Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคุ้มในเขตเมืองเก่า

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คุ้มในเขตเมืองเก่า

จังหวัดน่าน

อาคารหอคำในปัจจุบันเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปแบบผสมผสาน
ระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมตะวันตก

แบบตรีมุข 2 ชั้น โครงสร้างภายในเป็นไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2446

ประวัติความเป็นมา

อาคารหอคำในปัจจุบันเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมตะวันตก แบบตรีมุข 2 ชั้น โครงสร้างภายในเป็นไม้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2446

หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชขึ้นเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯพระเจ้านครน่าน จึงสร้างหอคำสำหรับประดับเกียรติยศ

ขึ้นแทนคุ้มหลวงหอคำเดิมที่เป็นเครื่องไม้ 7 หลัง โดยเรือนต่างๆ ในคุ้มหลวง โดยสร้างขึ้นตรงบริเวณคุ้มเดิม

เมืองน่าน ได้รับความช่วยเหลือในการก่อสร้างจากบริษัท กิมเช่งหลี โดยหลวงวิจิตรจำนงวานิช (จีนบุญเย็น) ได้ช่วยเหลือเรื่องการก่อสร้างหอคำในปี พ.ศ. 2449 น มีการฉลองขึ้นหอคำในปี พ.ศ. 2454 หอคำเมืองน่าน ได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุ้มหลวงเมืองแพร่ สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน) บุตรพระเจ้าเมืองน่าน ซึ่งสมรสกับเจ้าสุพรรณวดีธิดาเจ้าหลวงเมืองแพร่ เป็นสถาปนิกออกแบบหอคำเมืองน่าน

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

แสดงแนวกําแพงหอคํา

ลักษณะโถงหน้าบันได
และภายในห้องรับแขกอาคารหอคํา ชั้นบน

ในปี 2524 ได้เปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องลอนคู่
และเปลี่ยนเครื่องประดับหลังคาไป
ตัวอาคารเป็นทรงตึกแบบตะวันตก
ผนังก่ออิฐถือปูนมีบัวคาดแบ่งระหว่างชั้นล่างกับชั้นบน

มีการจัดระเบียบองค์ประกอบในลักษณะสมมาตร
เน้นซุ้มประตูทางเข้าตรงกลางด้วยบัวปูน ปั้นเหนือประตูเป็น
ScrollPedimentแบบตะวันตกผนังด้านหน้าอาคารมีเสาอิงในลักษณะของ
Pilasterเป็นตัวแบ่งระยะของหน้าต่างที่อยู่ตรงกลางช่องหน้าต่างชั้นบนเป็น
บานเกล็ดด้านบนครึ่งล่างเป็นลูกฟัก มีซุ้มยื่นออกมาเป็นกันสาด
มีการติดไม้ฉลุเป็นครีบรอบๆ เหมือนเชิงชาย มีลูกกรง กันตกไม้ฉลุ
ส่วนหน้าต่างชั้นล่างเป็นบานลูกฟักไม้
มีบัวปูนปั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมแบบPediment ของฝรั่ง

ด้านหน้าอาคารมีหน้าต่างที่เป็น Pointed Arch ตามแบบของโกชิค
ล้อมรอบด้วยบัวปูนปั้นและมีลายปูนปั้นใต้หน้าต่าง
ลักษณะของอาคารที่สร้างในยุคนี้ มักจะมีคันทวยหูช้างใต้ชายคา
มีการฉลุลายไม้ ซึ่งเป็นอิทธิพลจากทางตะวันตก
ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้หลังคาทรงไทยแบบตรีมุขมีหน้าจั่ว 3 ด้านเหมือนกัน
เมื่อแรกสร้างประดับตราโคอุศุภราช
ซึ่งเป็นตราประจำเมืองเมืองน่านในสมัยพระเจ้า-สุริยพงษ์ผริตเดชฯ
และเปลี่ยนมาใช้ตราครุฑ ในช่วงที่เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน

เดิมหอคํามีกําแพงลอมรอบ ลักษณะกําแพงเป็นกําแพงก่ออิฐถือปูน กําแพงมีประตูทางเขา เป็นซุ้มอยู่ตรงด้านหน้าคุ้ม ด้านในกําแพงเป็นทางเดินมีหลังคาคลุมคลายระเบียงคตอาจจะเป็นทิมดาหรือทิมตํารวจของคุ้มหรือที่ทําการของทหารหรือตํารวจรักษาคุ้ม

แบบแผนผังต่างๆของอาคารหอคำ
(คุ้มหลวงเมืองน่าน)

ผังอาคารชั้นล่าง

ผังชั้นบน

ลักษณะหลังคาอาคารหอคำ

รูปด้านหลังทิศตะวันตกหอคำ

รูปด้านหน้าทิศตะวันออกหอคำ

รูปด้านข้างทิศเหนือหอคำ

รูปด้านข้างทิศใต้หอคำ

ภาพลายเส้นแสดงโครงสร้างอาคารหอคํา

ภาพลายเส้นแสดงโครง
สร้างอาคารหอคํา

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คุ้มในเขตเมืองเก่า

จังหวัดน่าน

ในปัจจุบันและเปิดบ้านในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและมีการบรรยายให้ทราบถึงประวัติคุ้มและสายตระกูล
เจ้าผู้ครองนครน่านรวมถึงประวัติศาสตร์นครน่านและวิถีชีวิตน่านในอดีต

ประวัติความเป็นมา

คุ้มเจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เดิมเป็นเรือนไม้สักทองยกพื้นสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2398 -
2400

ในปี พ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายไปประทับที่หอคำ คุ้มแห่งนี้จึงตกแก่ โอรส คือ เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ
น่าน และต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) จนถึงปี พ.ศ. 2474 ในพ.ศ. 2475
ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่านจึงถูกยุบเลิกไป

ปัจจุบันคุ้มแห่งนี้ตกทอดแก่ เจ้าสมปรารถนาณ น่าน และเจ้าวาสนา ภู่วุฒิกุล
ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าโคมทอง ณ น่าน และ เจ้าประดิษฐ์ ณ น่าน
โดยเจ้าสมปรารถนา ณ น่าน และคุณสถาพร สุริยา ผู้เป็นสามี ใช้เป็นที่พำนักในปัจจุบันและเปิดบ้านในลักษณะของพิพิธภัณฑ์
ท้องถิ่นและมีการบรรยายให้ทราบถึงประวัติคุ้มและสายตระกูลเจ้าผู้ครองนครน่านรวมถึงประวัติศาสตร์
นครน่านและวิถีชีวิตน่านในอดีต

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

การจัดผังบริเวณคล้ายกับเรือนเจ้านายทั่วไปที่มีเรือนครัวอยู่ด้านหลังบ้านและมียุ้งข้าว
อยู่ทาง ข้างบ้าน และมีเครื่องสีข้าวที่ไม่ได้ใช้งานแล้วอยู่ในบริเวณเดียวกัน
ด้านหน้าคุ้มมีการปลูกไม้ดอก และด้านหลังของคุ้มเป็นสวนผลไม้ ในอดีตบริเวณ คุ้มมีเรือน
และมีเรือนข้าทาส บริวาร ปลูกไว้หลายหลังเพื่อใช้เป็นเรือนนอนของผู้ที่มาพักอาศัย
มีบ่อน้ำไว้ใช้ภายในคุ้ม

ลักษณะเป็นอาคารสถาปัตยกรรมพื้นบ้านผสมผสานกับรูป
แบบทางตะวันตกที่นิยมสร้างกันมากในสมัยรัชกาลที่ 5-6 คุ้มเจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน)
ประกอบไปด้วยกลุ่มอาคาร ที่มีอาคาร ด้านหน้าเป็นเรือนพักอาศัย รูปตัวแอล
ยกพื้นสูงใต้ถุนโล่งสำหรับใช้งานอเนกประสงค์ ตัวอาคาร ด้านขวาเป็นมุขยื่น

ภายหลังมีการต่อเติมห้องบริเวณชั้นล่างในช่วงของเจ้าประดิษฐ์ ณ น่าน
ทำให้ดูเป็นเรือนสองชั้น การประดับลายไม้แกะสลักและฉลุลายเป็นรูปนาค 2 ตัวหันหน้าเข้าหากัน
การนำ รูปสัตว์ประจำปีเกิดมาประดับบริเวณหน้าแหนบเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าของบ้าน
(เจ้าราชบุตรเกิดปีมะโรง) เป็นความนิยมของเรือนพื้นถิ่นในยุคนั้น

อาคาร

เรือนครัวมีชานคั่นแยกออกจากเรือนที่อยู่ด้านหน้า
ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ตามแบบเรือนพื้นถิ่น
ที่แยกครัวไฟออกจากส่วนนอนที่อยู่ด้านหน้า
มีบันไดหลังบ้านสำหรับบริวารใช้งานขึ้นมาที่ชานแดดหน้าห้องครัว
(ส่วนบันไดหน้าบ้านสำหรับเจ้านายและแขกที่มาเยือน)

เรือนครัวประกอบไปด้วยห้องครัว (ซึ่งเป็นครัวขนาดใหญ่มีปล่องไฟ)
ห้องเก็บของและมีชานด้านหลังห้องครัว มีห้องนอนบ่าว 2 ห้อง
ซึ่งมีระเบียงหน้าห้องนอนเชื่อมต่อกับห้องครัว และห้องรับประทานอาหารของบริวาร
มีนอกชานด้านข้างขวาของห้องรับประทานอาหารโอบล้อมไปด้านหลังซึ่งเป็นห้องน้ำ 2 ห้อง

การใช้พื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร

ชั้นล่าง

ใช้เป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมต่างๆในครอบครัว เช่น ทอผ้า ทำเครื่องเงิน เช่น ตีขันเงิน ฯลฯ ด้านหลังมีห้องเก็บของ

ซุ้มทางเข้าบ้านหน้าอาคาร

มีการเน้นทางเข้าด้วยซุ้มโค้งประดับลวดลายไม้ฉลุ ลอดชุ้มเข้ามาจะเป็นโถงบันได ตัวบันไดจะทอดยาวขึ้นไปบนระเบียงหน้าบ้าน
ราวบันไดเป็นไม้สักสี่เหลี่ยมเรียบๆไม่มีลวดลาย ที่ระเบียงทุกช่วงเสามีแท่นสำหรับวางกระถางต้นไม้ประดับ
ลักษณะของเรือนมีการประดับด้วยไม้ฉลุบริเวณเชิงชาย และช่องลมฉลุลาย
มีการนำลายธรรมชาติดอกไม้ใช้ประดับตกแต่งชั้นบนมีระเบียงด้านหน้าที่โอบล้อมไปด้านข้างของตัวอาคารเชื่อมต่อกับชานเรือนที่อยู่ด้านหลังโดยมีประตูกั้น
เพื่อความเป็นสัดส่วนของเรือนชานด้านหลัง

ชั้นบน

เป็นพื้นที่ของเจ้าของเรือน แบ่งเป็นห้องแต่ละห้องมีประตูเชื่อมถึงกันหมด มีห้องนอน 3 ห้อง มีระเบียงด้านหน้าต่อกับชานทางด้านหลัง
ห้องที่อยู่ติดกับโถงบันไดใช้เป็น ห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหารของเจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) โถงกลางบ้าน
และระเบียงหลังบ้าน ที่เชื่อมต่อกับชานและเรือนครัว

ผนังอาคาร

เป็นไม้สักตีชิดเข้าลิ้นแนวนอน เมื่อแรกสร้างทาสีเขียวฟ้า แต่ละด้านมีความแตกต่างกัน เหนือช่องลมเป็นไม้ระแนงตีแนวตั้งสำหรับระบายอากาศ
ห้องรับแขกมีประตูบานเฟี้ยมทั้งด้านหน้าและด้านข้างเพื่อเปิดรับลมและเป็นการเชื่อมพื้นที่ระเบียงให้ต่อเนื่องกับส่วนใช้งานด้านใน
ชายคาไม้เข้าลิ้นทาสีเดียวกับตัวบ้าน

แบบผังต่างๆ และISOMATRIC

ผังพื้นชั้นล่างคุ้มเจ้าราชบุตร
(หมอกฟ้า ณ น่าน)

ผังพื้นชั้นบนคุ้มเจ้าราชบุตร
(หมอกฟ้า ณ น่าน)

แปลนหลังคาคุ้มเจ้าราชบุตร
(หมอกฟ้า ณ น่าน)

รูปด้านหน้าทิศใต้คุ้มเจ้าราชบุตร
(หมอกฟ้า ณ น่าน)

รูปด้านข้างทิศตะวันออกคุ้มเจ้าราชบุตร
(หมอกฟ้า ณ น่าน)

รูปด้านหลังทิศเหนือคุ้มเจ้าราชบุตร
(หมอกฟ้า ณ น่าน)

รูปด้านข้างทิศตะวันตกคุ้มเจ้าราชบุตร
(หมอกฟ้า ณ น่าน)

ภาพลายเส้นแสดงโครงสร้างอาคารคุ้มเจ้าราชบุตร
(หมอกฟ้า ณ น่าน)

ภาพลายเส้นแสดงโครงสร้างอาคารคุ้มเจ้าราชบุตร
(หมอกฟ้า ณ น่าน)

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คุ้มในเขตเมืองเก่า

จังหวัดน่าน

พระเจ้าสุริยพงษ์ริตเดชฯ โปรดให้สร้างคุ้มหลังนี้ขึ้นเมือปี .ศ. 2459 เพื่อเป็นที่พำนักของเจ้าจันทร์ทองดี
ผู้เป็นธิดาปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมที่ดิน จังหวัดน่าน และเป็นอาคารอนุรักษ์ของจังหวัดโดยกรมที่ดิน
ได้ซื้ออาคารหลังนี้ต่อจากคุณสมสมัย วุฒิสอน

ประวัติความเป็นมา

พระเจ้าสุริยพงษ์ริตเดชฯ โปรดให้สร้างคุ้มหลังนี้ขึ้นเมือปี พ.ศ. 2459
เพื่อเป็นที่พำนักของเจ้าจันทร์ทองดี ผู้เป็นธิดา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมที่ดิน จังหวัดน่าน
และเป็นอาคารอนุรักษ์ของ จังหวัด
โดยกรมที่ดินได้ซื้ออาคารหลังนี้ต่อจากคุณสมสมัยวุฒิสอน ซึ่งเป็นบุตรสาวบุญธรรมของเจ้า
จันทร์ทองดีในปี พ.ศ. 2504 จากนั้นกรมที่ดินได้ใช้เป็นอาคารหลักของสำนักงานที่ดิน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 - 2525

เนื่องจากกรมที่ดินได้สร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นมาทางด้านหน้า และได้ย้ายที่ทำการจาก
คุ้มเจ้าจันทร์ทองดีมายังอาคารหลังใหม่ทั้งหมดผังบริเวณปัจจุบันไม่มีรั้วด้านหน้าของเดิมเหลือ
อยู่เลย

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา
ซึ่งยังคงรักษาลักษณะโดยรวมของอาคารภายนอกเอาไว้ได้ทั้งหมด
ฐานของอาคารเป็นไม้ซุงทั้งต้น พื้นและโครงสร้างรับพื้นชั้นบนเป็นไม้ทั้งหมด
เช่นเดียวกับฝ้าเพดานและบันได ที่เป็นไม้จริงเต็มแผ่นขนาดใหญ่ แต่เดิมตัวอาคารมีสีเขียว
อ่อน แต่ปัจจุบันถูกทับเป็นสีขาว ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง
และถูกใช้เป็นสำนักงานของกรมที่ดินที่ขยายตัวออกมาจากอาคารใหม่ทางด้านหน้า
บนระเบียง ชั้นบนของอาคารยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้า จันทร์ทองดีด้วย

พื้นที่โดยรอบของอาคารในอดีต ล้อมรอบด้วยรั้วไม้
มีอาคารบริวารอยู่บริเวณสวนด้านหลัง ซึ่งอาคารบริวารเหล่านั้นเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว
ใช้เป็นทั้งโรงครัวและที่พักของบริวารและคนงาน
พื้นที่ตรงระหว่างเรือนเจ้านายและเรือนบริวาร มีบ่อน้ำเก่าอยู่ สำหรับใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน
ปัจจุบันสภาพโดยรอบได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว
เหลือเพียงคุ้มเจ้าจันทร์ทองดีที่ตั้งอยู่กลางผังบริเวณเดิม

แบบผังต่างๆ และISOMATRIC

ผังบริเวณคุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

ผังพื้นชั้นล่างคุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

ผังพื้นชั้นบนคุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

รูปด้านหน้าทิศใต้อาคารคุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

รูปด้านหลังทิศเหนือาคารคุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

รูปด้านข้างทิศตะวันตก
อาคารคุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

รูปด้านข้างทิศตะวันออก
อาคารคุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

ภาพลายเส้นแสดงโครงสร้างอาคารคุ้มเจ้าจันทร์ทองดี

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คุ้มในเขตเมืองเก่า

จังหวัดน่าน

คุ้มเจ้าเทพมาลา เมื่อแรกสร้างเป็นที่พำนักของเจ้าเทพมาลา ธิดาคนแรกของพระเจ้า-สุริยพงษ์พริตเดชฯ กับเจ้าแม่ยอดหล้า
(เชียงคำ) ภรรยาลำดับที่ 5 มีบุตรธิดารวมกันทั้งหมด 7 คน

ประวัติความเป็นมา

คุ้มเจ้าเทพมาลา เมื่อแรกสร้างเป็นที่พำนักของเจ้าเทพมาลา
ธิดาคนแรกของพระเจ้า-สุริยพงษ์พริตเดชฯ กับเจ้าแม่ยอดหล้า (เชียงคำ)
ภรรยาลำดับที่ 5 มีบุตรธิดารวมกันทั้งหมด 7 คน คือ
1. เจ้าหญิงเทพมาลา (เกิดประมาณปี พ.ศ. 2430)
2. เจ้าเทพเกสร ภรรยาเจ้าน้อยอินแปลงเมืองแพร่
3. เจ้าน้อยอินแสงสี
4. เจ้าหญิงจันทวดี
5. เจ้าหญิงศรีสุภา
6. เจ้าหญิงดวงมาลา
7. เจ้าหญิงประภาวดี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 เจ้าบุญศรี เมืองชัย ซึ่งเป็นน้องชายของแม่เจ้าบุญโสม ณ
น่านชายาเจ้าราชบุตร หมอกฟ้า ณ น่านได้ซื้อคุ้มหลังนี้จากเจ้าเทพมาลา
ปัจจุบันเป็นที่พำนักของทายาทเจ้าบุญศรี เมืองชัย โดยมีคุณสัมพันธ์ บุญชัย บุตรชาย
เป็นผู้ดูแล (คุณสัมพันธ์ อายุ 78 ปี)

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าเทพมาลาเป็นเรือนไม้แบบยุโรป ยกพื้นสูง
(ประมาณ 177 เซนติเมตร) ลักษณะแปลนมีความสมมาตร สองข้างเหมือนกัน
โดยมีมุขเป็นห้องหลายเหลี่ยมยื่นออกมาทั้งซ้ายและขวา
ซึ่งมุขที่ยื่นออกมาตรงกลางในภาษาฝรั่งเศส เรียกว่า "ลูการ์น" (lucarne)

หลังคาทรงมะนิลา มีจั่วด้านหน้าอาคาร ช้อนสองชั้น
จั่วตัวล่างเป็นซุ้มหลังคาทางขึ้นบันไดซึ่ง ด้านหน้าจะมีซุ้มไม้โค้งแบบโก่งคิ้ว
แต่ไม่มีลวดลายประดับ แสดงถึงเส้นโค้งที่ทำต่อเนื่องด้านข้างเป็น
ลูกคลื่นไปชนตัวบ้าน หน้าต่างที่มุขเป็นหน้าต่างสูงจรดพื้น
มีลูกกรงกันตกเป็นไม้ฉลุลายแบบเรขาคณิตง่ายๆ
รูปร่างที่ฉลุออกไปดูคล้ายกับลูกกรงไม้กลึง ผนังสองข้างของบันไดทางขึ้นบ้าน
จะตีระแนงไขว้โปร่ง มีมุขยื่นที่ยอดจั่วมีเสากลึงปลายบน - ล่าง
ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของเรือนในสมัย รัชกาลที่ ๖ ลายฉลุไม้เชิงชายของตัวเรือนใหญ่
รอบซุ้มกันสาดหน้าต่าง และปั้นลมที่จั่วตัวบน จะใช้ลวดลายต่างกัน

แบบผังต่างๆ และISOMATRIC

ผังบริเวณคุ้มเจ้าเทพมาลา

แปลนหลังคาคุ้มเจ้าเทพมาลา

ผังพื้นอาคารคุ้มเจ้าเทพมาลา

รูปด้านข้างทิศตะวันตกอาคารคุ้มเจ้าเทพมาลา

รูปด้านหน้าทิศเหนืออาคารคุ้มเจ้าเทพมาลา

รูปด้านหลังทิศใต้อาคารคุ้มเจ้าเทพมาลา

ภาพลายเส้นแสดงโครงสร้างอาคารคุ้มเจ้าเทพมาลา

ภาพลายเส้นแสดงโครงสร้างอาคารคุ้มเจ้าเทพมาลา

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คุ้มในเขตเมืองเก่า

จังหวัดน่าน

เดิมเป็นบ้านของรองอำมาตย์ตรีเคี่ยน รัตนวงศ์ไชย และเจ้าแม่บุญสม(สารรัตนะ)รัตนวงศ์ชัย
บุตรีเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าเมืองแก้ว) สร้างในปี พ.ศ. 2452ปัจจุบันถมดินปิดไปแล้ว และใช้พื้นที่เป็นโรงรถ
เป็นที่เก็บอุปกรณ์ และเลี้ยงไก่ชน

ประวัติความเป็นมา

เดิมเป็นบ้านของรองอำมาตย์ตรีเคี่ยน รัตนวงศ์ไชย และเจ้าแม่บุญสม
(สารรัตนะ)รัตนวงศ์ชัย บุตรีเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าเมืองแก้ว) สร้างในปี พ.ศ. 2452
ต่อมาบุตรและสะใภ้ คือนายสมบูรณ์ รัตนวงษ์ชัย และเจ้าทองย่น (น้องเจ้าฟองคำ)
บุตรีเจ้าอินต๊ะ สารัตนะ กับเจ้าบุญยืน (ณ น่าน) สารรัตนะ
ได้ปรับปรุงบ้านเพิ่มเติมบางส่วนประมาณปี พ.ศ. 2480 โดยช่างเด่น ปัจจุบันเป็น
ที่อยู่ของนางอดิสัย วิเศษวัชร์ ซึ่ง เป็นบุตรสาวของเจ้าทองย่น

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

สร้างโดยช่างพื้นบ้าน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเรือนพักอาศัย
ยกใต้ถุนสูง หลังคาทรง ปั้นหยา มุงด้วยกระเบื้องว่าว
ผนังภายนอกเป็นไม้สักบังใบแนวนอน ด้านหลังบ้านมีเรือนชานเชื่อมต่อ
กับเรือนครัว ใต้ถุนบ้านแรกสร้างจะมีช่องหลบภัย พอดีตัวคนลงไปหลบ
ปัจจุบันถมดินปิดไปแล้ว และใช้พื้นที่เป็นโรงรถ เป็นที่เก็บอุปกรณ์ และเลี้ยงไก่ชน

แบบผังต่างๆ และISOMATRIC

ผังพื้นชั้นบนอาคารคุ้มเจ้าทองย่น

รูปด้านข้างทิศตะวันตกอาคารคุ้มเจ้าทองย่น

รูปด้านข้างทิศตะวันออกอาคารคุ้มเจ้าทองย่น

รูปด้านหลังทิศเหนืออาคารคุ้มเจ้าทองย่น

ภาพลายเส้นแสดงโครงสร้างอาคารคุ้มเจ้าทองย่น

ภาพลายเส้นแสดงโครงสร้างอาคารคุ้มเจ้าทองย่น

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คุ้มในเขตเมืองเก่า

จังหวัดน่าน

อายุเรือนประมาณ 90 -100 ปี เจ้าราชวงศ์สิทธิสาร (โอรสของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ)
สร้างให้บุตรสาวคือเจ้าเมยวดีเป็นเรื่อนหอ สมรสกับเจ้าหล มิธิดา คือเจ้ามอญแก้ว ซึ่งสมรสกับเจ้าอินทร ณ น่าน มีบุตร-ธิดา
4 คน คือ เจ้าชุติมา หุ่นนวล (ณ น่าน) เจ้าวีรพล ณ น่านเจ้าวัฒนา บุราณรัตน์ (ณ น่าน) เจ้าวราภรณ์ ณ น่าน ปัจจุบันเจ้าชุติมา
หุ่นวล (ณ น่าน) และครอบครัว เจ้าวราภรณ์ ณ น่าน ดูแลอยู่

ประวัติความเป็นมา

อายุเรือนประมาณ 90 -100 ปี เจ้าราชวงศ์สิทธิสาร
(โอรสของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ)สร้างให้บุตรสาวคือเจ้าเมยวดีเป็นเรื่อนหอ
สมรสกับเจ้าหล มิธิดา คือเจ้ามอญแก้ว ซึ่งสมรสกับเจ้าอินทร ณ น่าน มีบุตร-ธิดา 4
คน คือ เจ้าชุติมา หุ่นนวล (ณ น่าน) เจ้าวีรพล ณ น่านเจ้าวัฒนา บุราณรัตน์ (ณ น่าน)
เจ้าวราภรณ์ ณ น่าน ปัจจุบันเจ้าชุติมา หุ่นวล (ณ น่าน) และครอบครัว เจ้าวราภรณ์ ณ
น่าน ดูแลอยู่

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ลักษณะอาคารเป็นเรือนไม้สัก มีได้ถุนสูง หลังคารูปตัวแอล ด้านหน้าเป็นทรงจั่ว ด้านหลังเป็นทรงปั้นหยา มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด
ภายหลังเจ้ามอญแก้วได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใต้ถุนบ้านโดยเท พื้น คอนกรีตใต้ถุนเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับรับเลี้ยงเด็ก
และมีการเปลี่ยนหลังคาจากไม้แป้นเกล็ดเป็นมุงสังกะสี พร้อมทั้งเปลี่ยนพื้นเรือนชานจากไม้เป็นคอนกรีต

ในปี พ.ศ. 2555 ได้ทำการย้ายเรือนทั้งหมดเข้าไปอยู่ด้านในของที่ดิน พร้อมทั้งมีการยกตัวเรือนให้สูงขึ้นจากเดิม
ปัจจุบันตกทอดแก่คุณอมรรัตน์ หุ่นนวล(ณ น่าน) ซึ่งเป็นธิดาของเจ้ามอญแก้ว
(ธิดาเจ้าเมฆวดี)

แบบผังต่างๆ และISOMATRIC

ผังบริเวณอาคารคุ้มเจ้าเมฆวดี

ผังพื้นชั้นล่างอาคารคุ้มเจ้าเมฆวดี

ผังพื้นชั้นบนอาคารคุ้มเจ้าเมฆวดี

รูปด้านข้างทิศใต้อาคารคุ้มเจ้าเมฆวดี

รูปด้านข้างทิศเหนืออาคารคุ้มเจ้า
เมฆวดี

รูปด้านหน้าทิศตะวันออกอาคารคุ้มเจ้า
เมฆวดี

ภาพลายเส้นแสดงโครงสร้างอาคาร
คุ้มเจ้าเมฆวดี

รูปด้านหลังทิศตะวันตกอาคารคุ้มเจ้า
เมฆวดี

Nanecotourism