Nanecotourism

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัด น่าน

1.เตรียมนำเม็ดเงินมาเพื่อรีดให้เป็นแผ่นบางๆหรืออาจจะมีการนาเศษเงินที่เหลือมารีดให้เป็นเส้นตามขนาดที่ต้องการซึ่งเม็ดเงินที่รีดได้นั้นใช้ในการทากระเป๋าเงิน เข็มขัดเงิน กาไลมือ กาไลเท้า ต่างหูส่วนเศษเงินที่ได้ จากการรีดจะใช้ในการทาสร้อยคอเงิน สร้อยข้อมือ
ต่างหู เป็นต้น

2.ใส่เม็ดเงินลงในเบ้าหลอมหลอมละลายด้วยเครื่องเป่าไฟเผาจนเม็ดเงินหลอมละลายเป็นของเหลว

3.เทเงินที่หลอมละลายเป็นของเหลวใส่รางรอให้เย็นและแข็งตัวจะได้เงินที่เป็นลักษณะแท่งยาวตามลักษณะแท่งยาวตามลักษณะของแม่พิมพ์รางเทจากนั้นเคาะออก

4.นาเงินแท่งที่ได้จากแม่พิมพ์รางเทไปเข้าเครื่องรีดให้เป็นเส้นหรือตามขนาดที่จะนาไปใช้กับการทาเครื่องประดับต่าง ๆ

5.เส้นเงินที่ได้ขนาดต่างๆจะนาไปถักทอตามลักษณะการออกแบบซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่นลายถักแบบเปีย4หรือเส้นคู่ลายกระดูกงู

6.เมื่อถักเป็นเส้นแล้วนาไปประกอบในส่วนข้อต่อด้วยการเชื่อมด้วยการเผาเชื่อมด้วยความร้อนซึ่งส่วนข้อต่ออื่นๆหรือลวดลายประกอบอื่น ๆ จะได้จากเงินที่หลอมเหลวเทลงแม่พิมพ์รูปทรงต่าง ๆ

7.บางรูปทรงเช่นกาไลข้อมือจะนาเงินที่รีดเป็นแผ่นบางตอกลวดลายโดยวางแผ่นเงินไว้บนถาดตอกที่ทาจากชันหรือยางไม้ส่วนมากลวดลายที่ตอกลงไปนั้นจะเป็นรูปดอกไม้ ต้นไม้ หรือรูปสัตว์ต่าง ๆ

8.นาส่วนที่ตอกเป็นลวดลายและรูปทรงแกะออกจากชันส่วนที่ไม่ใช้ นาไปหลอมเหลวใหม่ได้หรือนาไปใช้ทาส่วนประกอบอื่น ๆได้

9.นาไปดัดให้ได้รูปทรงโค้งเพื่อเข้าข้อมือได้จากนั้นนาไปล้างขัดเงา ตกแต่งให้เรียบร้อย

ภาพที่ 3.19 แสดงการถักเส้นเงินให้เป๋นสายสร้อยที่มาภาพ : ภาพลายเส้นจากภาพถ่ายของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน

การทาเครื่องเงินกลุ่มชาวเขาแม้จะมีการนาแม่พิมพ์สาเร็จรูปเข้ามามีส่วนในการลดขั้นตอนการทางานและเพื่อการเพิ่มปริมาณในการผลิตแล้วแต่ก็ยังคงต้องใช้การผลิตด้วยฝีมือของผู้ชานาญมาผสมผสานเป็นหลักเช่นการตอดดุนลายการถักสายสร้อยเป็นต้นซึ่งยังคงต้องสืบสานถ่ายทอดฝึกฝีมือให้กับคนรุ่นใหม่ๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และส่งเสริมอาชีพศิลปหัตถกรรมเครื่องเงินให้มีสืบไป

Nanecotourism