Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

วัฒนธรรมชาวขมุ จังหวัดน่าน

ชาวขมุเป็นกลุ่มชาติพันธ์หนึ่งที่อาศัยบริเวณชายแดน จังหวัดน่าน อยู่บริเวณทางเหนือ ของประเทศไทย ทางเหนือของเวียดนาม
ทางเหนือและทางใต้ของประเทศลาวชาวขมุแบ่งเป็นหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะวัฒนธรรมความเป็นอยู่การปฎิบัติตน
เช่น การแต่งกาย พิธีกรรมต่างๆ แตกต่างกัน ขมุแปลว่า คน เป็นคำที่ชาวขมุใช้เรียกตนเอง
คำว่า ขมุ จึงเป็นทั้งชื่อของเผ่าและภาษา ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ของชาวขมุ
มีคำที่เรียกชาวขมุอยู่ 2 คำ
คือคำว่า ข่า หมายถึง ข้า ทาส ผู้รับใช้ เป็นคำที่คนลาวทั่วไปใช้เรียกชาวขมุและชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษากลุ่มมอญ ในประเทศไทย

การตั้งถิ่นฐานชาวขมุ

  • ชาวขมุตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่สูง โดยชอบสร้างบ้านอยู่ตามริมชายเขา

  • ลักษณะบ้านของชาวขมุจะรวมกันเป็นกลุ่ม

  • มีการเลือกที่จะตั้งเลือกบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำมักเป็นเนินสูงริมน้ำ

  • สภาพหมู่บ้าทั่วไปจะ ข้อนข้างสะอาดไม่มีพืชผักหรือไม้ยืนต้น ให้เห็น

ลักษณะบ้านเรือน

ลักษณะบ้านเรื่อนของชาวขมุโดยทั่วไป สร้างด้วยไม้ไผ่
ยกเว้นส่วนที่เป็นเสาและขื่อในส่วนนี้จะนิยามใ้ชไม้แผ่นมาประกอบ
ส่วนหลังคามุงด้วยหญ้าแฝกพื้นส่วนชานล้างทำด้วยไม้จริง
ประตูทางเข้าทำ ไม้ไผ่สับ บันไดทำด้วยไม้จริง
ฝาบ้านใช้ไม้ไผ่สับหรือแผกเช่นเดียวกัน
ในปัจจุบันบ้านที่มีฐานะดีจะเปลี่ยนจากไม้ไผ่เป็นไม้แผ่น
ใต้ถุนบ้านจะใช้เป็นที่เก็บฟืนและสัตว์เลี้ยงเช่น ไก่ หมู เป็นต้น
บริเวณจันทัน ใช้เป็นที่เก็บของ เช่น เครื่องจักสาน
เครื่องดักสัตว์และมีห้องนอน 1 ส่วนชานนั่งเล่น โถงภายในบ้าน
ส่วนทำอาหาร และชั้นวางของ
ส่วนประตูผีจะอยู่สกัดด้านหลังของบ้านเอาไว้สำหลับนำศพคนตายที่อาศัย
ในบ้านออกจากบ้านเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมต่อไป

เครื่องแต่งกาย

ชาวขมุส่วนมากไม่มีวัฒนธรรมในการทอผ้าใช้เอง มีกลุ่มขมุลื้อซึ่งมีการทอผ้าฝ้ายเพื่อทำเสื้อผ้าใช้เอง เหตุนี้เองชาวขมุกลุ่มต่างๆ
จะมีวิธีการแต่งกายเช่นเดียวกับกลุ่มไตที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน สำหรับชาวขมุในจังหวัดน่าน จะใช้ซิ่นลายขาวงแบบไทยลื้อ
และสวมเสื้อผ้าหนาสีน้ำเงินเข้มตัวสั้น ตกแต่งด้วยผ้าด้ายสีและเหรียญเงิน ใส่กำไลเงินรูปร่างค่อนข้างเล็ก และกำไลข้อมือ มักโพกผ้าสีขาว
ในชีวิตประจำวันจะพบการแต่งกายเหล่านี้เฉพาะกลุ่มหญิงมีอายุ
สำหรับเครื่องแต่งกายของผู้ชายแต่เดิมใช้นุ่งผ้าเดี่ยวในปัจจุบันไม่มีแต่งกายแล้ว ซึ่งในปัจจุบันนิยมแต่งกายเฉพาะในงานพิธีกรรมเท่านั้น
ส่วนผู้หญิงแต่เดิมเปลือยอกผู้หญิงนิยมเจาะหูเป็นรูกว้างใช้ดอกไม้เสียบประดับ

ภาษา

ภาษาขมุอยู่ในตระกลูออสโตรเอเชียติค สาขามอญ เขมรและอยู่ในสาขาย่อยขมุอิคภาษาขมุมีผู้พูดกระจายในวงกว้าง
ทางด้านเหนือของเอเชียอาคเนย์นับได้ว่าเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากภาษาหนึ่งของภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติค
ทั้งในแง่ของจำนวนผู้พูดประวัติศาสตร์และภูมิก่อนการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มไต

โครงสร้างทางสังคม

ชาวขมุเชื่อว่าตนมีบรรพบุรุษ ที่สืบเชื้อสายมาจากสัตว์หรือพืชบางชนิด บุคคลที่อยู่ในตระกูลเดียวกันจะแต่งงานกันไม่ได้
และแต่ละตระกูลจะมีวิธีเลี้ยงผีที่ต่างกัน หรือกล่าวได้ว่า กำหนดวัฒนธรรม วิธีการประพฤติปฏิบัติตนตามจารีตประเพณีที่ต้องถือปฏิบัติในครอบครัวคือ
การถือผีบรรพบุรุษหรือผี ในชีวิตประจำวัน ชาวขมุจะถือผีฝ่ายชาย เมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงต้องอยู่บ้านของพ่อแม่สามี
ระเบียบวิธีในการเลี้ยงผีจะต้องทำตามวิธีของผีฝ่ายสามี สังคมชาวขมุถือว่าฝ่ายชายมีความสำคัญ เป็นผู้นำประกอบพิธีกรรมต่างๆ
เป็นผู้ปกครองตัดสินใจสิ่งต่างฯ

ครอบครัว

ในครอบครัว ผู้หญิงมีหน้าที่ตื่นตอนเช้ามืด หุงข้าว แล้วตักน้ำ ตำข้าว และ ในตอนบ่ายจะเข้าป่าเพื่อเก็บฟืนรวมถึงปลูกผักสวนครัว
ส่วนผู้ชายจะทำหน้าที่เข้าป่าล่าสัตว์ ทำเครื่องจักสาน และประกอบพิธีกรรมต่างๆกับผู้เฒ่าผู้แก่ ส่วน ลูกหลานหรือเด็ก จะเล่นอยู่บ้านหรือช่วยพ่อแม่ดูแลน้อง
เลียงควายตำข้าว และประกอบพิธีกรรมต่างๆ

อาชีพ

ชาวขมุทำการเกษตรเป็นหลัก เพื่อการใช้ในการดำรงชีจิตเท่านั้น คือปลูกพืชส่วนใหญ่เพื่อการบริโภคในครัวเรือ เช่น ปลูกข้าว เผือก มัน
และเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ ได้แก่ พริกตะไคร้ ข่า สะระแหน่ หอม กระเทียม เป็นต้น ส่วนพืชไร่และไม้ยืนต้นมีเล็กน้อย ได้แก่ ข้าวโพด ถั่ว กล้วย ขนุนมะขาม
มะม่วง ฯลฯ ซึ่งชาวขมุปลูกไว้กิน ถ้ายังมีเหลืออยู่บ้างก็นำมาแบ่งปันให้ญาติพี่น้องมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด และฝ้ายเพื่อขาย
และการปลูกข้าวของชาวขมุโดยมากทำแบบไร่เลื่อนลอยและไร่หมุนเวียนและมีส่วนน้อยที่มีนาปลูกข้าว นอกจากนั้นก็ปลูกพริก ฝ้าย
และข้าวโพดไว้ซึ่งปลูกเพื่อบริโภคเองและเลี้ยงสัตว์

ความเชื่อ

ชาวขมุมีความเชื่อการนับถือผี ทุกบ้านจะต้องมีผีเรือนซึ่งเชื่อว่า จะอยู่ในบริเวณเตาหุงข้าว พิธีต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงผีมีพิธีเลี้ยงขวัญข้าว พิธีเลี้ยงผีไร่
พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ พิธีเลี้ยงผีรักษาผู้ป่วย พิธีเลี้ยงผีแก้ความผิดต่างๆ เพื่อป้องกันเหตุร้ายหรือเจ็บป่วยล้มตาย เป็นต้น
เวลาพิธีเลี้ยงผีจะติดเฉลวไว้เป็นเครื่องหมาย เมื่อทำพิธีเลี้ยงผีหมู่บ้านจะต้องทำตแล้เอาไว้ทั้ง 4 ทิศ ของหมู่บ้าน เนื่องจากชาวขมุเป็นผู้ที่เคร่งครัดต่อประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีเป็นอย่างมาก

ความเชื่อเรื่องรักษาความเจ็บป่วยของชาวขมุชาวขมุจะมีการปลูกพืชบางชนิดไว้เพื่อใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับการ
เลี้ยงผี หรือใช้ในการรักษาโรคบางประเภทที่รู้ต้นเหตุชัดเจน เช่น ขิง ขมิ้นไพล เป็นต้น

เมื่อเกิดโรคที่มีอาการเจ็บป่วยที่หาสาเหตุชัดเจนไม่ได้ ชาวขมุมีความเชื่อเป็นพื้นฐานว่าเกิดจากการกระทำของ ‘ผี’ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย
เนื่องจากชาวบ้านไปทำ ‘ผิดผี’ จะต้องมีการแก้ด้วยการจัดพิธีกรรม เช่น ฆ่าไก่ ฆ่าหมูเพื่อเซ่นไหว้ ถ้าทำผิดรุนแรงจะต้องแก้ไขด้วยพิธีใหญ่โต เช่น ฆ่าควาย

สรุป

จากการศึกษาวัฒนธรรมชาวขมุ จังหวัดน่าน แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยะภาพในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เป็นการแสดงถึงคุณค่าที่ถูกถ่ายทอดผ่านการเวลา
สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมการตั้งถิ่นฐาน วัฒนธรรม ประเพณี ระบบโครงสร้างทางสังคม พิธีกรรมและความเชื่อ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของกลุ่มชาติพันธ์
ของชาวขมุกลุ่มหนึ่งในจังหวัดน่านสมควรอนุรักษ์เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่มีชีวิต สมควรเป็นมดกทางวัฒนธรรมของชาวน่าน
ประเทศ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของมวลมนุษย์สืบไป

อ้างอิง

Nanecotourism