒนาจากการท่องเที่ยว ที่ส่งผลในทางลบต่อ การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นหากสังเกตในเรื่องการท่องเที่ยว การศึกษา เป็นการท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรมในการศึกษาเป็นหลักผลกระทบทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

วิถีชีวิตและประเพณีชาวไทลื้อ จ.น่าน

ชาวไทลื้อที่จังหวัดน่าน นับถือผี ควบคู่ไปกับศาสนาพุทธ เช่นเดียว กับชาวไทยวนการนับถือผี มีความผูกพันกับวิถีชีวิตมากกว่าศาสนาพุทธ มีหมอผีเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม เมื่อต้องเดินทางต้องบอกกล่าวผีหมู่บ้าน เพื่อขอความคุ้มครองเมือง

ความเชื่อของชาวไทลื้อที่ บ้านดอนมูลและบ้านต้นย่าง มีลักษณะพิเศษคือได้นำผีบ้านผีเมืองมาจากเมืองเดิมมาทำพิธีกรรมบวงสรวงผีเจ้าหลวงเมืองล้าด้วยประเพณีอยู่กรรม ที่เริ่มต้นในฤดูเก็บเกี่ยวสามปีต่อครั้ง ห้ามคนในออก คนนอกเข้าหมู่บ้าน

ประเพณีที่สำคัญของชาวไทลื้อคล้ายชาวเผาไท คือ มีประเพณีเรียกขวัญ การส่งเคราะห์ การสืบชะตาคน การสืบชะตาบ้าน การบูชาเทียน

ชาวไทลื้อมีความโดดเด่นเรื่องหัตถกรรม อดีต  ฝ่ายชายจะผลิตเครื่องจักสาร  ฝ่ายหญิงจะทอผ้า

ชุมชนชาวลื้อ มักจะอาศัยเส้นทาง 4 สาย ในลักษณะเคลื่อนลงใต้  ได้แก่

สายที่ 1 เข้าสู่ประเทศพม่า แถบเมืองยอง, เมืองผู้, เมืองหลวง, เมืองเชียงลาบ, เมืองไร, เมืองพะยาก, เมืองโก, เมืองโต้น, เมืองเลน, เชียงตุง

สายที่ 2 เข้าสู่เมืองหลวย,เมืองเชียงลาบ,เมืองไร,เมืองพะยาก,เมืองโก,เมืองโต๋น,เมืองเลน,เชียงตุง ประเทศเวียดนามที่เมืองบินลูห์,เมืองแทนและบริเวณฝั่งตะวัน ตกของแม่น้ำดำตามแนวพรมแดนติดกับจีน

สายที่ 3 เข้าสู่ประเทศลาวเช่น เมืองหลวงภูคา,เมืองเงิน เป็น

สายที่ 4 คือ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ในจังหวัดเชียงราย,เชียงใหม่,ลำพูน,ลำปาง,พะเยา,น่านแพร่

ในส่วนการย้ายถิ่นฐานที่ชัดเจนของชาวไทลื้อ ที่เข้ามาสู่ประเทศไทย ก็เมื่อ พ.ศ.2347 หรือ ต้นรัตนโกสินทร์ โดย ชนชาวไทลื้อในจังหวัดน่าน นั้น ส่วนใหญตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่

- อำเภอเมือง ที่ตำบลดูพงษ์

- อำเภอท่าวังผา ที่ตำบลศรีภูมิ,ตำเลสบยม,ตำบลจอมพระ,ตำบลแสงทอง ได้แก่บ้านแฮะ บ้านฮวก ในส่วนตำบลป่าคา ได้แก่ บ้านต้นฮาง และบ้านหนองบัวอำเภอปัว ที่ตำบลวรนครได้แก่ บ้านร้องแง,บ้านมอน,บ้านดอนแก้ว,บ้านติ๊ด,บ้านขอน ที่ตำบลศิลาแลง ได้แก่ บ้านตีนตุ๊ก , บ้านดอนไชย,บ้านศาลา,บ้านหัวน้ฎ และที่ตำบลศิลาเพชรได้แก่บ้านาคำ,บ้านป่าตอง,บ้านทุ่งรัตนา

- อำเภอเชียงกลาง ที่ตำบลยอดได้แก่ บ้านปางสา,บ้านผาสิงห์,บ้านผาหลัก,บ้านยอด

- อำเภอทุ่งช้าง ที่ตำบล งอบ ได้แก่ บ้านใต้ร่มโพธิ์ทอง , บ้านงอบเหนือ , บ้านงอบใต้ และในตำบลหอน ได้แก่ บ้านห้วยโก๋น ,บ้านห้วยสะแกง,บ้านเมืองเงิน และ ในตำบลแพะได้แก่ บ้านห้วยเต๋ย ,บ้านสะหลี

แบบวิหาร

แบบเรือน

ดาวน์โหลดแบบ เรือนอนุรักษ์


จากการค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งเอกสารและการสำรวจ ทางสถาปัตยกรรมพื้นที่ พบการศึกษาทางสถาปัตยกรรมใกล้ในภาคเหนือของไทย และในจังหวัดน่าน จำนวน 14 เรือน โดยแบ่งเป็นเรือนที่ได้จากการค้นคว้าทางเอกสาร จำนวน 7 เรือน ภาพที่ จากการลงพื้นที่สำรวจ จำนวน 7 เรือน โดยเมื่อนำมาศึกษาถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ และ ขนาดสัดส่วนของพื้นที่ ในแต่ละเรือนใกล้เคียง โดยสามารถแบ่งการใช้พื้นที่


Nanecotourism