Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

การศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวไทยภูเขาเผ่าลัวะ บ้านป่าก่ำ

ที่มาและความสำคัญ

กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ

บ้านป่ากำเป็นชุมชนลัวะปรัยแห่งสุดท้ายในประเทศไทยที่ยังคงสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมได้
สมบูรณ์เกือบ100%สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวปรัยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนกลุ่มชาติพันธุ์อื่น
ในจังหวัดน่านวัฒนธรรมของชาวปรัยในการสร้างอาคารแบบต่างๆเป็นความคิดสร้างสรรค์
และภูมิปัญญาของชาวปรัยถือเป็นมรดกสังคมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สัมนพันธ์กับสภาพแวดล้อม
และระบบนิเวศน

กลุ่มชาติพันธุ์ขมุ

พบได้บริเวณอำเภอเวียงแก่น อำเภอภอสองแคว และอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ที่ยังคงอัตลักษณ์ของกลุ่มได้ดี
ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ขมุที่เข้ามาอาศัยในดินแดนล้านนาในอดีต ส่วนมากผสมกลมกลืนไปกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ
จนเกือบหาอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ขมุไม่ได

ลักษณะผังชุมชนของชาวลัวะปรัย บ้านป่าก่ำ

องค์ประกอบของหมู่บ้าน ประกอบไปด้วย

1.กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาอยู่บริเวณเนินเขาอีกลูกด้านเหนือของหมู่บ้าน

2.กลุ่มอาคารเรียนของการศึกษานอกโรงเรียนบริเวณเนินเขาด้านทิศ
เหนือของหมู่บ้านที่ระดับความสูง 1,019 เมตร

3. กลุ่มหมู่เรือนพักอาศัย 23 หลังคาเรือนวางในแนวเหนือ - ใต้

4. บริเวณป่าช้าประจำหมู่บ้าน อยู่บนสันเขาทางทิศตะวันตก
ขนานกับแนวหมู่บ้าน

5. บริเวณศาลตาน้ำอยู่ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านระยะห่างประมาณ
400 เมตร

ทางสัญจรภายในหมู่บ้านป่ากำ

หมู่บ้านป่ากำจะมีทางเข้าหลักอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านและมีเส้นทาง
เชื่อมต่อเป็นทางเข้าผ่านแนวหมู่บ้านไปทางทิศเหนือสู่บ้านขุนน้ำจอน

3 ระดับ

  • ระดับบนสุดบริเวณใกล้ป่าช้าประจำหมู่บ้านและศูนย์การเรียน
    กศน. เป็นการเชื่อมระหว่างกลุ่มเรือนทิศใต
    ลานอเนกประสงค์(กลางหมู่บ้าน)
  • ระดับกลางเป็นเส้นทางเชื่อมต่อหมู่บ้านในแนวเหนือ - ใต้
    จนไปถึงเส้นทางไปโรงเรียนประถมศึกษาต่อไปยังหมู่บ้านขุนน้ำ
    จอน หมู่บ้านห้วยลัวะ
  • ระดับล่างสุดเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างกลุ่มเรือนลานกลางหมู่บ้าน
    ไปสู่กลุ่มเรือนด้านทิศเหนือ

ลักษณะผังชุมชนของชาวลัวะปรัย บ้านป่าก่ำ

เรือนพักอาศัย (เจียง)

ที่พักชั่วคราวในไร่ข้าว (งัวะ)

ที่พักชั่วคราวขณะสร้างเรือนใหม่ (ตุ๊บ)

ยุ้งข้าว (รานชา)

เรือนพักอาศัย (เจียง)

กรณีศึกษาที่

1. เรือนของนาย นายใจ ใจปิง เรือนเลขที่ 22 ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน สมาชิกในเรือน 8 คน ชาย 2 คน หญิง 2 คน เด็กชาย 3 คนเด็กหญิง 1 คน ตระกูลผี : อาเยอ ระดับความสูง +1125 เมตรจากระดับน้ำทะเล

กรณีศึกษาที่

ตั้งอยู่ในกลุ่มที่หันเรือนไปทางทิศตะวันออก 3 หลัง ขนาดของเรือนโดยประมาณ 78.8 ตารางเมตร ลักษณะเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า บริเวณด้านทิศเหนือ เป็นทางลาดและหุบเขา มีลานซักล้าง มีต้นกล้วยป่า ติดกับป่าไม้ ด้านทิศตะวันออก ติดกับเรือนนายเตรียม ใจปิง ด้านทิศตะวันตกมียุ้งข้าว และยุ้งข้าวนายขวาง ใจปิง ติดกับป่าไม้ ส่วนด้านทิศใต้ติดเนินเขากับป่าไม้ ปลูกต้นเขื่อง มีต้นค้อและต้นเต่าร้าง เรือนนายใจ ใจปิง ทำการรื้อและสร้างใหม่ เมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2554 โดยขยับจากเรือนเดิมเล็กน้อย ปรับพื้นที่แล้วสร้างเรือนใหม่ใกล้ที่เดิม

ลักษณะตัวเรือน

ตัวเรือน (เจียง - ภาษาปรัย) เป็นเรือนเดี่ยวหลังคาทรงจั่ว-ฮิป ยกใต้ถุนสูง หันหน้าเรือนไปทางทิศตะวันออก หรือ ทางทิศของตาน้ำ แต่ติดแนวเขา จึงหันเรือนไม่ตรง มีบันไดทางขึ้นเรือนอยู่ด้านทิศใต้ติดกับเนินดิน บริเวณบันไดมีครกกระเดื่องบริเวณใต้ถุนเรือนเป็นพื้นที่เก็บฟืน และคอกหมูและแขวนกรงไก่ หลังคาด้านข้างเอียง 45° - 45° ด้านหน้าหลัง 40° - 35°

การใช้วัสดุ

เสาเรือนใช้ไม้จริงโครงหลังคาไม้จริงและไม้ไผ่(ไม้หก)พื้นภายในปูฟากไม้ไผ่ปูทับด้วยเสื่อไม้ไผ่พื้นภายนอกฟากไม้ไผ่ส่วนพื้นชานแดดใช้ไม้เขื่องหลวงผนังภายนอกไม้ไผ่ขัดแตะ(ไม้เฮีย) ผนังบางส่วนช่วงประตูทางเข้าเป็นไม้จริง มัดด้วยหวาย และตอก หลังคามุงด้วยหญ้าคา

การใช้พื้นที่ในเรือนภายใน

แบ่งออกเป็นส่วนนอน 3 ห้อง องค์ประกอบภายในเรือน 78.8 ตารางเมตร

  1. ชานอเนกประสงค์ 15.15 ตารางเมตร ร้อยละ 19.22%
  2. ชานแดด 6.39 ตารางเมตร ร้อยละ 8.10%
  3. ส่วนเก็บของ 2 ตารางเมตร ร้อยละ 2.5%
  4. ห้องฮีต 16.25 ตารางเมตร ร้อยละ 20.62%
  5. ส่วนนอน และ เก็บของ 39 ตารางเมตร ร้อยละ

ลักษณะพื้นที่ภายในเรือนชาวปรัย บ้านป่ากำ

แสดงลักษณะพื้นที่ใต้ถุนเรือน

แสดงลักษณะพื้นที่ส่วนชานอเนกประสงค์

แสดงลักษณะพื้นที่ส่วนชานแดด

แสดงลักษณะพื้นที่ส่วนห้องฮีต

แสดงขั้นตอนสร้างเรือนนายใจ ใจปิง

ที่พักชั่วคราวในไร่ข้าว (งัวะ)

1 กรณีศึกษาเรือนชั่วคราวในไร่หรืองัวะบ้านป่ากำ

เนื่องจากการทำไร่ข้าวของชาวปรัยบ้านป่ากำจะเปลี่ยนสถานที่ทำไร่ไปทุกปีการเลือกเก็บข้อมูล“งัวะ”
จึงต้องเลือกเก็บข้อมูลงัวะที่อยู่ไม่ไกลมากนัก เป็นงัวะที่มีคนอาศัยอยู่ในระหว่างเก็บข้อมูล และยินดีให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
อนุญาตให้ถ่ายรูปภายในงัวะได้ จึงเลือกเก็บข้อมูลงัวะของ นายขอด ใจปิง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2553 ในต้นฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่กำลังดูแลข้าวในไร่
และงัวะนางหมอก ใจปิง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2555 ช่วงกำลังรูดท้าในไร่

ที่ตั้ง

งัวะตั้งอยู่กลางไร่ข้างทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านระยะห่างจากหมู่บ้านประมาณ800เมตรเป็นพื้นที่เอียงลาดของ
หุบเขาไปทางทิศตะวันตก บริเวณรอบๆ งัวะปลูกข้าว ข้าวโพด มัน เผือก พืชสวนครัวประเภทมะเขือ พริก ตะไคร้
ที่ใช้ประกอบทำอาหารระหว่างพักอาศัยในช่วงฤดูฝน

ขนาด

17.60 ตารางเมตร ชานแดด 6 ตารางเมตรและ 45 ตารางเมตร

ลักษณะและโครงสร้าง

เป็นเรือนเครื่องผูกยกพื้นสูงประมาณ1.20เมตรหันหน้าไปทางทิศตะวันออกหลังคาจั่วคลุมด้านทางเข้าด้านหน้าและ
ด้านหลังเรือนเกือบหมด ผนังด้านข้างสอบเข้า โครงสร้างหลักเป็นไม้จริงและไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยใบค้อ
ผนังด้านข้างกรุด้วยใบค้อ ผนังด้านในทั้งด้านหน้าและด้านหลังผายออกทำด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะประตูทางเข้า
ด้านหน้าเป็นประตูบานเลื่อนทำด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะ ด้านข้างมีประตูบานกระทุ้งกรุด้วยใบค้อออกไปสู่ชานแดดทั้ง 2 ข้าง
บันไดขึ้นเรือนด้านหน้าเป็นไม้ไผ่ ด้านข้างมีเสาไม้ยาวค้ำยันโครงสร้างด้านละ 2 ต้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างหากมี
ลมพัดแรง

การจัดพื้นที่ภายใน

เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ใช้นอนพักผ่อนทำและทานอาหารโดยมีเตาไฟอยู่กลางเรือนเหนือเตาไฟแขวนตะแกรงใช้เก็บของ
เก็บอาหาร ผนังด้านหลังมีชั้นวางของ (พาม) ยาวติดผนังโดยแขวนกับโครงหลังคา เป็นไม้จริงและไม้ไผ

การใช้วัสดุ

เสาโครงสร้างหลังคาเป็นไม้จริงและไม้ไผ่หลังคาและผนังด้านนอกทำด้วยใบค้อพื้นเป็นฟากไม้ไผ่โครงรับพื้นไม้จริง
และไม้ไผ่ผูกมัดโครงสร้างด้วยเถาวัลย์ หวาย และตอกไม้ไผ่ มีเสายาวค้ำยันทำด้วยไม้จริงด้านละ 2 ต้น

ลักษณะรายละเอียดของงัวะ

ที่พักชั่วคราวขณะสร้างเรือนใหม่ (ตุ๊บ)

1 กรณีศึกษาที่พักชั่วคราวขณะสร้างเรือนใหม่ (ตุ๊บ)

ในกรณีที่ชาวปรัยบ้านป่ากำต้องรื้อเรือนเก่าลงเพื่อสร้างเรือนใหม่ เมื่อหลังคาเรือนเก่าหมดสภาพเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ จำเป็นต้องสร้างเรือนชั่วคราวเพื่อพักอาศัยระหว่างรื้อเรือนเก่าและสร้างเรือนใหม่อาคารนี้เรียกในภาษาปรัยว่า“ตู๊บ”ชาวปรัยมักจะเลือกบริเวณใกล้เคียงกับเรือนเดิมโดยจะปรึกษาหมอฮีตประจำตระกูลก่อนว่าสามารถสร้างได้หากเป็นทางผีผ่านก็สร้างไม่ได้จากนั้นจึงรื้อเรือน ปรับพื้นที่ที่จะสร้างเรือนใหม่ เมื่อรื้อเรือนเก่าแล้วสร้างตู๊บจะยกหม้อข้าวไปที่ตู๊บก่อนสิ่งอื่น จากนั้นจึงขนของใช้ต่างๆไปไว้ในตู๊บ

การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในและองค์ประกอบคล้ายเรือนพักอาศัยเดิมแยกส่วนนอน(ติโอย-ภาษาปรัย)ไว้ด้านในสุด

ด้านหน้าเป็นส่วนอเนกประสงค์และเตาไฟส่วนยกพื้นเป็นส่วนนอนยาวเรียงไปตลอดผนัง เป็นโครงเคร่าไม้จริงผสมไม้ไผ่ปูฟากไม้ไผ่ ด้านตรงข้ามสร้างชั้นวางของทำด้วยไม้ไผ่แขวนกับโครงหลังคา ยาวตลอดแนว กั้นส่วนนอนเป็นช่วงๆด้วยแผงไม้ไผ่สานขัดแตะ บริเวณเตาไฟแยกเป็น 2 เตา เตานึ่งข้าวจะอยู่ด้านใน เตาทำอาหารจะอยู่ด้านนอกเหมือนการจัดวางพื้นที่ในเรือนพักอาศัย ตู๊บนี้ชาวปรัยจะอาศัยอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆไม่เกิน 2 อาทิตย

ลักษณะรายละเอียดของเรือนชั่วคราว

ลักษณะรายละเอียดของเรือนชั่วคราว

ลักษณะรายละเอียดของเรือนชั่วคราว

ยุ้งข้าวบ้านป่ากำ

ที่ตั้ง : เนินดินด้านทิศตะวันตกของเรือนพักอาศัย เป็นพื้นที่เอียงลาดชัน

ขนาด : 4.4 ตารางเซนติเมตร (กว้าง 2.0 x ยาว 2.2 เมตร)

ลักษณะรูปทรงและโครงสร้าง

เป็นเรือนยกพื้นสูงหลังคาทรงจั่วมุงด้วยใบค้อปิดด้านหน้าและด้านหลังของอาคาร(หันจั่วไปด้านข้าง)ผนังด้านข้างด้านนอกปิดด้วยใบค้อ มองด้านข้างเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมหันไปทางทิศตะวันตก ด้านในตัวเรือนผนังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ผนังด้านในกรุด้วยฟากไม้ไผ่อยู่ในกรอบโครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมมีประตูด้านหน้าทำด้วยซี่ไม้ไผ่สานขัดแตะ โครงสร้างหลักเป็นเสาไม้จริงมีง่ามไว้รองรับคานไม้จริง ด้านใต้มีเสาสั้นรับพื้น โครงรับผนังด้านในและด้านนอกเป็นไม้จริง ซ่องว่างระหว่างผนังเป็นส่วนเก็บของ มีบันไดไม้ท่อนพาดด้านหน้าแทนบันได มีรั้วลำไม้จริงรอบบริเวณรานซา

การใช้วัสด

เสารับน้ำหนักทั้งหมดเป็นลำไม้จริงโครงสร้างภายในกรุฟากไม้ไผ่เรียงตามแนวตั้งผนังด้านข้างภายนอกโครงไม้จริงกรุตับใบค้อพื้นภายในเป็นฟากไม้ไผ่ มีเสื่อไม้ไผ่สานรองรับหลังคาโครงไม้จริงกรุตับใบค้อ มัดกับโครงสร้างด้วยตอกไม้ไผ่ การผูกมัดโครงสร้างหลักใช้เถาวัลย์และหวาย

ลักษณะรายละเอียดของรานซา

ลักษณะโครงสร้างและรูปทรงของรานซา