Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

กรณีศึกษาเรือนพักอาศัยในเขตเมืองเก่า จังหวัดเมืองน่าน

ความหมายและความสำคัญของเรือนพื้นถิ่น เมืองน่าน

คนในอดีตน่านเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากหัวเมืองอื่นๆ มีพื้นที่เป็นป่าเขา
ราษฎร์ทั่วไปท้ามาหากินด้วยการท้าไร่นา ยาสูบและป่าเมี่ยง
ไม่มีกำลังพอที่จะปลูกเรือนด้วยเครื่องไม้จริงได้ จึงต้องทำด้วยไม้ไผ่ เว้นแต่เจ้านายผู้มีอำนาจ
นอกจากนี้ยังมีกฎเกณฑ์ห้ามไว้ว่าบ้านเรือนราษฎร์ที่อยู่ในกำแพงเมืองก็ดี
ภายนอกก็ดีจะมุงหลังคาด้วยกระเบื้องไม่ได้ ด้วยถือว่าเป็นการกระทำเทียบเคียงเจ้านาย
มีอาญาไว้ว่าเป็นความผิดฉะนั้นบ้านเรือนจึงมุงหลังคาด้วยใบพลวงหรือแฝกเป็นพื้น
ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาวน่าน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1.1 เรือนไม้ปั่ว หรือเรือนเครื่องผูก
เป็นเรือนชั่วคราว สร้างด้วยไม้ไผ่ (ไม้ปั่ว)  เป็นหลักหลังคามุงใบตองตึง
(ใบพลวง) แฝกหรือหญ้าคาตัวเรือนมีขนาดเล็ก  สามารถใช้งานอยู่ได้ 3 - 5 ปี
และปลูกได้เองโดยไม่ต้องอาศัยช่างฝีมือ

1.2 เรือนไม้จริง หรือเรือนเครื่องสับ
เป็นเรือนถาวรสร้างด้วยไม้จริงเกือบทั้งหลัง หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดกระเบื้องดินขอ
กระเบื้องว่าวหรือกระเบื้องลอนคู่ มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
ตัวเรือนต้องอาศัยช่างฝีมือในการประกอบหรือปรุงเรือน

แบบและข้อมูลเรือนตัวอย่าง

เรือนคุณจำเนียร สิริปัญญาพงศ์

เรือนอาจารย์บุญงำ สงวนศรี

เรือนคุณวิภาภรณ์ อินแปง

เรือนนายสมาน อินแปง

เรือนคุณยายบุญหลาย ณ น่าน

เรือนอาจารย์ภัทราภรณ์ ปราบริปู
(โฮงเจ้าฟองคำ)

เรือนนายสมศรี จีนเพชร

เรือนนายสนิท หิรัญวิทย์

เรือนนางจันทร์ ภักดี

เรือนเจ้าอุตรการโกศล

เรือนนายปลั่ง นุสา

เรือนนายเมือง เมืองเล็น

Nanecotourism